SHARE

คัดลอกแล้ว

ระบบเตือนภัยสึนามิ “พัง” ขาดการเรียนรู้จากอดีต เหตุแห่งความเสียหายหนักในอินโดฯ

ผู้คนมากมายบนเกาะสุลาเวสีของอินโดนีเซีย ต้องสังเวยชีวิตให้กับคลื่นยักษ์สึนามิที่เกิดขึ้นหลังแผ่นดินไหวใหญ่ ตัวเลขผู้เสียชีวิตทะลุหลักพันและยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด (3 ต.ค. 61) สำนักงานภัยพิบัติอินโดนีเซีย ระบุว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวขนาด 7.5 และสึนามิถล่มเกาะสุลาเวสี เมื่อ 28 ก.ย. ที่ผ่านมา อยู่ที่ 1,347 ราย 

คำถามที่หลายคนสงสัยคืออินโดนีเซียเป็นชาติหนึ่งในโลกที่เสี่ยงจะเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิมากที่สุด แต่ทำไมจึงไม่มีมาตรการรับมือหรือการเตือนภัย คำตอบ เพราะความไม่พร้อมของระบบเตือนภัยสึนามิล่วงหน้า “เรามีเครื่องไม้เครื่องมือจำกัดมาก” Rahmat Triyono หัวหน้าศูนย์แผ่นดินไหวและสึนามิ ยังยอมรับว่า “อันที่จริงเรามีเซ็นเซอร์ตรวจจับแผ่นดินไหวอยู่ 170 ตัวแต่มีงบบำรุงรักษาสำหรับเซ็นเซอร์แค่ 70 ตัว”

จริง ๆ แล้ว อินโดนีเซียมีระบบเตือนภัยสึนามิล่วงหน้าที่ล้ำสมัยมากซึ่งรวมถึงทุ่นในทะเล 21 ทุ่นที่สหรัฐ เยอรมนี และมาเลเซียบริจาคให้หลังสึนามิในมหาสมุทรอินเดียเมื่อปี 2547 แต่ทั้งหมดกลับใช้งานไม่ได้ บางส่วนได้รับความเสียหายจากฝีมือพวกชอบทำลายของสาธารณะ บางส่วนใช้ไม่ได้เพราะไม่ได้รับการซ่อมบำรุงเพราะขาดงบประมาณ บางส่วนถูกขโมยไป มีแผนติดตั้งระบบเซ็นเซอร์ที่พื้นทะเล ระบบคลื่นเสียง และเคเบิลเส้นใยนำแสงเพื่อทดแทนอุปกรณ์พวกนี้มาตั้งแต่ปี 2550 แต่เกิดความล่าช้าเพราะหน่วยงานของรัฐเกี่ยงกันรับผิดชอบรวมทั้งติดขัดเรื่องงบประมาณ 1 พันล้านรูเปียห์ (ประมาณ 2 ล้านบาท) ทำให้จนถึงตอนนี้แทบไม่มีความคืบหน้าจากระบบต้นแบบที่พัฒนาด้วยเงิน 3 ล้านดอลลาร์ (เกือบ 10 ล้านบาท) จากมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐ ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าระบบใหม่ที่ยังไม่ได้ติดตั้งนี้สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับภัยสึนามิได้ภายใน 1-3 นาทีซึ่งเร็วขึ้นมากเมื่อเทียบกับ 5-45 นาทีจากทุ่นที่ใช้งานไม่ได้แล้ว

ทุกวันนี้ระบบเตือนภัยสึนามิของอินโดนีเซียอาศัยข้อมูลจากเครือข่ายสถานีวัดระดับน้ำ 134 แห่งเป็นหลัก “ข้อมูลจากสถานีวัดระดับน้ำอย่างเดียวทำให้เกิดข้อจำกัดในการเตือนภัยล่วงหน้า BMKG (สำนักงานอุตุนิยมวิทยาและธรณีฟิสิกส์ของอินโดนีเซีย) ยกเลิกคำเตือนสึนามิเร็วเกินไปก็จริงแต่เพราะไม่มีข้อมูลมากพอ” Louise Comfort ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการภัยพิบัติจากมหาวิทยาลัย Pittsburgh กล่าว

นอกจากความไม่พร้อมเรื่องระบบเตือนภัยแล้ว การที่ประชาชนไม่เรียนรู้จากบทเรียนในอดีตก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เพราะมีคนจำนวนมากอยู่แถวชายหาดเฝ้าดูคลื่นยักษ์ซัดเข้าหาฝั่งด้วยความอยากรู้อยากเห็น “เรื่องนี้สะท้อนถึงความล้มเหลวในการให้ความรู้และฝึกซ้อมรับมือสึนามิอย่างเหมาะสม” Gavin Sullivan นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัย Coventry กล่าว เช่นเดียวกับ Adam Switzer Earth Observatory of Singapore ซึ่งมองว่าไม่ว่าจะใช้ระบบเตือนภัยอะไรก็ตาม แต่สิ่งสำคัญที่ควรทำถ้าเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่ชายฝั่งคือรีบขึ้นไปอยู่บนพื้นดินที่สูง ๆ และอยู่ที่นั่น 2-3 ชั่วโมง

 

ที่มา Indonesia earthquake and tsunami: How warning system failed the victims
Tsunami early warning system might have saved lives in Indonesia — if it was working

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า