SHARE

คัดลอกแล้ว

นักศึกษา ปวส.2 เทคโนโลยีอุตรดิตถ์ ประดิษฐ์รถคนพิการพลังงานแสงอาทิตย์ ประหยัดไฟฟ้า-น้ำมัน ตอบโจทย์แก้ไขทุกปัญหา ใช้งานได้จริง

วันที่ 21 สิงหาคม 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และ ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผจก.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ชื่นชมและทดลองการใช้งาน รถคนพิการพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ นศ.ปวส.ชั้นปีที่ 2 แผนกช่างยนต์ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตรดิตถ์ 6 คน คือ นายนภดล จัตวา, นายจีรวัตร เล่ายี, นายภานุวัฒน์ สายทอง, นายนพรัตน์ สิงห์ทอง, นายภูริณัฐ กลิ่นเจริญ และ นายคภวิช แก่นคำ ออกแบบและประดิษฐ์ แบบตอบโจทย์ ครอบคลุมทุกปัญหา สามารถใช้งานได้จริง ที่สำคัญประหยัดพลังงานไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิง

นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้ผู้พิการได้ทดลองขับขี่ ต่างก็ประทับใจ ล่าสุดสมาคมคนพิการจังหวัดอุตรดิตถ์มีออเดอร์ให้ประดิษฐ์เพิ่มจำนวน 6 คัน หลังจากรับส่งมอบรถคนพิการพลังงานแสงอาทิตย์ต้นแบบ 2 คัน

https://www.facebook.com/NewsWorkpoint/videos/910686645785872/

นายนภดล หนึ่งใน นศ.ช่างยนต์ ที่คิดค้น ออกแบบและประดิษฐ์รถคนพิการพลังงานแสงอาทิตย์ กล่าวว่า สถาบันมีโครงการช่วยเหลือผู้พิการ และเปิดโอกาสให้ นศ.ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยนำความรู้ภาคทฤษฎีจากห้องเรียน ความคิดสร้างสรรค์ วางแผน ออกแบบ เพื่อประดิษฐ์อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อช่วยเหลือผู้พิการ ให้สามารถดำเนินชีวิตในสังคม ประกอบอาชีพ ได้สะดวกยิ่งขึ้น จึงนำปัญหาการใช้งานรถเข็น รถสามล้อ และวีลแชร์คนพิการ ตั้งเป็นโจทย์ เพื่อแก้ไขทีละข้อ จึงกลายเป็นที่มาของการประดิษฐ์ “รถเพื่อคนพิการพลังงานแสงอาทิตย์” และใช้วัสดุเหลือใช้ร้อยละ 70 ต่อรถ 1 คัน

เช่น โครงสร้าง ใช้เศษเหล็กเชื่อมต่อกัน ออกแบบช่วงหน้าและที่จับให้เหมือนรถจักรยานยนต์ ที่สามารถลดแรงกระแทกได้ มีไฟและกระจกหน้า – หลัง กล่องสวิตช์ควบคุมรถให้สามารถเคลื่อนเดินหน้า ถอยหลัง และปิด – เปิดไฟ เบาะที่นั่งนุ่ม ตัวถังทำจากฝาท่อเก่า แต่ถูกออกแบบให้สวย เหมาะแก่การใช้งานเป็นอย่างยิ่ง ที่ขาดไม่ได้คือ การติดตั้งแผงโซลาเซลล์ด้านบนศีรษะผู้ขับขี่ นอกจากจะเก็บพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว ยังใช้เป็นส่วนของหลังคารถได้ด้วย

โดยหลังการทำงาน เมื่อแผงโซลาเซลล์จัดเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ได้มากพอ จะมีหม้อแปลงให้เป็นพลังงานไฟฟ้าเข้าสู่แบตเตอรี่ ซึ่งคันต้นแบบใช้งานได้ 6 ชั่วโมง ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ตลอดเวลา เมื่อจอดจุดที่รับแสงอาทิตย์ ขับขี่ง่าย สะดวก ปลอดภัย แต่หากเกิดกรณีฉุกเฉิน แบตเตอรี่หมดระหว่างทาง ยังมีคันโยกและมือจับเพื่อเข็นรถให้ขับเคลื่อนโดยแรงคนได้

นายนภดล กล่าวว่า ได้ประดิษฐ์รถต้นแบบ 2 คัน เพื่อส่งมอบให้ผู้พิการ หลังมีการนำไปใช้งานได้จริง ทางสมาคมคนพิการจังหวัดอุตรดิตถ์จึงได้จัดหาวัสดุ และให้ประดิษฐ์เพิ่มอีก 6 คัน จึงรู้สึกดีใจ ภูมิใจ ที่สิ่งประดิษฐ์ของตนและเพื่อนๆ มีประโยชน์ ช่วยเหลือผู้พิการได้ เป็นกำลังใจที่จะปรับปรุงต่อยอดให้ดียิ่งๆ ขึ้น

นายพีระศักดิ์ กล่าวว่า รถคนพิการพลังงานแสงอาทิตย์ ต้นทุนคันละ 2.5 หมื่นบาท แต่ทำให้ผู้พิการใช้ประโยชน์ทั้งการใช้ชีวิตประจำวัน สร้างอาชีพ พึ่งตนเองได้ น่าชื่นชมและสนับสนุน ทั้งสถาบันและนักศึกษาที่ประดิษฐ์นวัตกรรมที่ใหม่และดีสำหรับผู้พิการ

 

อ่านข่าวอื่นได้ที่
เว็บไซต์: workpointnews.com
เฟซบุ๊ก: ข่าวเวิร์คพอยท์ ตลาดข่าว
ยูทูบ: workpoint news
ทวิตเตอร์: workpoint news
อินสตาแกรม: workpointnews

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า