Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ดร.ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร EIC ประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2564 โตดีกว่าคาด โดยอยู่ที่ 1.1% จากเดิม 0.7% เนื่องจากโควิด-19 ในประเทศเริ่มคลี่คลาย กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมา และมีนักท่องเที่ยวเข้าสู่ประเทศเพิ่มขึ้น 

ด้านการส่งออกมีการขยายตัวตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก โดยประเมินว่าการส่งออกสินค้าของไทยในปี 2564 จะเติบโตได้ถึง 16.3% แม้ในช่วงปลายปีจะมีสัญญาณชะลอตัวลงบ้างจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่และปัญหาคอขวดอุปทาน 

สำหรับปีหน้า EIC ประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยเป็น 3.2% โดยจะเป็นการฟื้นตัวจากทั้งอุปสงค์ภายในและนอกประเทศ พร้อมคาดว่าภาคการส่งออกสินค้าจะยังมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

ภาคท่องเที่ยวก็มีแนวโน้มฟื้นตัวเช่นกัน คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยราว 5.9 ล้านคน แต่สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังควบคู่กันไปด้วยคือการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ “Omicron” ที่อาจแพร่กระจายได้มากขึ้นและอาจลดประสิทธิภาพของวัคซีนลง

อย่างไรก็ดี คาดว่าผลกระทบจะไม่รุนแรงเท่ากับการระบาดรอบ Delta เนื่องจากการคนไทยได้รับวัคซีนเพิ่มมากขึ้น ทำให้ภาครัฐไม่จำเป็นต้องออกมาตรการควบคุมที่เข้มงวดมากเหมือนเดิม อีกทั้งภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนมีความพร้อมในการปรับตัวต่อสถานการณ์ได้ดีขึ้นด้วย 

สำหรับการใช้จ่ายในประเทศคาดว่าแม้ในระยะสั้นจะมีการฟื้นตัวจากการใช้จ่ายกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากอุปสงค์คงค้างและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่การฟื้นตัวในภาพรวมจะยังเป็นไปอย่างช้า ๆ จากรายได้ครัวเรือนและตลาดแรงงานที่ซบเซา รวมถึงภาระหนี้ที่อยู่ในระดับสูง 

ในส่วนของภาครัฐ ยังสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจผ่านการกระตุ้นเศรษฐกิจจากการใช้เม็ดเงินในส่วนที่เหลือประมาณ 2.6 แสนล้านจาก พ.ร.ก. กู้เงิน 5 แสนล้านบาทและการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ แต่มีแนวโน้มทยอยปรับลดลงจากปีก่อน 

โดยมาตรการรัฐที่ช่วยเหลือภาคการบริโคประชาชนนั้น อาทิเช่น การเพิ่มเงินโครงการคนละครึ่งเฟส 3 การให้เงินผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มเติม และโครงการคงการจ้างงานในภาค SMEs เป็นต้น ซึ่งจะมีผลสนับสนุนการใช้จ่ายในช่วงปลายปีนี้จนถึงต้นปีหน้า

ด้านนโยบายการเงิน EIC คาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินจะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ตลอดปีหน้า แม้ว่าธนาคารกลางในต่างประเทศจะมีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อดูแลปัญหาเงินเฟ้อ แต่ กนง. ไม่กดดันต้องเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายตาม 

ทั้งนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับนโยบายการเงิน โดยเฉพาะการลดความเสี่ยงด้านเครดิตเพื่อกระจายสภาพคล่องให้แก่ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ SME  พร้อมปรับโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับปัญหาของลูกหนี้แต่ละกลุ่มมากยิ่งขึ้น

ด้านการจ้างงานในประเทศอยู่ในระดับที่น้อยลง โดยอัตราการว่างงานในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2564 อยู่ที่ 2.3% ถือเป็นจุดสูงสุดใหม่สำหรับอัตราการว่างงานในช่วงโควิด-19 และเป็นอัตราการว่างงานที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2550 

โดยจำนวนคนทำงานต่ำระดับ (underemployed) และคนเสมือนว่างงาน (furloughed) เพิ่มขึ้นมาก ตลาดแรงงานไทยฟื้นตัวอย่างช้า ๆ จากอุปทานส่วนเกินในตลาดแรงงาน, กำลังในการจ้างงานของภาคธุรกิจ SME ถดถอยลง และปัญหาทักษะไม่สอดคล้องกับความต้องการ 

ดังนั้นในภาพรวมคาดการณ์กว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับไปอยู่ในระดับปี 2562 หรือก่อนช่วงโควิด-19 ระบาด จะต้องรอถึงช่วงกลางปี 2566 เลยทีเดียว ซึ่งหากการปล่อยให้เศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำกว่าศักยภาพหรือมีแผลเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นเวลานาน จะส่งผลเสียระยะยาวต่อเศรษฐกิจไทย 

