SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “คนไทยคิดอย่างไร กับโครงการสร้างบ้านพักตุลาการศาลบริเวณดอยสุเทพ” 

วันที่ 30 เม.ย. 61 ผู้สื่อข่าวรายงานวว่า ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “คนไทยคิดอย่างไร กับโครงการสร้างบ้านพักตุลาการศาลบริเวณดอยสุเทพ” 

ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 21 – 23 เม.ย. 61 จากประชาชน ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับโครงการสร้างบ้านพักตุลาการศาลบริเวณดอยสุเทพ ซึ่งเผยเเพร่ผลสำรวจเมื่อวันที่ 25 เม.ย. ที่ผ่านมา

การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified  Random  Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0

จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงความเหมาะสมในการสร้างบ้านพักตุลาการศาลบริเวณดอยสุเทพ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 85.20 ระบุว่า ไม่เหมาะสม เพราะเป็นการทำลายป่าไม้ ทำลายธรรมชาติและระบบนิเวศ สิ้นเปลืองงบประมาณ ควรนำงบประมาณไปใช้ทำอย่างอื่นที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับคนในพื้นที่ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวไม่ควรมีสิ่งปลูกสร้าง

ขณะที่บางส่วนระบุว่า บ้านพักควรสร้างในเมืองน่าจะดีกว่า รองลงมาร้อยละ 14.56 ระบุว่า เหมาะสม เพราะเป็นพื้นที่ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่เป็นการบุกรุกหรือรุกล้ำพื้นที่ป่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคงจะพิจารณาตามความเหมาะสมมาอย่างดีแล้ว และเพื่อความสะดวกของเจ้าหน้าที่ที่มาปฏิบัติงาน และร้อยละ 0.24 ไม่ระบุ ไม่แน่ใจ

ด้านการรับทราบของประชาชนว่าตามกฎหมายแล้วสามารถสร้างบ้านพักบริเวณดอยสุเทพได้พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 81.12 ระบุว่า ไม่ทราบ รองลงมา ร้อยละ 18.56 ระบุว่า ทราบ และร้อยละ 0.32 ไม่ระบุ ไม่แน่ใจ

สำหรับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการรื้อถอนบ้านพักตุลาการศาลบริเวณดอยสุเทพ ออกทั้งหมด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 53.84 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะจะได้คืนผืนป่าให้กลับมาอุดมสมบูรณ์เหมือนเดิม และจะเป็นการช่วยอนุรักษ์ผืนป่าเอาไว้

รองลงมา ร้อยละ 43.68 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณในการรื้อถอน และเสียดายงบประมาณที่ใช้ไป ขณะที่บางส่วนระบุว่า ยังสามารถใช้ทำประโยชน์อย่างอื่นได้อีก และร้อยละ 2.48 ไม่ระบุ ไม่แน่ใจ

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงแนวทางในการแก้ปัญหาเรื่องการสร้างบ้านพักตุลาการศาลบริเวณดอยสุเทพ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 37.36 ระบุว่า ให้ยุติการก่อสร้าง รื้อถอนบ้านพักทั้งหมด และปลูกป่าทดแทนให้กลับเป็นตามเดิม

รองลงมา ร้อยละ 25.92 ระบุว่า ให้ดำเนินการก่อสร้างต่อไป ไม่ต้องรื้อถอน แต่ให้ประชาชนเข้าไปใช้ประโยชน์แทน

ร้อยละ 22.96 ระบุว่า ให้ยุติการก่อสร้าง และรื้อถอนบางส่วนที่กระทบกับสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 7.52 ระบุว่า ให้ดำเนินการก่อสร้างต่อไปและให้ตุลาการศาลเข้าไปใช้พื้นที่เหมือนเดิม เพราะถูกต้องตามกฎหมาย

ร้อยละ 2.80 ระบุว่า ให้ยุติการก่อสร้าง และทำความตกลง ไม่มีการเรียกร้องค่าเสียหาย ร้อยละ 1.20 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ให้ดำเนินการก่อสร้างต่อไป และปลูกต้นไม้ทดแทนไปด้วย ให้ภาคเอกชนเข้ามาบริหารจัดการทำเป็นรีสอร์ตเพื่อให้คนในพื้นที่ได้มีงานทำ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ให้ยุติการก่อสร้าง และเรียกร้องค่าเสียหาย และร้อยละ 2.24 ไม่ระบุ ไม่แน่ใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 9.76 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.84 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 17.84 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 32.64  มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.92 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้

ตัวอย่างร้อยละ 55.84 เป็นเพศชาย ร้อยละ 44.00 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.16 เป็นเพศทางเลือก

ตัวอย่างร้อยละ 7.84 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 19.36 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 22.08 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 31.36 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 17.84 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 1.52 ไม่ระบุอายุ

ตัวอย่างร้อยละ 91.68 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.52 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.68 นับถือศาสนาคริสต์ ฮินดู ซิกข์ ยิว ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 3.12 ไม่ระบุศาสนา

ตัวอย่างร้อยละ 25.20 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 68.08 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.52 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 3.20 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส

ตัวอย่างร้อยละ 23.12 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 29.28 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.12 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 31.04 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.68 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 3.76 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่างร้อยละ 11.12 ประกอบอาชีพข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 16.64 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 23.28 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ อาชีพอิสระ ร้อยละ 13.12 ประกอบอาชีพเกษตรกร ประมง ร้อยละ 14.80 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 14.48 เป็นพ่อบ้าน แม่บ้านเกษียณอายุ ว่างงาน ร้อยละ 2.72 เป็นนักเรียน นักศึกษา ร้อยละ 0.16 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 3.68 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่างร้อยละ 12.40 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 20.40 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 27.28 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 12.32 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 7.68 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 9.36 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 10.56 ไม่ระบุรายได้

ข้อมูลจาก nidapoll.nida.ac.th

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า