SHARE

คัดลอกแล้ว

ยุทธศาสตร์ชาติที่เพิ่งประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 13 ต.ค. ที่ผ่านมา มีทั้งสิ้น 6 ด้าน โดยทุกด้านได้ระบุ “เป้าหมาย” และ “ตัวชี้วัด” ไว้อย่างกว้างมาก เช่นในด้านความมั่นคง ระบุว่าหนึ่งในตัวชี้วัดคือ “ความสุขของประชากรชาวไทย” หรือในด้านการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ก็ระบุหนึ่งในตัวชี้วัดไว้เพียงว่า “รายได้ประชาชาติ” โดยที่ไม่ได้บอกว่าความสุขของคนไทย หรือรายได้ประชาชาติของไทย ต้องสูงถึงระดับใดจึงจะถือว่าบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ

อย่างไรก็ตาม ทีมข่าวเวิร์คพอยท์ได้สืบค้นเอกสารการประชุมคณะกรรมการยุทธ์ศาสตร์ชาติ และพบว่าในร่างแรกๆ ของยุทธศาสตร์ชาติ ได้มีการระบุตัวชี้วัดเป้าหมายในด้านต่างๆ ไว้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม

ทีมข่าวเวิร์คพอยท์จึงอย่างชวนผู้อ่านไปสำรวจกันดูว่า ผู้ร่างยุทธศาสตร์ชาติเคยจินตนาการถึงเป้าหมายแบบไหนให้ประเทศไทยบ้าง และถ้ายึดตามเป้าหมายที่เคยถูกเขียนไว้ในร่างยุทธศาสตร์ชาติเหล่านี้ ยังอีกไกลไหมกว่าที่ประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศไทยจะไปถึง

โดยในครั้งนี้ จะเป็นการนำเสนอเฉพาะยุทธศาสตร์ชาติ 3 ด้านสุดท้าย ได้แก่ ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

ยุทธศาสตร์ชาติฉบับจริงที่ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาระบุไว้อย่างกว้าง ๆ ว่าตัวชี้วัดด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมคือ “ความแตกต่างของรายได้” แต่ในยุทธศาสตร์ชาติฉบับร่างที่ใช้พิจารณาในการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติครั้งที่ 2/2561 ระบุว่ามุ่งให้ “ความแตกต่างของรายได้ระหว่างประชากรร้อยละ 10 ที่รวยที่สุดต่อประชากรร้อยละ 10 ที่จนที่สุดไม่เกิน 15 เท่า” พร้อมยังระบุด้วยว่าปัจจุบันความแตกต่างด้านรายได้ของประชากรกลุ่มนี้อยู่ที่ 22 เท่า

ในด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีฉบับจริงยังระบุอีกตัวชีวัดว่าคือ “ความก้าวหน้าในการพัฒนาจังหวัดในการเป็นศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี” แต่ในยุทธศาสตร์ชาติฉบับร่างเบื้องต้นระบุไว้อย่างละเอียดว่าให้ใช้ตัวชี้วัด “ดัชนีความก้าวหน้าของคน” โดยตั้งเป้าให้ทุกจังหวัดมีคะแนนสูงกว่า 0.60

ดัชนีความก้าวหน้าของคนเป็นดัชนีที่สะท้อนความก้าวหน้าการพัฒนาคนในระดับจังหวัดของประเทศไทย จัดทำโดยมีเกณฑ์ด้านสุขภาพ การศึกษา ชีวิตการงาน รายได้ ที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม ครอบครัวและชุมชน การคมนาคมสื่อสาร และการมีส่วนร่วมทางการเมืองและสังคม

จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีดัชนีความก้าวหน้าของคนสูงที่สุดจากการสำรวจในปี 2560 โดยทั้งประเทศมีจังหวัดที่ได้คะแนนสูงกว่า 0.60 จำนวน 27 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต พระนครศรีอยุธยา ลำพูน นนทบุรี กรุงเทพมหานคร ชลบุรี พะเยา ระยอง ลำปาง ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา นครปฐม สระบุรี แพร่ ชุมพร เพชรบูรณ์ สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร เชียงราย เชียงใหม่ สิงห์บุรี ปราจีนบุรี ขอนแก่น ร้อยเอ็ด อุดรธานี และตราด โดยลดลงจากปี 2558 ที่มีทั้งสิ้น 36 จังหวัดที่มีคะแนนสูงกว่า 0.60

ในด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แม้ยุทธศาสตร์ชาติฉบับจริงจะระบุไว้อย่างกว้างๆ ว่าหนึ่งในตัวชี้วัดคือ “พื้นที่สีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” แต่ฉบับร่างที่ใช้พิจารณาในพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติครั้งที่ 2/2561 ระบุตัวชี้วัดเป้าหมายไว้อย่างละเอียดว่าให้มี “พื้นที่สีเขียวที่เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อมไม่น้อยกว่าร้อยละ 55 ของพื้นที่ประเทศ”

ข้อมูลล่าสุดจากมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร (2560) ชี้ว่าประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้คิดเป็นร้อยละ 31.58 ของพื้นที่ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ทรงตัวมาตั้งแต่ปี 2556 โดยครั้งล่าสุดที่ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้มากกว่า 55% ของประเทศต้องย้อนกลับไปก่อนไป 2504 เสียอีก

