SHARE

คัดลอกแล้ว

หลังศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินว่า ร่างกฎหมายลูกที่จำเป็นต่อการเลือกตั้ง ไม่ขัดหรือแย้ง “รัฐธรรมนูญ” มีความเห็นจากนักวิชาการ ด้านรัฐศาสตร์ ที่มองโรดแมปการเลือกตั้งของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จากนี้ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด

รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย รองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ร่างกฎหมายลูก ส.ส. (ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ….) ออกมาแล้วว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญ มองว่า การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นได้ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ปี 2562 ซึ่งยังเป็นไปตามโรดแมปที่คสช.กำหนดไว้

โดยขั้นตอนจากนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือสนช. จะมีเวลา 25 วันในการส่งร่างกฎหมายลูก ส.ส.และ ส.ว. (ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ….) ให้รัฐบาล จากนั้น นายกรัฐมนตรี จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ โดยมีระยะเวลาประกาศใช้กฎหมายภายใน 90 วัน รวมกับเวลาที่กฎหมายลูก ส.ส. กำหนดไว้ว่า จะมีผลบังคับใช้หลังประกาศใช้ 90 วัน จึงจะสามารถจัดการเลือกตั้งได้ ภายใน 150 วัน ดังนั้นโรดแมปของคสช.ที่กำหนดไว้ในเดือนกุมภาพันธ์ ก็ยังมีความเป็นได้

ส่วนปัจจัยที่จะส่งผลให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปตามโรดแมป เช่น เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ชุดใหม่ 7 คนที่ยังไม่แล้วเสร็จ รวมถึงกรณีที่คสช. ยังไม่ปลดล็อกให้พรรคการเมืองเพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ อาจทำให้พรรคการเมืองท้วงติงเรื่องระยะเวลาจัดการเลือกตั้งได้ แต่ก็มองว่าไม่น่า จะส่งผลอะไรมากนัก นอกจากนี้การชุมนุมของภาคประชาชน หากขยายวงกว้างอาจส่งผลต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง แต่คสช.มีอำนาจในการดูแลความสงบเรียบร้อยเต็มที่ “หากโรดแมปเลื่อนจะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางการเมือง รวมทั้งความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ” รศ.ดร.ยุทธพร ระบุ

(ภาพจาก Thai PBS)

ขณะที่ รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า ขณะนี้ดูเหมือน คสช.มีเป้าหมายที่จะจัดการเลือกตั้ง ภายในกรอบโรดแมป คือ เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2562 เนื่องจาก คสช.รับรู้ได้ถึงแรงกดดันที่มาจากหลานฝ่าย ซึ่งสะท้อนผ่านผลโพลล์, การชุมนุม และคำสัญญาที่เคยให้ไว้กับต่างประเทศ ดูได้จากสัญญาณของคสช.ว่ามีการเตรียมพร้อมต่างๆ เพื่อรองรับการจัดการเลือกตั้ง เช่น การตั้งพรรคการเมือง การใช้งบประมาณต่างๆ ในโครงการไทยนิยม ยั่งยืน

นอกจากนี้ รศ.ดร.สิริพรรณ ยังตั้งข้อสังเกตว่า อาจมีปัจจัยที่ทำให้การกำหนดวันเลือกตั้งล่าช้าออกไป เพราะการจัดการภายในพรรคการเมืองแต่ละพรรค เช่น การเลือกตั้งขั้นต้น ที่แต่ละพรรคต้องวางตัวผู้ลงสมัคร ส.ส.เขต 350 เขต และส.ส.บัญชีรายชื่อ จะสามารถทำได้ทันก่อนวันเลือกตั้งได้หรือไม่

 

ขอบคุณภาพ FBยุทธพร อิสรชัย / Siripan Nogsuan Sawasdee

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดไทม์ไลน์เลือกตั้งปี 62 หลังกม.4 ฉบับเสร็จ ! “ประวิตร” มั่นใจไม่เลื่อนถึงเม.ย.

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า