SHARE

คัดลอกแล้ว

(1 มี.ค.2560 รัฐบาลเปิดตัวแคมเปญ “ขจัดหนี้นอกระบบเป็นศูนย์” โดยกระทรวงการคลัง)

ประเด็นคือ – นายกรัฐมนตรี สะสางปัญหาหนี้นอกระบบได้ตามเป้าหมาย ไกล่เกลี่ยเจ้าหนี้ได้ 3 จังหวัด ได้กว่า 4,000 ราย เร่งกระทรวงการคลัง ทำความเข้าใจประชาชนที่เป็นหนี้ ไม่ใช่ปลดหนี้ฟรี แต่เข้ากระบวนการไกล่เกลี่ย แก้ปัญหาหนี้สินอย่างยั่งยืน

วันนี้ (17 ธ.ค.60) สำนักโฆษก ทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าคสช. พอใจการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบที่มีความคืบหน้า โดยหลังจากที่รัฐบาลเปิดให้ผู้มีรายได้น้อยลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี 60 แล้ว ได้ประมวลรายชื่อผู้ที่มีหนี้นอกระบบส่งให้ ธนาคารออมสิน และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ติดต่อลูกหนี้แต่ละรายมาเข้าสู่กลไกการแก้ปัญหา โดยล่าสุดได้นำร่องมอบเงินสินเชื่อรายย่อยให้แก่คนกลุ่มนี้ หลังจากที่ได้ไกล่เกลี่ยประนอมหนี้กับเจ้าหนี้แล้วใน 3 จังหวัด คือ นครราชสีมา สุพรรณบุรี และสงขลา รวม 4,324 ราย เป็นเงิน 193.33 ล้านบาท

นอกจากนี้ทั้ง 2 ธนาคารยังได้ยังได้อนุมัติสินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉินแก่ประชาชน เพื่อป้องกันปัญหาหนี้นอกระบบ วงเงินรายละ 50,000 บาท ณ สิ้นเดือน พ.ย.60 รวม 180,898 ราย เป็นเงิน 1,831.01 ล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 81.31 ของวงเงินโครงการที่ได้รับอนุมัติจาก ครม. เมื่อวันที่ 21 ก.พ.60 จำนวน 10,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นสินเชื่อที่อนุมัติแก่ประชาชนทั่วไป 169,356 ราย เป็นเงิน 7,620.38 ล้านบาท และผู้มีรายได้น้อยในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 60 จำนวน 11,542 ราย เป็นเงิน 510.63 ล้านบาท

นายกรัฐมนตรี ยังกำชับให้กระทรวงการคลัง เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างต่อเนื่อง โดยทำความเข้าใจกับประชาชนว่า โครงการดังกล่าวไม่ใช่การปลดหนี้ฟรี แต่ต้องเข้าสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน เช่น การรับคำปรึกษา การไกล่เกลี่ยประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ การช่วยเหลือด้านสินเชื่อ และการฟื้นฟูศักยภาพและการหารายได้ เพราะที่ผ่านมาหลายคน ต้องการขอสินเชื่อเพียงอย่างเดียว และที่สำคัญลูกหนี้จะต้องมีคุณสมบัติและความสามารถในการชำระหนี้ต่อไปด้วย

รัฐบาลได้ประกาศวาระสำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างจริงจัง โดยบูรณาการความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ใน 5 มิติ คือ

  1. ดำเนินการอย่างจริงจังกับเจ้าหนี้นอกระบบ
  2. เพิ่มช่องทางเข้าถึงสินเชื่อในระบบ เช่น พิโกไฟแนนซ์  (ดึงเจ้าหนี้นอกระบบ มาสู่การปล่อยกู้เงินในระบบ ดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 36 ต่อปี)
  3. ลดภาระหนี้โดยไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ ผ่านอนุกรรมการไกล่เกลี่ยฯ 77 จังหวัด
  4. เพิ่มศักยภาพของลูกหนี้ ผ่านอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการหารายได้ฯ 77 จังหวัด
  5. สร้างเครือข่ายองค์การการเงินชุมชน ให้ความรู้และทักษะทางการเงิน

 

ขอบคุณภาพ การเงินการธนาคาร

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า