หลังจากกระทรวงสาธารณสุขประกาศห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย “ไขมันทรานส์” ซึ่งเป็นไขมันชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเติมไฮโดรเจนเข้าไปในน้ำมันพืช เนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยให้บังคับใช้หลัง 180 วัน นับแต่วันประกาศเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 61 ที่ผ่านมานั้น
ผู้บริโภคอาจจะไม่เดือดร้อนเท่าไหร่ เลือกกินอาหารที่ไม่มีไขมันทรานส์ได้ แต่ผู้ประกอบการที่มักจะใช้ส่วนประกอบนี้คงต้องปรับตัว โดยเฉพาะกลุ่มขนม เบเกอรี่ ขณะเดียวกันก็เหมือนเป็นโอกาสดีที่สินค้าไหนไม่ได้ใช้ไขมันทรานส์ ก็ประกาศให้ผู้บริโภคได้รู้ เป็นจุดขายได้
ท่ามกลางวิกฤติ ย่อมมีโอกาสเสมอ ถือว่าเป็นนาทีทองของผู้ประกอบการที่มีการปรับตัวไปแล้วก่อนหน้านี้ ส่วนผู้ประกอบการที่ยังไม่ปรับตัว ก็ยังมีเวลาอีก 6 เดือน ในการปรับเปลี่ยนสูตร
ทางด้านธุรกิจฟาสต์ฟู้ด เบเกอรี่ และค้าปลีก ขานรับมาตรการทันที พร้อมออกประกาศยืนยันว่า สินค้าของตัวเองปราศจากไขมันทรานส์ และมีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ ขณะเดียวกัน กำลังทยอยปรับเปลี่ยนวัตถุดิบและส่วนประกอบต่างๆ ที่จะทำให้เกิดไขมันทรานส์ได้

แววคนีย์ อัสโสรัตน์กุล ผู้จัดการทั่วไป เคเอฟซี ประเทศไทย
ผู้บริหารห้างค้าปลีกรายใหญ่ ระบุว่า ได้หารือกับผู้ผลิตสินค้าที่วางจำหน่าย ให้ปรับปรุงไม่ให้มีส่วนประกอบของไขมันทรานส์ และแจ้งผู้ผลิตเบเกอรี่ทุกรายการ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ด้วยการใช้วัตถุดิบอื่นทดแทน เบื้องต้นผู้ผลิตพร้อมที่จะปรับสูตรของตัวเอง เชื่อว่าเมื่อครบกำหนด 180 วัน จะไม่มีสินค้าที่มีส่วนผสมของไขมันทรานส์วางจำหน่าย

สลิลลา สีหพันธุ์ ประธานกรรมการฝ่ายกิจการบรรษัท เทสโก้ โลตัส
ขณะที่บทวิเคราะห์ของ บล.เอเชียพลัส รายงานว่า ผู้ประกอบการอาจต้องปรับสูตรใหม่ ซึ่งอาจกระทบให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น เบื้องต้นประเมินว่า กลุ่มเบเกอรี่จะได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว
ส่วนในแวดวงตลาดหุ้น เมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้วจนถึงต้นสัปดาห์นี้ หุ้นกลุ่มขนมหวาน-เบเกอรี่ มีการปรับตัวลดลง เช่น อาฟเตอร์ยู ปรับจาก 9.10 บาท เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว และวันนี้ (17 ก.ค. 61) ปิดที่ 8.55 บาท
ซึ่งผู้บริหารของอาฟเตอร์ยูบอกว่า หลังประกาศดังกล่าวออกมา มีนักลงทุนจำนวนมากสอบถามเข้ามา โดยบริษัทและอุตสาหกรรมรับรู้เรื่องนี้ล่วงหน้ามา 6 เดือนแล้ว และได้ปรับปรุง แก้ไขส่วนผสมของขนมเรียบร้อยแล้ว
ด้านความเห็นของผู้บริโภคต่อประกาศดังกล่าว มองว่า เป็นเรื่องดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค และเห็นว่าควรมีการแจ้งรายละเอียดให้ประชาชนทราบว่า สินค้าอะไรบ้างที่มีไขมันทรานส์ เพราะผู้บริโภคไม่ทราบ

สดุดี ศรีประทุม ผู้บริโภค
ปัจจุบันหลายประเทศประกาศห้ามใช้ไขมันทรานส์ เช่น สหรัฐฯ เลิกใช้หลายปีแล้ว ส่วนไทยอยู่ระหว่างดำเนินการ แม้ในช่วงแรกอาจทำให้ต้นทุนผู้บริโภคสูงขึ้น แต่หากเทียบกับการลดงบประมาณในการรักษาโรคที่เกิดจากไขมันต่างๆ รวมถึงไขมันทรานส์ ที่สูงถึงหลายหมื่นล้านบาทต่อปี ก็ต้องถือว่าคุ้มค่า
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ร้านเบเกอรีคอตก หลังประกาศออก “ห้ามนำเข้าไขมันทรานส์”
- สธ.ประกาศ ห้ามผลิต-นำเข้า-จำหน่าย “ไขมันทรานส์” มีผลบังคับใช้อีก 6 เดือน
อ่านข่าวอื่นได้ที่
เว็บไซต์ : workpointnews.com
เฟซบุ๊ก: ข่าวเวิร์คพอยท์ ตลาดข่าว
ยูทูบ: workpoint news
ทวิตเตอร์: workpoint news
อินสตาแกรม: workpointnews