SHARE

คัดลอกแล้ว

น้ำโขง จ.นครพนม ลดเร็วต่อเนื่อง เหลือ 8 เมตร ชป.ลดการระบายน้ำ ถอนเครื่องผลักดันเตรียมกักเก็บน้ำ ขณะที่พื้นที่เกษตรเสียหาย กว่า 3 แสนไร่ หลังน้ำโขงหนุนเอ่อท่วม นานกว่า 2 เดือน

วันที่ 27 ก.ย. 61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ จ.นครพนม ระดับน้ำโขงลดลงอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ที่ระดับประมาณ 8.30 เมตร ถือว่าพ้นจากจุดวิกฤติ ห่างจากจุดวิกฤติ ประมาณ 4.70 เมตร คือที่ระดับประมาณ 13 เมตร โดยมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง คาดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำโขงหนุนเอ่อท่วม เนื่องจากปริมาณฝนลดลง ส่งผลดีต่อลำน้ำสาขา ลำน้ำก่ำ ลำน้ำอูน และลำน้ำสงคราม เริ่มลดระดับลงอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง

โดยทางชลประทานนครพนม ได้มีการลดปริมาณการระบายน้ำ จากลำน้ำก่ำ บริเวณประตูระบายน้ำธรณิศนฤมิต พร้อมถอนการติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำด้วยระบบไฟฟ้า ที่เร่งผลักดันน้ำลงสู่แม่น้ำโขง หลังปริมาณน้ำในลำน้ำก่ำเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ ล่าสุดอยู่ที่ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของความจุ คือประมาณ 35 ล้านลูกบาศก์เมตรจากพื้นที่เก็บกักทั้งหมด ประมาณ 50 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ยังมีบางพื้นที่ยังมีมวลน้ำที่จะต้องระบายลงน้ำโขง แก้ปัญหาพื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมอีกประมาณ 30 ล้านลูกบาศก์เมตร คาดว่าประมาณ 1 สัปดาห์ ระดับน้ำจะเข้าสู่ภาวะปกติ

โดยขณะนี้ได้เตรียมพร้อมในการเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง เพราะเริ่มเข้าสู่ปลายฝนต้นหนาว นอกจากนี้ในส่วนของ ลำน้ำอูน ลำน้ำสงคราม ยังอยู่ที่ระดับประมาณ 12 เมตร ถือว่าเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ และยังคงเร่งระบายน้ำบริเวณประตูระบายน้ำอูนลงสู่น้ำสงคราม ไหลลงน้ำโขงให้มากที่สุด เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรบางพื้นที่ ในเขต อ.ศรีสงคราม และ อ.นาหว้า ที่ยังได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมขัง

สำหรับพื้นที่ จ.นครพนม ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ได้รับผลกระทบจากน้ำโขงสูง หนุนลำน้ำสาขาสายหลักเอ่อท่วมหนัก มีการประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติน้ำท่วม ทั้งจังหวัด 12 อำเภอ 94 ตำบล 909 หมู่บ้าน 17,454 ครัวเรือน 51,080 คน มีพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย รวมไม่ต่ำกว่า 3 แสนไร่ คาดมีมูลค่าความเสียหายรวมไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท

ขณะที่สถานการณ์น้ำในประเทศไทย ในช่วงที่ผ่านมา มีปริมาณฝนตกในพื้นที่ทางตอนบนของประเทศไทยอย่างต่อเนื่องและตกหนักในบางแห่ง ส่งผลให้ระดับน้ำในลำห้วยลำคลองต่างๆ เพิ่มสูงขึ้นจนเอ่อล้นเข้าท่วมบางพื้นที่ ปัจจุบันสถานการณ์น้ำเกือบเข้าสู่ภาวะปกติทั้งหมดแล้ว เหลือเพียง จ.นครนายก ที่มีบางพื้นที่ที่ยังคงประสบอุทกภัยจำนวน 2 อำเภอ ได้แก่ อ.องครักษ์ และ อ.เมือง

โดยกรมชลประทานได้มีการวางแผนเก็บกักน้ำให้ได้มากที่สุด เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งของลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง โดยเฉพาะเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี ที่มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 654 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 68 ของความจุอ่างฯ ซึ่งในช่วงแรกภายในวันที่ 30 ก.ย. 61 จะเก็บกักน้ำให้ได้ในเกณฑ์ 700 ล้าน ลบ.ม. จากนั้นในช่วงที่ 2 ภายในกลางเดือนตุลาคม จะเก็บกักน้ำให้ได้ในเกณฑ์ 900–960 ล้าน ลบ.ม. และจนถึงขณะนี้ได้ลดการระบายน้ำจากเขื่อนป่าสักฯ เหลือเพียงวันละ 3 ล้าน ลบ.ม. คาดว่าเมื่อสิ้นสุดฤดูฝน จะสามารถเก็บกักน้ำได้ตามเป้าที่วางไว้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า