SHARE

คัดลอกแล้ว

นิด้าโพล เผยผลสำรวจประชาชนส่วนใหญ่จัดการป้องกันด้วยตัวเอง ในช่วงวิกฤตฝุ่นละออง PM 2.5 ใน กทม.-ปริมณฑล พร้อมหนุนให้เป็นวาระเร่งด่วนที่สุด

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,261 คน เกี่ยวกับการจัดการวิกฤตฝุ่นละอองในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการจัดการปัญหาจากวิกฤตฝุ่นละออง ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 75.42 ระบุว่า จัดการปัญหานี้ ขณะที่ร้อยละ 24.58 ระบุว่า ไม่ได้ทำอะไรต่างจากเดิม โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่าไม่ได้ทำอะไรต่างจากเดิม ร้อยละ 69.68 ระบุว่าเพราะไม่ได้รับผลกระทบจากฝุ่นละออง รองลงมา ร้อยละ 32.26 ระบุว่า ที่พักอาศัย/ที่ทำงานไม่มีปัญหาเรื่องฝุ่นละออง ร้อยละ 7.10 ระบุว่า ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานดี และร้อยละ 0.32 ระบุว่า มีปัญหาด้านการเงิน

สำหรับวิธีการจัดการปัญหาวิกฤตฝุ่นละออง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 87.28 ระบุว่า ป้องกันตัวเอง รองลงมา ร้อยละ 15.46 ระบุว่า หลีกเลี่ยงการเดินทางออกนอกบ้าน และร้อยละ 0.63 ระบุว่า เดินทางไปต่างจังหวัดที่ไม่มีฝุ่น ซึ่งในจำนวนของผู้ที่ระบุว่าจัดการปัญหาด้วยวิธีป้องกันตัวเอง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 91.93 ระบุว่า สวมหน้ากากอนามัย รองลงมา ร้อยละ 11.57 ระบุว่า ปิดประตู-หน้าต่างกันฝุ่น ร้อยละ 5.42 ระบุว่า งดออกกำลังกายกลางแจ้ง ร้อยละ 4.22 ระบุว่า ใช้พัดลม-เครื่องฟอกอากาศ ร้อยละ 3.61 ระบุว่า ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ และร้อยละ 1.93 ระบุว่า ปิดห้องแอร์ให้สนิท

ด้านค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ต้องจ่ายจากวิกฤตฝุ่นละออง ถ้ามีการจัดการปัญหาฝุ่นละออง พบว่า ประชาชน ร้อยละ 33.23 ระบุว่า ไม่มีค่าใช้จ่าย ร้อยละ 56.26 ระบุว่า ไม่เกิน 500 บาท ร้อยละ 5.78 ระบุว่า 501-1,000 บาท ร้อยละ 0.95 ระบุว่า 1,001-1,500 บาท ร้อยละ 1.05 ระบุว่า 1,501-2,000 บาท และร้อยละ 2.73 ระบุว่า 2,001 บาทขึ้นไป

เมื่อถามถึงการขจัดฝุ่นละออง ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ควรจัดเป็นวาระเร่งด่วนมากน้อยเพียงใด พบว่า ประชาชน ร้อยละ 64.15 ระบุว่า เร่งด่วนที่สุด ร้อยละ 31.88 ระบุว่า เร่งด่วน ร้อยละ 3.81 ระบุว่า ไม่เร่งด่วน และร้อยละ 0.16 ระบุว่า ไม่เร่งด่วนเลย

ส่วนมาตรการที่รัฐควรมีในช่วงที่มีปัญหาวิกฤตฝุ่นละออง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.12 ระบุว่า หยุดการก่อสร้างในพื้นที่วิกฤตฝุ่นละออง รองลงมา ร้อยละ 20.30 ระบุว่า ห้ามรถทุกชนิดที่ใช้น้ำมันดีเซลวิ่งชั่วคราว ร้อยละ 11.82 ระบุว่า ให้โรงงานอุตสาหกรรมหยุดทำงานชั่วคราว ร้อยละ 7.61 ระบุว่า ให้ทำฝนเทียม ร้อยละ 7.14 ระบุว่า มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังในการตรวจจับรถที่ปล่อยควันดำ และกับผู้ที่เผาป่า เผานา หรือเผาปรับที่เพื่อก่อสร้าง ร้อยละ 6.18 ระบุอื่นๆ

ได้แก่ ให้รัฐแจกหน้ากากอนามัยแก่ประชาชนและให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันฝุ่นละออง ให้มีการฉีดน้ำเพื่อช่วยลดฝุ่นละออง ขณะที่บางส่วนระบุว่า ให้รัฐเข้มงวดในการตรวจสอบการปล่อยควันดำของโรงงานอุตสาหกรรม ร้อยละ 1.67 ระบุว่า ไม่แน่ใจ และร้อยละ 0.16 ไม่ระบุ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการมีส่วนช่วยลดปัญหาฝุ่นละออง ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 70.98 ระบุว่า มีส่วนช่วยลดปัญหาฝุ่นละออง ขณะที่ร้อยละ 29.02 ระบุว่า ไม่มีส่วนช่วยลดปัญหาฝุ่นละออง โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า มีส่วนช่วยลดปัญหาฝุ่นละอองพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 31.37 ระบุว่า ฉีดน้ำล้างฝุ่นละอองหน้าบ้านตนเอง รองลงมา ร้อยละ 30.05 ระบุว่า หยุดเผาขยะใบไม้ เศษวัสดุ ร้อยละ 23.32 ระบุว่า นั่งรถประจำทางไปทำงานแทนการขับรถส่วนตัว

ร้อยละ 8.53 ระบุว่า หยุดการจุดธูป ประทัด ร้อยละ 3.13 ระบุว่า ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งเวลาจอดรถรอสัญญาณไฟ ร้อยละ 1.80 ระบุว่า หยุดต่อเติมขยายบ้าน และระบุอื่นๆ ได้แก่ ปลูกต้นไม้ ขณะที่บางส่วนระบุว่า อยู่บ้านเพื่อลดการใช้รถ

ส่วนผู้ที่ระบุว่า ไม่มีส่วนช่วยลดปัญหาฝุ่นละอองได้ให้เหตุผลว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 44.47 ระบุว่า ไม่ได้รับผลกระทบจากฝุ่นละออง รองลงมา ร้อยละ 33.16 ระบุว่า ที่พักอาศัย/ที่ทำงานไม่มีปัญหาเรื่องฝุ่นละออง ร้อยละ 11.31 ระบุว่า จำเป็นต้องเดินทาง ร้อยละ 5.66 ระบุว่า ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานดี และร้อยละ 5.40 ไม่ระบุเหตุผล (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ นิด้าโพล)

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า