SHARE

คัดลอกแล้ว

พล.อ.สุจินดา คราประยูร พร้อมสมาชิกพรรคร่วมรัฐบาล มนตรี พงษ์พานิช พล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์ และนายณรงค์ วงศ์วรรณ

ในขณะที่การเมืองในปี 2562 เกิดวาทกรรม “ฝ่ายประชาธิปไตย” กับ “ฝ่ายสืบทอดอำนาจ” หรือ “ฝ่ายเผด็จการ” ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาออกมาชี้แจงว่า เป็นการกล่าวหาที่ไม่เป็นธรรมเพราะเมื่อเข้าสู่กระบวนการการเลือกตั้ง ย่อมเป็นประชาธิปไตยด้วยกันทั้งหมด
.
ย้อนกลับไปดูการเมืองในช่วงปี 2534 หลังจากที่ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ที่นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พศ.2534 และคณะรัฐประหารได้เลือกนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี
.
จากนั้นมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยมีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน ซึ่งเริ่มมีการคัดค้านเพราะมองว่าเนื้อหาเปิดช่องให้มีการสืบทอดอำนาจ จนต้องมีการแก้ไขเนื้อหาในบางส่วน เช่น ยกเลิกการเลือกตั้งแบบพวงใหญ่ ลดจำนวน ส.ส.แต่งตั้ง แต่ยังคงเนื้อหา นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.ไว้ จนได้รับฉายาว่า เป็นรัฐธรรมนูญฉบับ “ร่างทรง รสช.”
.
ต่อมาจัดให้มีการเลือกตั้ง 22 มี.ค. 2535 พรรคที่ได้ ส.ส.อันดับ 1 รวม 79 คน คือ พรรคสามัคคีธรรม ที่ก่อตั้งโดย น.ต.ฐิติ นาครทรรพ ผู้ใกล้ชิดกับคนใน รสช. มี นายณรงค์ วงศ์วรรณ จากพรรคเอกภาพที่เคยถูกคณะตรวจสอบทรัพย์สินของ รสช.อายัดทรัพย์สินหลังยึดอำนาจ แต่พ้นข้อกล่าวหาในเวลาต่อมา มาเป็นหัวหน้าพรรคใหม่นี้
.
มีการรวมตัวจับขั้วของ 5 พรรค เพื่อเป็นรัฐบาล รวม 195 เสียง คือ พรรคสามัคคีธรรม (79 เสียง) ชาติไทย (74 เสียง) กิจสังคม (31 เสียง) ประชากรไทย (7 เสียง) และ ราษฎร (4 เสียง)
.
ส่วนฝ่ายค้าน หลักในตอนนั้น 4 พรรค รวม 163 เสียงคือ ความหวังใหม่ (72 เสียง) ประชาธิปัตย์ (44 เสียง) พลังธรรม (41 เสียง) เอกภาพ (6 เสียง)
.
เป็นที่เข้าใจกันว่า เดิมพรรคที่จับขั้วเป็นรัฐบาลวางให้ นายณรงค์ วงศ์วรรณ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา เปิดข้อมูลว่า นายณรงค์ มีชื่ออยู่ในแบล็คลิสต์ของทางการสหรัฐ จึงต้องมีการเปลี่ยนแผนใหม่
.
5 พรรครัฐบาล จึงมีการเชิญ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ผบ.ทบ.ให้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน จนนำมาซึ่งการประท้วงเพราะเป็นนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้เป็น ส.ส. และ พล.อ.สุจินดา ก็เคยลั่นว่าวาจาไว้หลายครั้งว่าจะไม่รับตำแหน่ง
.
เช่น “ผมยืนยันไม่เล่นการเมือง ไม่ลงเลือกตั้ง ไม่เป็นนายกฯ โดยเด็ดขาด การเมืองไม่มีอะไรแน่นอน” (ธ.ค.2534)
.
“บอกไปหลายครั้งแล้วว่าไม่เล่นการเมือง เมื่อไม่เล่นก็ไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผมไม่เปลี่ยนใจ เป็นคนรักเดียวใจเดียว” (ธ.ค.2534)

