Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

จ.นครพนม สถานการณ์น้ำโขง ท่วมนาน 2 เดือน สร้างความเสียหายเกือบ 300 ล้าน ผู้ว่าฯ อนุมัติ 50 ล้าน ช่วยเหลือเบื้องต้น ด้านพื้นที่เกษตร 3 แสนไร่ เน่าตายหลังน้ำโขงพ้นวิกฤติ

วันที่ 21 ก.ย. 61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ จ.นครพนม สถานการณ์น้ำโขงเอ่อท่วมเริ่มคลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติ หลังส่งผลกระทบเอ่อท่วมหลายพื้นที่ มานานกว่า 2 เดือน ล่าสุดระดับน้ำโขงลดระดับลงอย่างรวดเร็ว พ้นจุดวิกฤติแล้ว อยู่ที่ระดับ 09.70 เมตร ลดลงวันละประมาณ 20-30 เซนติเมตร จากจุดวิกฤติที่ระดับ 13 เมตร ส่งผลดีต่อลำน้ำสาขา ลำน้ำก่ำ ลำน้ำอูน ลำน้ำสงคราม ไหลระบายลงน้ำโขงเร็วขึ้น ส่งผลดีต่อพื้นที่ ได้รับผลกระทบน้ำท่วม ในพื้นที่อำเภอเสี่ยงติดกับลำน้ำโขง 4 อำเภอ มี อ.บ้านแพง อ.ท่าอุเทน อ.เมือง และ อ.ธาตุพนม รวมถึง อ.นาหว้า อ.ศรีสงคราม ที่ติดกับลำน้ำอูน และลำน้ำสงคราม ระดับน้ำเริ่มลดเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ได้รับผลกระทบหนักเรื่องพื้นที่การเกษตร นาข้าวได้รับความเสียหายอย่างหนัก เนื่องจากถูกน้ำท่วมขังนานกว่า 2 เดือน

โดยทางด้าน นายสมชาย วิทย์ดำรงค์ ผู้ว่าราชการ จ.นครพนม เปิดเผยว่า ผลกระทบน้ำโขงสูงปีนี้ ถือว่าหนักสุดรอบเกือบ 20 ปี ระดับน้ำโขงสูงสุดเกือบ 13 เมตร ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำเอ่อท่วมพื้นที่อำเภอเสี่ยงติดกับน้ำโขง รวมถึงพื้นที่อำเภอที่ติดกับลำน้ำสาขาสายหลัก ได้รับผลกระทบหนัก ซึ่งทาง จ.นครพนม ได้ประสานงานหน่วยงานเกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน เข้าไปดูแลช่วยเหลือต่อเนื่อง

จนกระทั่งล่าสุด ระดับน้ำโขงเข้าสู่ภาวะปกติ ระดับน้ำลดต่อเนื่อง แต่ยังมีพื้นที่ 2 อำเภอ ที่ยังได้รับผลกระทบบางส่วน คือ อ.นาหว้า และ อ.ศรีสงคราม เนื่องจากช่วงที่ผ่านมามีมวลน้ำจำนวนมาก ที่ไหลระบายลงน้ำโขงไม่ได้ เพราะน้ำโขงหนุน คาดว่าอีกประมาณ 1-2 สัปดาห์ จะเข้าสู่ภาวะปกติทั้งหมด แต่ยังต้องประสานชลประทานเร่งผลักดันน้ำระบายน้ำลงน้ำโขง ด้วยการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ ให้มวลน้ำไหลระบายเร็วที่สุด

ทั้งนี้ ทาง จ.นครพนม ได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติน้ำท่วม ทั้งจังหวัดรวม 12 อำเภอ หลังน้ำลดได้ประสานหน่วยงานท้องถิ่นทางอำเภอ ได้เร่งสำรวจวางแนวทางช่วยเหลือเร่งด่วน ตามอำนาจหน้าที่ โดยจะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและทางอำเภอตรวจสอบช่วยเหลือ หากเกินอำนาจให้เสนอมาทางจังหวัด ซึ่งทางจังหวัดโดยอำนาจผู้ว่าฯ สามารถอนุมัติเงินช่วยเหลือเบื้องต้น 50 ล้านบาท หากมูลค่าความเสียหายมากกว่านี้ จะต้องเสนอไปยังกระทรวงมหาดไทยต่อไป

ส่วนแนวทางการช่วยเหลือ ในส่วนของบ้านเรือน จะต้องมีการพิจารณาตามระเบียบ เน้นสภาพเสียหายตามความเป็นจริง แต่ในส่วนของพื้นที่การเกษตร จะได้รับการชดเชย ประมาณ ไร่ละ 1,113 บาท ต่อไร่ รายละไม่เกิน 30 ไร่ ตามระเบียบ ทั้งนี้จะต้องมีการตรวจสอบให้เข้าหลักเกณฑ์ ซึ่งในปีนี้คาดว่า ภาพรวมความเสียหาย คิดเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท โดยจะได้เร่งตรวจสอบให้การช่วยเหลือทุกพื้นที่ นอกจากนี้ ถึงแม้จะมีพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมพื้นที่เกษตรนาข้าว แต่จากการตรวจสอบข้อมูลยังพบว่า มีพื้นที่บางส่วนที่เคยขาดน้ำ ห่างไกลระบบชลประทานได้รับผลดีจากปริมาณน้ำ ทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น กว่า 10 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม ทางจังหวัดจะได้เร่งดูแลช่วยเหลือเต็มที่ในส่วนที่ได้รับความเดือดร้อน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า