SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – สนช.ถก กม.เลือกตั้ง ส.ส. โดยใช้เวลานานกว่า 14 ชม. ผ่านร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ออกไป 90 วัน ด้วยคะแนนเสียงคะแนน 213 เสียง งดออกเสียง 4 เสียง

วันที่ 26 ม.ค. 2561 วานนี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ใช้เวลา 14 ชั่วโมง ผ่านร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร ด้วยมติ 213 เสียง งดออกเสียง 4 ผ่านวาระ 3 เห็นชอบร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร พร้อมมีมติ 196 เสียง ต่อ 12 เสียง งดออกเสียง 14 เห็นชอบปรับแก้เนื้อหา มาตรา 2 ให้กฎหมายมีผลบังคับใช้ หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา 90 วัน พร้อมเตรียมส่งร่างกฎหมาย ที่ สนช. ให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ทำความเห็นกลับมาภายใน 10 วัน

นายวิทยา ผิวผ่อง ประธาน กมธ.วิสามัญฯ

นายวิทยา ผิวผ่อง ประธาน กมธ.วิสามัญฯ ชี้แจงเหตุผลที่ต้องขยายเวลาบังคับใช้ไป 90 วันว่า ที่ผ่านมา สนช. เคยผ่อนเวลาการให้กฎหมายมีผลบังคับใช้แล้วในหลายรูปแบบ เช่น ให้มีผลบังคับเมื่อพ้น 90 วัน หรือ 240 วันมาแล้ว เช่น พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ เป็นต้น

“กมธ. อยากให้กฎหมายฉบับนี้เป็นการพัฒนาการเลือกตั้ง และพัฒนาประชาธิปไตย เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปประเทศ จึงขอเสนอเลื่อนการใช้บังคับกฎหมายออกไปไป 90 วัน เพื่อให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ทำความเข้าใจกับหลักเกณฑ์ฉบับใหม่โดยไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการปฏิบัติหน้าที่” ประธาน กมธ.วิสามัญฯ กล่าว

นายประพันธ์ นัยโกวิท กรธ.

ขณะที่นายประพันธ์ นัยโกวิท กรธ. ในฐานะกมธ.เสียงข้างน้อย แสดงความคิดเห็นว่า การกำหนดเวลา 90 วัน เป็นการเปลี่ยนแปลงหลักการเดิมที่ กรธ. กำหนดเอาไว้ และ สนช. ได้ลงมติรับหลักการในวาระแรกไปแล้ว ที่ผ่านมา คสช. คณะรัฐมนตรี และ กกต. ก็ไม่เคยแจ้งหรือขอให้ขยายเวลา ดังนั้น กรธ. จึงไม่เห็นความจำเป็นที่จะขยายออกไป

แฟ้มภาพ เตรียมการเลือกตั้ง

นอกจากนี้ที่ประชุม สนช. ยังเห็นชอบให้ตัด มาตรา 35 วงเล็บ 4 ซึ่งเป็นการตัดสิทธิ์ สมัครรับราชการ พนักงาน หรือลูกจ้าง ของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ออก เพราะเห็นว่าเป็นการจำกัดสิทธิ์มากเกินไป เช่นกับมาตรา 75 ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบห้ามจัดแสดงมหรสพงานรื่นเริงระหว่างหาเสียง โดยตัดประเด็นของกรรมาธิการฯทิ้งไป

แฟ้มภาพ เลือกตั้ง

หลังจากนี้ สนช. จะต้องนำร่างกฎหมายฉบับนี้ ส่งไปยัง กรธ. และ กกต. เพื่อพิจารณาว่ามีเนื้อหาขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งหากพบว่าขัด ก็ต้องมีการตั้ง คณะกรรมการร่วม 3 ฝ่ายประกอบด้วย สนช. 5 คน กรธ. 5 คน และ กกต.อีก 1 คน ทำหน้าที่ทบทวนร่างกฎหมายทั้งหมดต่อไป

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า