(พล.อ.สุจินดา กล่าวประโยค เสียสัตย์เพื่อชาติ ช่วง 6.22)
.
แต่ที่สุดแล้ว 8 เม.ย.2535 พล.อ.สุจินดา ก็อธิบายถึงการตัดสินใจรับตำแหน่งว่า “จำเป็นต้องเสียสัจจะที่เคยกล่าวว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้เพราะคิดว่าเราเป็นทหารที่มีคติประจำใจว่า เรายอมเสียสละได้แม้ชีวิตเพื่อประเทศชาติ และเมื่อมีความจำเป็นที่เราต้องทำงานเพื่อประเทศชาติ การเสียชื่อเสียงสัจจะวาจาก็จำเป็น”
.
อย่างไรก็ตาม รุ่งมณี เมฆโสภณ ผู้สื่อข่าวอาวุโส ที่เกาะติดสถานการณ์ในขณะนั้นอย่างใกล้ชิด บันทึกไว้ว่าเจตนาแต่แรกของพรรคสามัคคีธรรมและพรรคร่วมรัฐบาล คือ การเชิญนายกรัฐมนตรีคนนอกมารับตำแหน่ง ส่วนพรรคฝ่ายค้าน ต้องการนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง
.
จึงเป็นที่มาของการที่สื่อมวลชนในตอนนั้น ตั้งฉายาให้พรรคที่ต้องการสืบทอดอำนาจทหารว่า พรรคมาร และพรรคฝ่ายตรงข้ามว่า พรรคเทพ
.

พรรคเสียงข้างมากได้เดินเกมเชิญไปทั้ง “บิ๊กสุ” พล.อ.สุจินดา คราประยูร ผบ.ทบ. และ “บิ๊กเต้” พล.อ.อ.เกษตร โรจนนิล ผบ.ทอ. มาเป็นนายกฯ คนนอก ซึ่งเป็นไปตามที่ “บิ๊กจ๊อด” พล.อ.สุนทร ประธาน รสช.เคยกล่าวไว้ในช่วงก่อนการเลือกตั้งว่า “สุไม่เอา ก็ให้เต้”
.
แต่พล.อ.สุจินดา ยืนเงื่อนไข ต้องไม่มีนักการเมืองที่ถูกคำสั่งยึดทรัพย์สินมาเป็นรัฐมนตรี เมื่อไม่ลงตัวจึงมีการเชิญไปที่ พล.อ.อ.เกษตร แต่ก็ปฏิเสธเช่นกัน ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจึงกลับมาที่ชื่อของนายณรงค์ แต่ก็ถูกกรณีสหรัฐปฏิเสธให้วีซ่าและขึ้นแบล็คลิสต์อย่างที่ได้กล่าวไว้
.
จนที่สุด พล.อ.สุจินดา ก็หลั่งน้ำตา เสียสัตย์เพื่อชาติ รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยมีรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลบางคนที่เคยถูกยึดทรัพย์ตามที่ พล.อ.สุจินดา เคยปฏิเสธจะร่วมงานด้วย
.
เหตุการณ์ประท้วงและสลายการชุมนุมก็บานปลาย จนเกิดเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ที่เกิดความสูญเสียมากมายตามมา
.
น่าสนใจตรงที่เมื่อมองย้อนหลังกลับไป พรรคฝ่ายรัฐบาล ที่ถูกเรียกว่า “พรรคมาร” มีโอกาสจะร่วมถอดชนวนความรุนแรงด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นเรื่องนายกฯ คนนอก

หนังสือแนะนำ อ่านเพิ่มเติม
– ประชาธิปไตยเปื้อนเลือด โดย รุ่งมณี เมฆโสภณ
– สายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย โดย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
– บันทึกฯ พฤษภาคมทมิฬ โดย ผู้จัดการฉบับพิเศษ
– ชื่อฉายาและสมญานามทางการเมืองไทย โดย วีระ เลิศสมพร

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า