SHARE

คัดลอกแล้ว

(ถาวร เสนเนียม อดีตส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์)

ประเด็นคือ – นายถาวร เสนเนียม อดีต ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ เห็นด้วยกับ 3 มาตรการแก้ไขราคายางพาราตกต่ำของรัฐบาล พร้อมเสนอแนะให้เจรจากับประเทศมาเลยเซีย และ อินโดนีเซีย หยุดกรีดยางพร้อมไทย ตั้งแต่ ม.ค. – มี.ค. ปี 2561

นายถาวร เสนเนียม อดีต ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง 3 มาตรการในการแก้ไขยางพาราตกต่ำเพื่อเกษตรกรชาวสวนยางของคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ว่า มาตรการทั้งหมดเป็นสิ่งที่ตนเคยเรียกร้องมาแล้ว ตนเห็นว่า มาตรการนั้นสามารถช่วยชาวสวนยางได้ดี แต่ขอเสริมอีกประเด็นหนึ่ง คือ จากกรณีที่มีมาตรการหยุดกรีดยางในพื้นที่ของรัฐบาล ราว 1 แสนไร่ ทั้งในส่วนพื้นที่ของกรมป่าไม้ และองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เป็นเวลา 3 เดือน คือ ระหว่าง ม.ค. – มี.ค.ปี 2561 นั้น อยากให้รัฐบาลขอความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านที่เข้าร่วมไตรภาคียางพาราคือ “อินโดนีเซีย และมาเลเซีย” ให้ใช้มาตรการหยุดกรีดยางในพื้นที่ของรัฐบาลของเขาเช่นเดียวกับไทย เพราะถ้าลด แต่ฝ่ายของไทย ผู้ซื้อก็ยังสามารถซื้อจากที่อื่นได้

นายถาวร กล่าวต่อว่า แต่ถ้าสามารถเจรจาให้มาเลเซียและอินโดนีเซีย หยุดการกรีดยางในช่วงเดียวกันในปริมาณที่เท่ากันกับของไทย คือ หยุดกรีดในพื้นที่ 1 แสนไร่ ก็จะเป็นการลดปริมาณในการผลิตยางออกสู่ตลาด ทำให้มีความต้องการยางเพิ่มขึ้น จะทำให้ราคายางมีการขยับตัวสูงขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งหากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องสามารถเจรจากับมาเลเซียและอินโดนีเซียได้ ตนคิดว่าจะทำให้การแก้ไขปัญหาราคายางพาราของรัฐบาลไทยและภาคียางพารามีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ก็ต้องขอชื่นชมว่า มาตรการแก้ไขวิกฤติยางครั้งนี้ถือว่ามาถูกทางแล้ว

สำหรับ 3 มาตรการแก้ปัญหาราคายางตกต่ำของ กนย.

  1. เพิ่มการใช้ยางในประเทศ 180,000 ตัน การประกวดราคาผู้ประมูลรับจ้างก่อสร้างถนน ต้องซื้อยางที่ผสมจากน้ำยางสด ที่จัดจำหน่ายโดยการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เพื่อป้องกันการนำยางเก่ามาขาย และ ส่วนราชการ จะต้องใช้ให้เสร็จภายใน 1 ปี โดยเริ่มตั้งแต่เดือน ม.ค. 61 ถึงวันที่ 30 ก.ย. 2561
  2. รัฐบาลจะช่วยเหลือดอกเบี้ยในอัตราไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์ ให้ผู้ประกอบการที่เข้าไปรับซื้อยางแห้ง ภายใต้สินเชื่อก้อนใหม่ 20,000 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นเงินที่รัฐต้องชดเชยดอกเบี้ย 600 ล้านบาท มีเป้าหมายดูดซับยางแห้งออกจากตลาด 100,000 ตัน หรือเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ ของยางแห้งทั้งหมด (ผู้ประกอบการที่รับซื้อยางแห้งกลุ่มนี้ เป็นนักธุรกิจระดับกลางมีความต้องการใช้ยาง 500,000-600,000 ตันต่อปี)
  3. ลดการกรีดยางและลดพื้นที่การปลูกยาง โดยการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จะชดเชยในอัตรารายละ 4,000 บาท จากเดิมที่ได้รับอยู่แล้วรายละ 16,000 บาทต่อไร่ รวมแล้วจะใช้เงินอีก 80 ล้านบาท

 

เกร็ดไตรภาคียางพารา (ไทย – มาเลเซีย – อินโดนีเซีย)

สืบเนื่องจากราคายางพาราตกต่ำอย่างต่อเนื่องระหว่างปี 2538 – 2544 รัฐบาลไทย มาเลเซียและอินโดนีเซีย ได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมบาหลีระดับรัฐมนตรี (Joint Ministerial Declaration (Bali Declaration 2001) เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 2544 จัดตั้งองค์การความร่วมมือไตรภาคีด้านยางพารา (International Tripartite Rubber Organization – ITRO) เพื่อเป็นกรอบความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน เพื่อแก้ไขปัญหาปริมาณยางพาราล้นตลาด และราคายางพาราตกต่ำ

มีกลไกความร่วมมือกัน คือ

  1. บริษัทร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด ทำหน้าที่บริหารจัดการราคายางพาราในตลาดโลก
  2. สภาไตรภาคียางพารา ประชุมร่วมกันทุกวันที่ 12 ธ.ค.ของทุกปี ทำหน้าที่กำกับดูแลมาตรฐานเสถียรภาพราคายางพารา

 

 

ขอบคุณภาพ FB : ถาวร เสนเนียม

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า