Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

คล้อยหลังการพูดถึง “ประชาธิปไตยไทยนิยม” ของนายกรัฐมนตรีในงานวันเด็ก 2561 ได้ไม่ถึงสองสัปดาห์ ก็มีคำสั่งนายกรัฐมนตรีตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งขึ้นมาในชื่อ “คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน”

เอาเข้าจริงยังไม่มีใครนิยามคำว่า “ไทยนิยม” ว่าหมายถึงอะไรได้แบบชัดเจน บ้างมองไปถึงลัทธิใหม่ที่รัฐบาลพยายามสร้างขึ้นโดยละเลยหลักการสากลภายใต้ชื่อ “ไทยนิยม” บ้างมองเชิงบวกว่าเป็นการสร้างประชาธิปไตย แบบที่มองถึงการพัฒนาและไม่มีความขัดแย้ง

แต่แม้ยังมองภาพไม่ชัด นายกฯก็คงเกรงว่าจะพาประเทศไปสู่ “ไทยนิยม” ไม่ทันกาล จึงตั้งคณะกรรมการชุดนี้ขึ้นมา

โดยเหตุผลตามคำสั่งระบุว่า นายกฯ ได้มีคำสั่งให้กระทรวงการคลัง กระทรวงกลาโหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือกันทำงานในระดับพื้นที่ตามแนวทาง “ประชารัฐ” ที่เป็นนโยบายของรัฐบาล และให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

จะมีทีมลงพื้นที่ในการทำงานทั้งระดับ จังหวัด อำเภอ และตำบล  โดยมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสี่ระดับ

     1.ระดับชาติ

เรียกว่า “คณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน” โดยมี นายกรัฐมนตรีนั่งเป็นประธาน และมีรัฐมนตรีทุกคน รวมถึงปลัดกระทรวงทุกกระทรวง ผู้บัญชาการเหล่าทัพ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เลขาธิการ ป.ป.ส. อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน รวมกรรมการทั้งสิ้น 61 คน เรียกว่าเป็นกรรมการคณะใหญ่มากและรวบรวมคนระดับหัวหน้าส่วนราชการแทบจะมากที่สุดในประเทศ   มีทุกภาคส่วนทั้งฝ่ายปกครอง ด้านเศรษฐกิจ และความมั่นคง

โดยมีอำนาจหน้าที่ในเรื่องการกำหนดนโยบาย ด้านการพัฒนา แต่แน่นอนก็ไม่ทิ้งเรื่อง “ความมั่นคง” ที่ดูเหมือนจะเป็นภารกิจหลักของรัฐบาลชุดนี้ และที่สำคัญคือ “ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย”

     2. ระดับจังหวัด

นำโดยผู้ว่าราชการจังหวัด มีรองผู้ว่าฯทุกคน หัวหน้าส่วนราชการของจังหวัดที่เกี่ยวข้อง มีอำนาจหน้าที่คือรับนโยบายจากคณะกรรมการในระดับชาติมาถ่ายทอดและอำนวยการปฏิบัติให้ระดับล่าง รวมถึงจัดประชุมทำความเข้าใจกับระดับอำเภอและตำบล

     3. ระดับอำเภอ

นำโดยนายอำเภอและมีหัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ โดยมีหน้าที่ขับเคลื่อนในระดับอำเภอและตำบล

     4. ระดับตำบล

ระดับตำบลนี้เองที่มีองค์ประกอบอันน่าสนใจ กล่าวคือนำโดยข้าราชการในพื้นที่ หน่วยความมั่นคงในพื้นที่ ปราชญ์ชาวบ้าน และ “จิตอาสา”

โดยมีอำนาจหน้าที่เป็นชุดปฏิบัติงานพื้นที่ ในการแก้ปัญหาทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง

นอกจากนี้ยังระบุว่า “เป็นชุดปฏิบัติงานในการสร้างความตระหนักรู้ถึงบทบาทหน้าที่ของประชาชนในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศและการปกครองระบอบประชาธิปไตย” และ เช่นเคย “ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย”

.

