SHARE

คัดลอกแล้ว

“ทิวา” บก.นิตยสารเพลงชื่อดัง เศร้า ! เพลง “ประเทศกูมี” รื้อฟื้นเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 แนะเด็กยุคใหม่อาจไม่รู้ระบบเผด็จการที่แท้จริงเป็นอย่างไร ชี้ภาพในมิวสิกวิดีโอถือว่าขาดความเคารพกัน

วันที่ 27 ต.ค. 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า “ทิวา สาระจูฑะ” ผู้ก่อตั้งและบก.นิตยสารสีสัน เจ้าของรางวัลดัง “สีสัน อวอร์ด” ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Tiva Sarachudha เกี่ยวกับกรณีเพลง “ประเทศกูมี” หลังมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์หลากหลายความคิด โดยระบุุข้อความว่า “ว่าจะไม่เขียนถึง แต่คิดแล้วคิดอีก ควรจะแสดงความรู้สึกสักหน่อย เพราะผมก็คนประชาธิปไตยเหมือนกัน หวังว่าจะไม่มีใครผูกขาดความรักประชาธิปไตยเอาไว้

ผมได้ดูและฟังเพลงแร็ปที่วิพากษ์วิจารณ์ประเทศไทยเพลงนั้นแล้ว ตั้งแต่วันแรกที่โพสต์และแชร์กัน ตัวเพลงไม่ติดใจอะไร ถือว่าเป็นเรื่องของความคิดคน อึดอัดก็ระบายออกมาเท่านั้น และในแง่การใช้คำก็พอมีฝีมือกันอยู่บ้าง แต่ด่าประเทศตัวเองหยาบๆคายๆนั่นก็เกินไป เกิดที่ไหนไม่มีหัวคิดเลยหรือ อย่าไปเอาอย่างผู้ใหญ่สิ้นคิดบางคนเลย

แต่ที่ทำให้เซ็งและเศร้าใจนิดหน่อยเมื่อเห็นมิวสิควิดีโอ ไม่ได้เศร้าที่เห็นหน้าตาคนร้อง แต่เศร้าที่ไปรื้อฟื้นนำเอาภาพเหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม 2519 มาทำใหม่

นักแร็ปทั้งหลายในคลิปวิดีโอนี้คงเกิดไม่ทันเหตุการณ์ตอนนั้น ถึงบางคนเกิดทัน แต่กะเจี๊ยวก็คงยังไม่พัฒนาเป็นไอ้จู๋ และคงไม่รู้ว่า เผด็จการยุคโน้นเป็นอย่างไร

เพราะยุคนี้ใครจะทำปฏิวัติรัฐประหารต้องระมัดระวังพอสมควร รู้ว่าถ้ามีกรอบหรือกดกันมากเกินไป สุดท้ายก็จะถูกขับไล่โดยประชาชน และในสมัยที่โลกเปิดกว้าง ความสัมพันธ์ทั้งการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศมีความสำคัญอย่างมาก ผู้ทำปฏิวัติจะขยับอะไรก็ต้องคิดแล้วคิดอีก

คนรุ่น 14 ตุลาคม 2516 ต่อเนื่องถึง 6 ตุลาคม 2519 ต้องเสียชีวิตเลือดเนื้อและพิกลพิการไปไม่รู้เท่าไหร่ในการต่อสู้เพื่อให้ได้สิทธิเสรีภาพ แม้จะชะงักไปบ้างในช่วงปี 2535 และ 2549 แต่ก็ไม่ได้เป็นเวลายาวนานนัก เพราะประตูได้ถูกเปิดออกแล้ว

เผด็จการยุคโน้นไม่ได้ละมุนละไมเหมือนยุคนี้ที่ปล่อยให้ด่ากันโครมๆ ภาษาวัยรุ่นก็คือ “มึงอย่ามาแอ๊ะ” พูดง่ายๆว่า ผู้ที่อ้างว่าเรียกร้องประชาธิปไตยสมัยนี้ ยังแทบไม่ได้ต่อสู้กับอะไรจริงๆเลย

การแต่งเพลงหรือเขียนวิพากษ์วิจารณ์อะไรสามารถทำได้ ไม่ว่าจะมาจากแนวคิดแบบไหน เพียงแต่ต้องระวังว่าจะไปละเมิดสิทธิของคนอื่นหรือเปล่าเท่านั้น เพราะนั่นเป็นเรื่องทางกฎหมาย

แต่การนำภาพจำลองโศกนาฏกรรมที่เป็นความขมขื่นปวดร้าวจากอดีตมาใช้ประโยชน์ ผมถือว่าขาดความเคารพกัน

ผมไม่อยากมองในแง่ลบว่า มีใครอยู่เบื้องหลังกิจกรรมครั้งนี้หรือเปล่า แต่ก็ได้ผลในการสร้างปฏิกิริยา ซึ่งคงสร้างความพะอืดพะอมต่อผู้มีอำนาจพอสมควร

แต่ปฏิกิริยาจากผม ในฐานะเป็นหนึ่งในคนยุค 14 ตุลาฯ และ 6 ตุลาฯ ถือว่าวิดีโอที่เอาภาพเหตุการณ์เก่ามารื้อฟื้นเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองใดๆในยุคปัจจุบัน เป็นความน่ารังเกียจ และออกจะต่ำทราม

และถ้าใครที่เป็นเพื่อนในเฟซบุ๊กผม เห็นดีเห็นงามกับคลิปวิดีโอนี้และไม่พอใจสิ่งที่ผมเขียนแสดงความรู้สึก ก็เชิญ unfriend ผมได้เลย ยิ่งเร็ว ยิ่งดี”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า