SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ –ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ยังต้องเผชิญกับสถานการณ์ฝนตกชุกหนาแน่น โดยกรมอุตุนิยมวิทยา เตือนให้ระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าหลากในระยะนี้ นายกรัฐมนตรี สั่งขึ้นตัววิ่ง แจ้งเตือนภัยสถานการณ์น้ำ 12- 14  ต.ค. เหนือตอนล่าง – อีสานตอนบน พายุเข้า

กรมอุตุนิยมวิทยา  มีประกาศเตือน “ฝนตกหนักบริเวณประชาชนไทย (มีผลกระทบถึงวันที่ 11 ตุลาคม 2560 )” โดยบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ฝั่งตะวันตก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะมีฝนตกชุกหนาแน่น กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีลมกระโชกแรง ขอให้ประชาชนระวังอันตราย จากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังในที่ราบลุ่มต่อไปอีก 1 วัน

โดยคาดว่า พื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบมีดังนี้

  • ภาคเหนือ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ สุโขทัย กำแพงเพชร และตาก
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เลย ขอนแก่น ชัยภูมิ และนครราชสีมา
  • ภาคกลาง นครสวรรค์ ลพบุรี ชัยนาท อุทัยธานี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และราชบุรี
  • ภาคตะวันออก จันทบุรี และตราด
  • ภาคใต้ ระนอง พังงา และภูเก็ต

เมื่อวานนี้(10 ต.ค. 60)พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แสดงความห่วงใยต่อปริมาณน้ำฝนที่ตกขณะนี้ สั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมรับสถานการณ์และให้ความช่วยเหลือประชาชน โดยสั่งให้จัดทำเป็นตัววิ่งแจ้งเตือนภัยสถานการณ์น้ำให้ประชาชนได้รับทราบผ่านสื่อต่าง ๆ

พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับมือสถานการณ์น้ำท่วม ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา หลังยังอยู่ในสถานการณ์วิกฤติ รวมทั้งวันพรุ่งนี้ (12ต.ค.) ถึงวันที่ 14 ต.ค. คาดการณ์ว่า จะมีกลุ่มพายุฝนที่ก่อตัวในประเทศเวียดนาม มีแนวโน้มที่จะมีเส้นทางผ่านเข้าประเทศไทยตอนบน จะส่งผลให้พื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง และภาคอีสานตอนบน มีความน่าเป็นห่วง

ด้านพล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า สถานการณ์น้ำขณะนี้เขื่อนหลักมีปริมาณน้ำสะสมร้อยละ 79 ยังสามารถรับน้ำได้อีกร้อยละ 20 แต่เนื่องจากขณะนี้มีความเสี่ยงที่ประเทศจะต้องเจอกับพายุฝน จึงสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระบายน้ำในจุดที่สำคัญแล้ว สำหรับพื้นที่ภาคกลางและกรุงเทพมหานคร มีจุดเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ 3 จุด คือ จ.นครสวรรค์ เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ตอนนี้ระบายน้ำได้ 2,250ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ถือว่าต่ำกว่าจุดวิกฤตที่ 2,850 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  และอ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นจุดสุดท้ายที่รู้ว่าจะส่งผลกระทบถึงพื้นที่กรุงเทพมหานครหรือไม่ โดยขณะนี้ระบายน้ำได้  2,260 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ถือว่าต่ำกว่าจุดวิกฤตที่ 3,500 ลูกบาศก์เมตร

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า