อีกเป้าหมายหนึ่งของยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คือ “ปริมาณก๊าซเรือนกระจก” โดยตามร่างยุทธศาสตร์ชาติที่ใช้ในการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติครั้งที่ 2/2561 ได้ระบุไว้ละเอียดกว่าว่า “ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยลดลงอย่างน้อยร้อยละ 20 จากกรณีปกติ”

จากฐานข้อมูลเพื่อการรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย สำนักนโยบายและแผนททรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่าในปี 2556 มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึง 232.56 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (MtCO2eq) โดยมาจากภาคพลังงานสูงที่สุด รองลงมาคือภาคการเกษตร ตามมาด้วยภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี สถิติ 3 ปีท้ายสุดแสดงให้เห็นว่าว่าแนวโน้มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังห่างไกลจากตัวเลข 20% ที่ตั้งไว้

ในด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ยุทธศาสตร์ชาติฉบับจริงระบุว่าตัวชี้วัดคือ “ระดับความโปร่งใส การทุจริต ประพฤติมิชอบ” แต่ในร่างยุทธศาสตร์ชาติฉบับที่ใช้พิจารณาในการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติครั้งที่ 2/2561 ได้ระบุไว้ละเอียดกว่านั้นว่า “การรับรู้การทุจริตของประเทศไทยของ CPI อยู่ในอันดับ 1 ใน 20”

ค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perception Index – CPI) เป็นการประเมินระดับการคอร์รัปชัน ซึ่งจัดทำขึ้นโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) การประเมินจัดอันดับมาจากการสำรวจความคิดเห็นประชากรทั่วโลกและจากการประมวลข้อมูลจากการสำรวจขององค์กรต่างๆ

การประเมินผลในปี 2560 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 96 จาก 180 ประเทศ ขยับขึ้นมาจากอันดับที่ 101 ในปี 2559 ขณะที่ปี 2557 และ 2558 ไทยเคยได้อันดับที่ 85 และ 76 ตามลำดับ

เมื่อดูจากอันดับย้อนหลังปีก่อนๆ ประเทศไทยคงมีการบ้านเรื่องคอร์รัปชันให้ทำอีกไม่น้อย หากอยากก้าวขึ้นไปติด 20 อันดับแรกจริง สำหรับปีล่าสุด 5 อันดับประเทศที่มีการคอร์รัปชันน้อยที่สุดในโลก ได้แก่ นิวซีแลนด์ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์

อีกหนึ่งเป้าหมายในด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ คือ “ประสิทธิภาพของการบริการภาครัฐ” ซึ่งในร่างยุทธศาสตร์ชาติเบื้องต้นระบุไว้อย่างละเอียดว่า มุ่งเป้าให้ “ประสิทธิภาพของภาครัฐจากการสำรวจของ IMD อยู่ในอันดับ 1 ใน 10”

International Institute for Management Development หรือ IMD ได้วัดประสิทธิภาพของภาครัฐจากกรอบการบริหารด้านสถาบัน ฐานะการคลัง นโยบายภาษี กฎหมายธุรกิจ และกรอบการบริหารด้านสังคม

ในการจัดอันดับปี 2560 ประเทศไทยได้อันดับ 20 จาก 63 ประเทศ โดยไต่ขึ้นมาจากอันดับ 23 ในปี 2559 อันดับ 27 ในปี 2558 และอันดับ 28 ในปี 2557 เมื่อดูจากแนวโน้มอันดับของไทยที่ดีขึ้นเรื่อยๆ แล้ว ก็ไม่แน่ว่าในระยะเวลา 20 ปี ประเทศไทยอาจจะยกระดับจนติดสิบอันดับแรกก็เป็นได้

ยุทธศาสตร์ชาติฉบับจริงยังระบุเป้าหมายด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐไว้ว่าตัวชี้วัดคือ “ความเสมอภาคในกระบวนการยุติธรรม” แต่ร่างยุทธศาสตร์ชาติฉบับที่ใช้พิจารณาในการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติครั้งที่ 2/2561 ระบุตัวชี้วัดที่ละเอียดกว่าไว้ว่า “ดัชนีนิติธรรมของ World Justice Project ทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับสูง”

ดัชนีนิติธรรม (the WJP Rule of Law Index) ของโครงการยุติธรรมโลก (World justice project) แบ่งดัชนีย่อยไว้ทั้งหมด 8 องค์ประกอบ ได้แก่ การควบคุมจํากัดอํานาจรัฐ การปราบปรามและกําจัดคอร์รัปชัน การเปิดกว้างของรัฐบาลต่อการตรวจสอบ การคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน การรักษาระเบียบและความมั่นคง ประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย ความเป็นธรรมในการดําเนินคดีแพ่ง ความเป็นธรรมในการดําเนินคดีอาญา

สำหรับประเทศไทย ในปี 2560 มี 6 องค์ประกอบที่ถูกประเมินไว้ในระดับ “ปานกลาง” โดยมี 2 องค์ประกอบได้ระดับ “ต่ำ” คือ การควบคุมจํากัดอํานาจรัฐ และการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน

 

ข่าวเกี่ยวข้อง

 ตรวจการบ้านประเทศไทย ก่อนเดินหน้าตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (ภาค1)  

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า