ผลเสียที่ว่านั้นมีทั้งธุรกิจอาจต้องปิดกิจการมากขึ้น การจ้างงานและการลงทุนลดลงมาก อีกทั้งคนว่างงานไม่สามารถหางานได้หรืออยู่ในภาคเศรษฐกิจที่ไม่ตรงกับทักษะ ทำให้คนกลุ่มนี้สูญเสียรายได้เป็นเวลานาน ก่อเกิดปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองและปัญหาสังคมอื่น ๆ ตามมา 

ดังนั้น ภาครัฐควรพิจารณาการใช้จ่ายเพิ่มเติมโดยเน้นการใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับบริบทโลก อาทิเช่น ปรับทักษะแรงงาน ผ่านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของกลุ่มธุรกิจ SME และการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ที่จะเป็น New S-Curve ของไทย 

[สถานการณ์เศรษฐกิจโลก ปี 2565]

เศรษฐกิจโลกในปี 2565 มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องในเกณฑ์ดีแม้จะชะลอลงจากปีก่อน แต่ยังเผชิญปัจจัยเสี่ยงสำคัญโดยเฉพาะจากโควิด-19 สายพันธุ์ Omicron และปัญหาการขาดแคลนด้านอุปทานที่อาจทำให้เงินเฟ้อและการตึงตัวของภาวะการเงินโลกสูงขึ้นมากกว่าที่คาด 

EIC ประเมินเศรษฐกิจโลกในปี 2565 ขยายตัว 4.1% ชะลอลงจาก 5.8% ในปี 2564 ถือเป็นการฟื้นตัวในเกณฑ์ดีที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของการบริโภคตามการทยอยเปิดเมืองสะท้อนอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา 

ในภาพรวมความแตกต่างของการฟื้นตัวในปีหน้าระหว่างกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจะลดลงจากปีก่อนหน้า จากการที่ประเทศกำลังพัฒนาจะเร่งฉีดวัคซีนได้มากขึ้นและจะเป็นแรงส่งให้เติบโตตามกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่การฉีดวัคซีนครอบคลุมไปก่อนหน้านี้

อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเพื่อกลับไปสู่ระดับการเติบโตตามศักยภาพของประเทศต่างๆ จะฟื้นตัวเร็วแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความพร้อมด้านวัคซีน ยา และระบบสาธารณสุข รวมถึงความสามารถของการใช้มาตรการกระตุ้นทางเศรษฐกิจ และปัจจัยเฉพาะของแต่ละประเทศ 

อย่างสหรัฐฯ จะกลับเข้าสู่ระดับศักยภาพได้เร็วจากมาตรการการคลังขนาดใหญ่ ขณะที่สหราชอาณาจักรจะถูกกดดันเพิ่มเติมจากผลกระทบของ Brexit และจีนจะเผชิญความท้าทายจากนโยบาย zero-COVID และปัญหาระดับหนี้ที่สูงในภาคอสังหาริมทรัพย์ 

ส่วนกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา เศรษฐกิจที่พึ่งพาการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์จะได้รับประโยชน์จากราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับสูงขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม ต้องจับตาความเสี่ยงสำคัญ 2 ปัจจัยที่อาจกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ได้แก่ 

1) การระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ Omicron ซึ่งสามารถแพร่กระจายได้ง่ายขึ้น และอาจลดประสิทธิผลของวัคซีน กระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะกิจกรรมของภาคบริการในช่วงปลายปีนี้ไปจนถึงต้นปีหน้า จากการที่หลายประเทศเริ่มจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด

 2) ปัญหา supply chain disruption ที่อาจยืดเยื้อกว่าที่คาด ส่งผลให้เงินเฟ้อปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค และทำให้ราคาสินค้าปรับสูงขึ้น 

[ส่องค่าเงินบาทไทย]

สำหรับค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นปี 2565 EIC คาดว่ามีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากปีนี้ ปัจจุบันเงินบาทอ่อนค่าลง 1.4% จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ปรับแย่ลง ทำให้เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลออกจากตลาดการเงินไทยโดยเฉพาะในตลาดหุ้น 

สำหรับแนวโน้มเงินบาท ณ สิ้นปี 2565 EIC คาดว่าอาจกลับมาแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วง 32-33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น, ดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะขาดดุลลดลง และเงินทุนเคลื่อนย้ายที่ยังมีแนวโน้มไหลเข้ากลุ่มประเทศ EM และไทย 

อย่างไรก็ดี EIC มองว่า เงินบาทจะไม่แข็งค่าขึ้นมาก เพราะเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเช่นกัน จากนโยบายการเงินของ Fed ที่จะตึงตัวขึ้น, เศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มขยายตัวชะลอตัวลง รวมถึงความไม่แน่นอนของปัญหาคอขวดอุปทาน และการแพร่ระบาดของไวรัสกลายพันธุ์

ทั้งนี้ค่าเงินบาทจะมีแนวโน้มผันผวนและอ่อนไหวค่อนข้างมากตามปัจจัยที่เข้ามากระทบโดยเฉพาะจากข่าวการระบาดโควิด-19 รอบใหม่ ๆ ที่จะกระทบต่อแนวโน้มภาคการท่องเที่ยวของไทย รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของตลาดต่อมุมมองนโยบายการเงินของสหรัฐฯ

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า