น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งว่าการตั้งคณะกรรมการชุดนี้ต้องการให้ปฏิบัติภารกิจอันใดกันแน่ เพราะหากต้องการสร้าง “ไทยนิยม” ก็ควรที่จะนิยามให้ชัดให้เป็นเรื่องเป็นราว ทุกคนจะได้เข้าใจตรงกันว่าหมายถึงอะไร และขับเคลื่อนไปในทางเดียวกัน

แต่เท่าที่ดูจากความเข้าใจของแต่ละคนก็ยังไม่ตรงกัน แถมภารกิจก็กว้างๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง

ที่สำคัญคือ การลงพื้นที่จะลงอย่างไร ลงไปเป็นหน่วยพัฒนา  หน่วยทำความเข้าใจ  หรือหน่วยตรวจตราและควบคุม

หากดูบริบททางการเมืองที่ผ่านมา และที่กำลังจะเดินไปยิ่งให้ชวนสงสัยว่ารัฐบาลกำลัง “ทำอะไร”

ถึงนาทีนี้แม้ไม่ประกาศชัด แต่หลายๆ คนเชื่อว่า “นายกลุงตู่” จะหาทางหวนกลับมาเป็นนายกฯหลังการเลือกตั้ง รวมถึงการเลื่อนโร้ดแม็พ ทำให้คาดว่าถึงเวลาที่รัฐบาลต้องเร่งสร้างผลงาน และควบคุมสถานการณ์เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างราบรื่นและได้ผลตามความต้องการ

หากย้อนดูจะเห็นว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันนั้นขับเคลื่อนด้วยระบบราชการเป็นหลัก และครั้งนี้เองรัฐบาลก็เลือกใช้ข้าราชการเป็นหลักอีก และแน่นอนว่าข้าราชการที่ถูกจับตามองว่าเป็นมือเป็นไม้คือข้าราชการฝ่ายปกครองจากกระรวงมหาดไทยและทหารนั่นเอง

ซึ่งโมเดลนี้น่าสนว่า มีความคล้ายคลึงกับบทบาทของ “กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร” หรือ กอ.รมน. ในอดีต ที่มีหน้าที่ทั้งพัฒนาและควบคุม โดยงานพัฒนานั้นก็เน้นตามโครงการต่างๆ ของรัฐบาล ส่วนการควบคุมก็มีไว้สำหรับควบคุมผู้ที่ไม่เห็นชอบกับรัฐบาล

โดยเราจะเห็นได้จากองค์ประกอบของคณะกรรมการในระดับหมู่บ้าน ที่มีทั้ง “ปราชญ์ชาวบ้าน” ซึ่งคาดว่ามีเพื่อนำมาสร้างภาพอันดีให้กับการลงพื้นที่และการทำงาน

ขณะเดียวกัน หากมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างแท้จริง หน่วยงานด้านความมั่นคงในพื้นที่ก็ไม่เห็นจะมีความจำเป็นแต่อย่างใด

หลายคนจึงหวั่นว่าจะเห็นภาพหน่วยทหารเดินกันขวักไขว่ และมีบทบาทเข้าไปตรวจสอบถึงระดับท้องที่ว่าแต่ละคน คิดเป็นเห็นต่างอย่างไร

นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบเรื่อง “จิตอาสา”

“จิตอาสา” นั้นบางมุมอาจเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ทำให้อดคิดถึงโมเดล “ลูกเสือชาวบ้าน” อันลือลั่นในอดีตไม่ได้

ทำให้ถึงนาทีนี้จึงยังน่าสงสัยว่าคณะกรรมการและ “ทีมปฏิบัติงานในพื้นที่” มีภารกิจหลักเพื่ออะไร หรือเพื่อภารกิจข้อสุดท้ายที่ระบุไว้ นั่นคือ “ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย” ใช่หรือไม่

และมีเป้าหมายเพื่อสร้างความนิยมในความเป็น “ไทย” สร้างตัวแบบ “ไทยนิยม” หรือ สร้างให้นิยม “ใคร” กันแน่

ต้องดูทั้งเป้าหมายและวิธีปฏิบัติงาน
.

บทความโดย “อสรพิษ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า