SHARE

คัดลอกแล้ว

จ.นครพนม 2 อำเภอ ยังวิกฤติ น้ำท่วมนานนับเดือน กว่า 500 ครัวเรือน ประชาชนเดือดร้อนหนัก เริ่มขาดแคลนน้ำดื่ม จนท.เร่งนำรถโมบายผลิตน้ำประปา น้ำดื่ม เข้าช่วยเหลือ

วันที่ 6 ก.ย. 61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ จ.นครพนม ถึงแม้ระดับน้ำโขงจะเริ่มลดลงประมาณ 5-10 เซนติเมตร ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 12.55 เมตร ห่างจากจุดวิกฤติล้นตลิ่ง 45 เซนติเมตร แต่ยังมีมวลน้ำที่ไหลมาสมทบอีกจำนวนมาก จากทางภาคเหนือ รวมถึงลำน้ำสาขาสายหลัก มีลำน้ำอูน ลำน้ำสงคราม ที่ยังมีระดับสูงกว่า 14.80 เมตร ซึ่งถือว่าเกินจุดล้นตลิ่งกว่า 1.50 เมตร ทำให้ระดับน้ำโขงยังมีปัญหาเอ่อล้นตลิ่งท่วมบ้านเรือน และพื้นที่การเกษตร ในพื้นที่เสี่ยงติดกับแม่น้ำโขง โดยเฉพาะพื้นที่ 2 อำเภอ ได้รับผลกระทบหนัก จากพื้นที่ประกาศประสบภัยพิบัติทั้งจังหวัด 12 อำเภอ คือ อ.บ้านแพง จ.นครพนม ชาวบ้านยังคงได้รับความเดือดร้อน จากปัญหาน้ำโขงเอ่อล้น ท่วมบ้านเรือน จำนวนกว่า 100 หลังคาเรือน มานานนับเดือน ซึ่งพื้นที่ อ.บ้านแพง มีพื้นที่ได้รับผลกระทบภาพรวม 6 ตำบล 66 หมู่บ้าน มีพื้นที่การเกษตร ได้รับความเสียหายไม่ต่ำกว่า 8,000 ไร่

นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ อ.ศรีสงคราม ที่อยู่ติดกับลำน้ำอูน ไหลมาสมทบลำน้ำสงคราม ก่อนไหลลงสู่แม่น้ำโขง ที่ได้รับผลกระทบหนักในพื้นที่ ต.ท่าบ่อสงคราม อ.ศรีสงคราม มีบ้านเรือนได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วมขัง ระดับสูงกว่า 1 เมตร ทำให้ชาวบ้านกว่า 400 หลังคาเรือน ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ต้องอาศัยเรือสัญจรไปมาในหมู่บ้าน ไม่สามารถทำอาชีพเกษตรได้

เบื้องต้น มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ รวม 9 ตำบล 103 หมู่บ้าน มีพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายไม่ต่ำกว่า 60,000 ไร่ นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องอาหารสัตว์เลี้ยง กระบือ เริ่มขาดแคลน เพราะเป็นพื้นที่เลี้ยงกระบือ มากกว่า 1,500 ตัว ต้องต้อนไปเลี้ยงในที่สูง ทำให้เริ่มขาดแคลนอาหารหญ้าแห้ง ที่สำคัญชาวบ้านเริ่มประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร และน้ำดื่ม ต้องอาศัยหน่วยงานภาครัฐเอกชน เข้ามาดูแลช่วยเหลือ เพราะไม่มีรายได้

ขณะเดียวกัน ทางด้าน พ.ต.กิตติพงศ์ กาญจนาคม ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาภาค 2 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย ได้มอบหมายให้ พ.อ.เชาวลิต พบจันอัด ผู้บังคับหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 22 อ.นาแก จ.นครพนม สำนักงานพัฒนาภาค 2 ระดมเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบให้การช่วยเหลือ แจกจ่ายถุงยังชีพ พร้อมนำรถโมบายผลิตน้ำประปา น้ำดื่มเคลื่อนที่ เข้าไปสนับสนุนผลิตน้ำดื่ม แจกจ่ายช่วยเหลือชาวบ้านที่ขาดแคลนน้ำ บรรเทาความเดือดร้อน และจะมีการลงพื้นที่ดูแลช่วยเหลือต่อเนื่อง ซึ่งมีกำลังผลิตน้ำดื่มวันละประมาณ 3,000 – 4,000 ลิตร เนื่องจากชาวบ้านเริ่มประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า