SHARE

คัดลอกแล้ว

นักกฎหมายเพื่อสิทธิผู้หญิงข้ามเพศยื่นหนังสือแพทยสภา แก้คำว่า “โรคหรือภาวะผิดปกติทางจิตเวช” และ “พฤติกรรมสับสนในเพศตนเอง” ในข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม เรื่องเกณฑ์การรักษาเพื่อแปลงเพศ พ.ศ. 2552 

วันที่ 28 ตุลาคม 2565 ชิษณ์ชาภา พานิช นักกฎหมายเพื่อสิทธิผู้หญิงข้ามเพศ เข้ายื่นหนังสือต่อแพทยสภาและฝ่ายจริยธรรมและกฎหมาย  แพทยสภา ร้องขอให้แพทยสภาแก้ไขเปลี่ยนแปลงถ้อยคำในข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมเรื่องเกณฑ์การรักษาเพื่อแปลงเพศ พ.ศ. 2552 ข้อ 4 วรรคแรก ที่บัญญัติว่า “การผ่าตัดแปลงเพศ คือการรักษาโรคหรือภาวะผิดปกติทางจิตเวช” และ ข้อ 6

ที่บัญญัติการรักษาแปลงเพศคือ “การรักษาที่มีพฤติกรรมสับสนในเพศตนเอง” โดยชี้ว่าไม่ถูกต้องตามหลักการแพทย์สากลขององค์การอนามัยโลก (WHO)

ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562 องค์การอนามัยโลก (WHO) ถอดถอนบุคคลข้ามเพศ (Transgender) ออกจากหมวดที่ว่าด้วยโรคหรือภาวะผิดปกติทางระบบพัฒนาการประสาทในบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ ฉบับที่ 11 หรือ ICD-11 โดยย้ายมาอยู่ในหมวดที่ว่าด้วยภาวะที่สัมพันธ์กับสุขภาพทางเพศแทน และให้นิยามใหม่ว่า ภาวะข้ามเพศเป็น ความไม่สอดคล้องของเพศภาวะ (Gender Incongruence)ซึ่งเป็นเรื่องปกติและมิใช่โรคหรือความผิดปกติทางจิตเวชแต่เป็นเรื่องที่ต้องดูแลในฐานะเป็นสุขภาพทางเพศเท่านั้น โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นมา 

อย่างไรก็ดี ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม เรื่องเกณฑ์การรักษาเพื่อแปลงเพศ พ.ศ. 2552 ยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนตามนิยามใหม่นี้ ซึ่งชิษณ์ชาภา ชี้ว่าการไม่เร่งเปลี่ยนแปลงทำให้ข้อบังคับดังกล่าว “เป็นบทบัญญัติที่มีอคติทางเพศ และเป็นการตีตราบาป (Stigmatization) ลดทอนสถานะทางสังคมของบุคคลข้ามเพศอันนำไปสู่ความยากลำบากในการดำเนินชีวิตทั้งในสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษาทุกองค์กร สถานที่ทำงานต่าง ๆ ตลอดจนการประกอบวิชาชีพที่กำหนดคุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอใบประกอบวิชาชีพว่าต้องไม่เป็นบุคคลโรคจิตหรือวิกลจริต เช่น การขึ้นทะเบียนเป็นทนายความ กฎของสำนักงาน ก.พ. ที่ห้ามคนโรคจิตหรือโรคผิดปกติทางอารมณ์เข้ารับราชการพลเรือน เป็นต้น นอกจากนั้น บทบัญญัติดังกล่าวยังเป็นการสนับสนุนให้คนในสังคมมีความรู้สึกเกลียดชังบุคคลข้ามเพศรวมตลอดถึงชุมชนผู้มีความหลากหลายทางเพศ (Homophobia, Biphobia and Transphobia) เนื่องจากเห็นว่ากลุ่มบุคคลดังกล่าวเป็นโรคจิตวิปริตผิดเพศและนำไปสู่ความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ (Gender-Based Violence)” เธอยังชี้ว่าข้อบังคับน้ยังอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญอีกด้วย 

“ดิฉันในฐานะนักกฎหมายเพื่อสิทธิผู้หญิงข้ามเพศ (Lawyer for Trans Women’s Rights) ซึ่งเป็นผู้หญิงข้ามเพศที่มีส่วนได้เสียและได้รับความเสียหายจากบทบัญญัติดังกล่าวเช่นกัน จึงขอให้ฝ่ายจริยธรรมและกฎหมายแห่งแพทยสภาได้ทบทวนแล พิจารณาแก้ไขถ้อยคำแห่งบทบัญญัติดังกล่าวให้ถูกต้องเหมาะสมและไม่เป็นการละเมิดศักดิ์ความเป็นมนุษย์” ชิษณ์ชาภาทิ้งท้าย 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า