SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ –  แห่แชร์หญิงกลุ่มหนึ่ง ลักษณะเหมือนเดินทางมาท่องเที่ยวกับกลุ่มพระภิกษุสงฆ์ และเดินขึ้นไปเที่ยวชมวิหารเงิน ภายในวัดศรีสุพรรณ ทั้งที่มีป้ายห้ามผู้หญิงขึ้นไป จนถูกตะโกนไล่ เนื่องจากเป็นการลบหลู่จารีตประเพณีชาวเชียงใหม่ที่มีมากว่า 517 ปี 

จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อคุณ “Pimlapat Aonsee” ได้โพสต์คลิปภาพพร้อมข้อความว่า “วันนี้ได้ตระเวนไหว้พระมาหลายวัดมาก จนมาวัดสุดท้ายวัดนี้ อ้นมาครั้งที่ 3 ป้ายเขียนชัดเจนทุกครั้ง ห้ามสตรีเข้าภายในอุโบสถ อ้นเป็นสาวสอง ซึ่งว่าไปโครโมโซมคือเพศชาย แต่ยังเคารพกฎและจารีตว่าไม่เข้าไป เราชื่นชมความงามเพียงด้านนอก เราก็อิ่มใจ อิ่มบุญแล้ว … ตามความเชื่อคนเมืองแถวนั้น เขาว่ามีสิ่งศักดิ์อยู่ใต้อุโบสถนั้น เขาถือว่าห้ามสตรีเข้า ถ้าเข้าไปแล้วหญิงนั้นต้องขึด! “ขึด” รึคึดนี่แหละ แปลว่า อัปปรี จังไร วินาศอัปปรี

 

วันนี้ได้ตระเวนไหว้พระมาหลายวัดมาก จนมาวัดสุดท้ายวัดนี้ อ้นมาครั้งที่ 3 ป้ายเขียนชัดเจนทุกครั้ง ห้ามสตรีเข้าภายในอุโบสถ อ้นเป็นสาวสอง ซึ่งว่าไปโครโมโซมคือเพศชาย แต่ยังเคารพกฎและจารีตว่าไม่เข้าไป เราชื่นชมความงามเพียงด้านนอก เราก็อิ่มใจ อิ่มบุญแล้ว … ตามความเชื่อคนเมืองแถวนั้น เขาว่ามีสิ่งศักดิ์อยู่ใต้อุโบสถนั้น เขาถือว่าห้ามสตรีเข้า ถ้าเข้าไปแล้วหญิงนั้นต้องขึด! “ขึด” รึคึดนี่แหละ แปลว่า อัปปรี จังไร วินาศอัปปรี
ขนาดชาวต่างชาติยังเคารพและไม่เข้าไป แต่เราคนไทยแท้ๆ ทำไมไม่รักษาจารีตที่ดีงามที่สืบต่อกันมาล่ะคะ กระทั่งเจ้าหน้าที่ที่ดูแลที่วัดเข้าไปยกมือไหว้ขอให้ออกมา ก็ไม่สนใจในคำทัดทาน ป้าๆที่บ้านใกล้วัด คนดูและก็ตะโกนจอให้ออกก็ไม่ออกมา อยู่ในนั้นนั่งสวดมนต์นานสักพักนึง จนคล้ายว่าสิ่งศักดิ์สิงร่างชายวัย 40-50 ปี คุณลุงผู้ดูแล แล้วตะโกนด่าอย่างในคลิป ทั้งคณะจึงเดินออกมา ด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม
ยังไงเราไปที่ไหนก็เคารพกฎกันด้วยนะคะ ฟ้ารู้ดินรู้สิ่งศักดิ์รู้นะคะ คนมียศมีอย่างไปกราบไหว้แท้ๆ ถ้าเป็นสตรียังไหว้ได้แค่รอยน้ำสีฟ้าเท่านั้นนะคะ
#รักษาจารีต #รักษาระเบียบด้วยนะคะ

โพสต์โดย Pimlapat Aonsee บน 24 ธันวาคม 2017

ขนาดชาวต่างชาติยังเคารพและไม่เข้าไป แต่เราคนไทยแท้ๆ ทำไมไม่รักษาจารีตที่ดีงามที่สืบต่อกันมาล่ะคะ กระทั่งเจ้าหน้าที่ที่ดูแลที่วัดเข้าไปยกมือไหว้ขอให้ออกมา ก็ไม่สนใจในคำทัดทาน ป้าๆที่บ้านใกล้วัด คนดูและก็ตะโกนจอให้ออกก็ไม่ออกมา อยู่ในนั้นนั่งสวดมนต์นานสักพักนึง จนคล้ายว่าสิ่งศักดิ์สิงร่างชายวัย 40-50 ปี คุณลุงผู้ดูแล แล้วตะโกนด่าอย่างในคลิป ทั้งคณะจึงเดินออกมา ด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม

