SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – สงกรานต์วันสุดท้ายอีสานอ่วม เจอพายุฝนถล่ม กรมอุตุนิยมวิทยา เตือนเกือบทุกภาคเผชิญกับพายุฤดูร้อนและได้รับผลกระทบ ตั้งแต่ 15 – 18 เมษายน

วันนี้ (15 เม.ย. 61 ) หลายจังหวัดในภาคอีสาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ต้องเผชิญกับพายุฤดูร้อน มีฝนตก ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า และลูกเห็บตก เช่นที่ จ.นครพนม เกิดพายุฤดูร้อนพัดถล่มบริเวณจัดงานสงกรานต์ สภาพโครงเหล็ก ฉากเวที ซุ้มอาหารบริเวณจัดงานสงกรานต์และงานมหกรรมอาหารถิ่นอินโดจีนกลุ่มจังหวัดสนุก ที่ลานพนมนาคา ถึง แลนด์มาร์คพญาศรีสัตตนาคราช ถนนสุนทรวิจิตร ริมแม่น้ำโขง เทศบาลเมืองนครพนม พังเสียหายเกือบทั้งหมด

โดยเกิดพายุฝนฟ้าคะนองเกือบตลอดทั้งวัน ตั้งแต่เวลา 4 นาฬิกา แรงลมที่พัดกระโชกแรง พัดเอาโครงป้ายและหลังคาร้านจำหน่ายรถจักรยานยนต์มือสอง ปลิวตกใส่ถนน เบื้องต้นไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ

พล.ต. สมชาย ครรภาฉาย ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 210 สั่งการให้นำกำลังทหารเข้าเก็บกวาด และรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ปรับพื้นที่ ร่วมกับเจ้าหน้าที่งานป้องกันฯ เทศบาลเมืองนครพนม

ทั้งนี้ ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา “พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบ ตั้งแต่ 15 – 18 เมษายน 2561)” ฉบับที่ 9  ระบุว่า วันนี้ (15 เม.ย. 61) บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคตะวันออก จะเกิดพายุฤดูร้อนขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีฟ้าผ่าและลูกเห็บตกบางพื้นที่ ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะได้รับผลกระทบ

ส่วนวันพรุ่งนี้ (16 เม.ย.61) ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่า สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

ทั้งนี้ เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศเวียดนามและลาวแล้ว และคาดว่า จะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันนี้ (15 เม.ย. 61) ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้บริเวณดังกล่าวจะเกิดพายุฤดูร้อนขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีฟ้าผ่าและลูกเห็บตกบางพื้นที่

สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 17-19 เมษายน 2561 ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังไว้ด้วย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า