ประเด็นคือ – อัลไซเมอร์เป็นโรคที่มีผู้ป่วยหลายสิบล้านคนทั่วโลก แต่กลับยังไม่มีการระบุวิธีการวินิจฉัยได้แน่ชัด ทำให้นักวิจัยต้องเปลี่ยนวิธีการรักษาใหม่ เป็นการระบุโรคจากดัชนีทางชีวภาพ แทนอาการขี้หลงขี้ลืม
แม้จะลงทุนให้กับการวิจัยไปแล้วนับหมื่นดอลลาร์สหรัฐ และการทดลองจากการวิจัยระยะหลังก็เผยว่ายังประสบปัญหาเมื่อสมองของผู้ป่วยร้อยละ 30 ที่ใช้ยาทดลองไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ จากยา จากที่มีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ราว 44 ล้านคนทั่วโลก
นักวิจัยเริ่มลองศึกษาจากวิธีใหม่ ที่เรียกว่าดัชนีวัดทางชีวภาพ ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก โดยจะตรวจจับโรคได้ตั้งแต่แรกก่อนมีอาการปรากฏ ซึ่งบางครั้งอาจรู้ก่อนเริ่มมีอาการถึง 10 ปี โดยคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียของสหรัฐฯ ตีพิมพ์เผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารการแพทย์ โดยระบุว่าได้ตรวจสอบตัวอย่างสมองส่วนฮิปโปแคมปัส ซึ่งเป็นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ การเรียนรู้ และอารมณ์ ซึ่งได้มาจากผู้บริจาคอวัยวะทั้งชายและหญิงอายุระหว่าง 14-79 ปี รวมทั้งสิ้น 28 ราย ที่มีการเก็บตัวอย่างสมองภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังเสียชีวิตลง
โดยผลการตรวจนับจำนวนเซลล์ประสาทในระยะต่าง ๆ ในบริเวณส่วนที่สร้างเซลล์ประสาทใหม่ภายในฮิปโปแคมปัส พบว่าแม้ปริมาณเซลล์ต้นกำเนิดในสมองส่วนนี้จะลดลงไปตามวัยที่เพิ่มขึ้น แต่การก่อตัวของเส้นเลือดและจำนวนของเซลล์ประสาทเกิดใหม่ซึ่งยังเติบโตไม่เต็มที่นั้น กลับคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามอายุด้วย
หัวหน้าเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์จากสมาคมผู้ป่วยอัลไซเมอร์ นางมาเรีย คารร์ริลโล กล่าวว่า การรักษาแบบใหม่จำเป็นอย่างมากเพื่อพัฒนากระบวนการรักษาและเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ ซึ่งความบกพร่องของการรับรู้เป็นอาการหรือสัญญาณของโรค มากกว่าจะเป็นอาการขี้หลงขี้ลืม