ยังไงเราไปที่ไหนก็เคารพกฎกันด้วยนะคะ ฟ้ารู้ดินรู้สิ่งศักดิ์รู้นะคะ คนมียศมีอย่างไปกราบไหว้แท้ๆ ถ้าเป็นสตรียังไหว้ได้แค่รอยน้ำสีฟ้าเท่านั้นนะคะ  #รักษาจารีต #รักษาระเบียบด้วยนะคะ”

โดยคลิปดังกล่าวถูกโพสต์ เมื่อวันที่ 24 ธ.ค.60 ที่ผ่านมา ที่ด้านหน้าวิหารเงิน ภายในวัดศรีสุพรรณ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่อีกวัดหนึ่งของชาวเชียงใหม่ และชุมชนชาววัวลาย ชุมชนสล่าเครื่องเงินเก่าแก่ของเชียงใหม่ด้วย ในคลิปเป็นภาพของนักท่องเที่ยวชาวไทยกลุ่มหนึ่งที่เดินทางมาพร้อมกับคณะของพระภิกษุสงฆ์ และมีผู้หญิงสวมชุดขาวมาด้วยประมาณ 3 คน ที่กำลังเดินยิ้มลงมา แม้จะมีชายสูงวัยคนหนึ่งที่ตะโกนไล่ออกมาจากภายในวิหาร ซึ่งเป็นวิหารเก่าแก่ที่ตามจารีตประเพณีคนล้านนา และชาวเชียงใหม่แล้วจะไม่อนุญาตให้สตรี ขึ้นไปถายในวิหารที่มีความศักดิสิทธิ์หรือเป็นพื้นที่สำคัญของสงฆ์ด้วย แม้จะมีป้ายห้ามชัดเจนทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน ติดเตือนไว้หลายป้ายด้วยกัน แต่นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ไม่ได้สนใจ เดินขึ้นไปพร้อมกับพระภิกษุสงฆ์ที่เดินทางร่วมคณะมา เข้าไปท่องเที่ยวและถ่ายภาพภายในวิหาร จนกระทั่งมีชายสูงวัยทนไม่ไหวกับพฤติกรรม จึงตะโกนไล่ให้ออกไปและมีการปิดประตูเสียงดังใส่ด้วยความโกรธ ท่ามกลางสายตา และการวิพากษ์วิจารณ์ของชาวบ้าน แถมมากับพระของพระสงฆ์น่าจะมีการตักเตือนหรือห้ามปรามกัน แถมเดินลงมาด้วยหน้าตาที่ยิ้มแย้มและหัวเราะโดยไม่สำนักผิดอีกด้วย ซึ่งการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์จารีตประเพณีแบบนี้ชาวล้านนา และชาวเชียงใหม่ถือว่าเป็นความ “ขึด” ขึดบ้านขึดเมือง

หลังจากที่ถูกโพสต์ลงบนโลกออนไลน์ มีคนโดยเฉพาะชาวเชียงใหม่เข้าไปแชร์ภาพ และแสดงความคิดเห็นเชิงต่อว่าพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมไม่เคารพสถานที่ และไม่เคารพชาวเชียงใหม่เช่นนี้

ทั้งนี้ “ขึด” ตามความหมายของชาวล้านนาซึ่งหมายถึง สิ่งไม่ดี อัปมงคล เสนียด จัญไร หมายถึง การกระทำหรือเหตุการณ์ใดๆ ที่เมื่อผู้ใดทำหรือเกิดขึ้นกับบุคคล กับชุมชนสังคมใดแล้ว จะโดยเจตนา หรือเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติก็ตามจะนำความหายนะ วิบัติ อัปมงคลมาสู่บุคคลหรือ ชุมชนนั้นต้องแก้ไขด้วยการทำพิธีถอนขึดตามจารีตประเพณี หรือหากแก้ไขไม่ได้บุคคลที่ตกขึดก็ต้องรับผลกรรมแห่งการกระทำของตนไปตามระเบียบ ขึดจึงเป็นเสมือนคำสอนของคนล้านนาโบราณที่ใช้อบรมสั่งสอนลูกหลาน คนในครอบครัวคนในสังคม เพื่อให้ประพฤติปฏิบัติตาม ถ้าเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าไม่ดีก็ห้ามประพฤติปฏิบัติ ช่วยให้สังคมสงบสุข ร่มเย็น และยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามได้อย่างยาวนาน

ภาพจาก : www.tourismchiangmai.org

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า