SHARE

คัดลอกแล้ว

ในสนามการหาเสียงเลือกตั้ง 24 มี.ค. 62 มีการระบุถึงการแบ่งขั้วทางการเมืองของ 3 พรรค ที่ได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล

พรรคใหม่ อย่างพรรคพลังประชารัฐ ประกาศตัวเป็นทางเลือกที่ 3 นำประเทศออกจากวิกฤติการเมืองนอกจาก 2 ขั้วขัดแย้งเดิม

ฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ ก็ยืนยันเป็นขั้วที่ 3 สำหรับคนที่ไม่อยากได้ทั้งเผด็จการและคนขี้โกง

ส่วนพรรคเพื่อไทย ขีดเส้นแค่ 2 ขั้ว โดยนิยาม เป็นฝ่ายประชาธิปไตยกับเผด็จการ

อย่างไรก็ตาม การเมืองระบบรัฐสภาเมื่อถึงปลายทาง จะมีฝ่ายที่จับมือกันตั้งรัฐบาลสำเร็จ และอีกฝ่ายจะต้องทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน เหลือแค่ 2 ขั้วอยู่ดี

แต่ด้วยกฎกติกาใน บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 2560 นอกเหนือจาก ส.ส. 500 คน (จากระบบแบ่งเขต 350 คน และบัญชีรายชื่อ 150 คน) ยังกำหนดให้มีวุฒิสภา (ส.ว.) ที่มาจากกระบวนการสรรหาในขั้นตอนสุดท้ายโดย คสช. อีก 250 คน ร่วมลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีด้วย

คะแนนเสียงของการจะจับขั้วเป็นรัฐบาล จึงไม่ใช่แค่ 251 เสียง (ครึ่งหนึ่งของ ส.ส. 500 คน) แต่ขยับเป็น 376 เสียง (ครึ่งหนึ่งของ 2 สภารวมกัน ส.ส.500+ ส.ว.250 = 750 คน)

ดังนั้น หากพรรคการเมืองใดที่ ได้เสียงสนับสนุนจาก ส.ว. ทั้ง 250 เสียง จึงต้องการเสียง ส.ส. อีกแค่ 126 เสียง ก็จะตั้งรัฐบาลได้ เช่น กรณีพรรคพลังประชารัฐ ที่มีข่าวจะทาบทาม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. มาอยู่ในบัญชีรายชื่อนายกฯ ของพรรค
หาก พรรคพลังประชารัฐ ได้รับเลือกพรรคเดียวเกิน 126 เสียง ก็สามารถจับมือ ส.ว. (ที่ คสช.เป็นคนเลือก) ตั้งรัฐบาลได้เลย โดยจะมีอำนาจต่อรองสูงในการดึงพรรคอื่นมาร่วมรัฐบาล (ซึ่งต้องพยายามดึงเข้าร่วมให้เสียงเฉพาะ ส.ส. มากกว่า 250 เสียง เพื่อความราบรื่นในการบริหารงานของรัฐบาล)
แต่หากพลังประชารัฐ ได้เสียงต่ำกว่า 100 เสียงมาก การเจรจาต่อรองก็จะยากขึ้น

 

พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งเป้าหมายระดับสูงไว้ที่การได้ ส.ส. 140 ที่นั่ง ซึ่งจากการประเมินอาจจะได้เป็นพรรคอันดับที่ 2 ในการเลือกตั้งแต่การได้จำนวน ส.ส.มากเท่าไร จะยิ่งมีอำนาจต่อรอง
ฝ่ายประชาธิปัตย์ กรรมการนโยบายพรรค อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ระบุชัดเจนว่า จะไม่มีทางร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย แนวทางของประชาธิปัตย์ จึงอยู่ที่การร่วมงานกับ พรรคพลังประชารัฐ และพรรคอื่นๆ
แต่คำถามสำคัญ คือ ถ้าหากประชาธิปัตย์ ได้ ส.ส.มากกว่า พลังประชารัฐ จะเจรจาให้พลังประชารัฐ (และเสียง ส.ว.) มาสนับสนุน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ให้เป็นนายกฯ อีกสมัยได้อย่างไร

หรือ หากไม่ลงตัว ประชาธิปัตย์ที่ได้คะแนนมากกว่าจะยอมไปสนับสนุนพรรคพลังประชารัฐ ที่คาดว่า จะเสนอ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่  และจะอธิบายกับผู้ลงคะแนนให้ตนเองได้อย่างไรว่าทำไมไปสนับสนุน นายกฯ จากพรรคที่ได้เสียงน้อยกว่าตัวเอง

ภาพ ภานุมาศ สงวนวงษ์ / Thai News Pix

พรรคเพื่อไทย เดิมมีการปล่อยข่าวเสนอสูตรจับมือร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อโดดเดี่ยวพรรคพลังประชารัฐ แต่การส่งสัญญาณของนายอรรถวิชช์ ทำให้เพื่อไทย มีทางเลือกเดียว คือ จับมือกับพรรคที่ประกาศต้านการสืบทอดอำนาจร่วมกัน คือ ไทยรักษาชาติ,เพื่อชาติ,ประชาชาติ, อนาคตใหม่ และเสรีรวมไทย ให้ได้เสียง ส.ส. 376 เสียงจาก 500 เสียง เพื่อตั้งรัฐบาลให้ได้ โดยคำนึงถึงความเป็นจริงที่ว่า ส.ว.ที่ คสช.ตั้ง ไม่มีทางมายกมือสนับสนุนให้อีกขั้วการเมืองที่ประกาศต้าน คสช.อย่างชัดเจน

นักวิเคราะห์ประเมินกันว่า ขั้วฝั่งนี้จะรวมกันได้สูงสุดมากกว่า 200 เสียงแต่จะไม่ถึง 300 เสียง 

ความเป็นไปได้มากที่สุด จึงอยู่ที่การรวบรวมเสียง ส.ส.อย่างน้อยให้เกินครึ่งหนึ่ง คือ 250 เสียง ให้เป็นอุปสรรคของรัฐบาลใหม่ ที่หากพลังประชารัฐจะเป็นแกนนำและนายกรัฐมนตรีจะชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อีกสมัย เนื่องจากเมื่อมีการลงมติเรื่องใดๆ ในสภา จะใช้แต่เสียงเกินกึ่งหนึ่งของ ส.ส.500 คน คือ 251 คน ไม่รวมเสียง ส.ว. 250 คน ที่มาร่วมโหวตเลือกนายกฯ ในตอนแรกด้วย

แต่ทั้งนี้ ยังตั้งความหวังลึกๆ ว่าหากมีคนออกมาใช้สิทธิ์มากๆ และเทคะแนนไปที่พรรคฝั่งนี้ จะเกิดปรากฏการณ์แลนด์สไลด์ทางการเมืองขึ้นมา

ส่วนพรรคขนาดกลางลงไป เช่น ภูมิใจไทย, ชาติไทยพัฒนา, ชาติพัฒนา เป็นกลุ่มที่ประเมินกันว่า รอร่วมรัฐบาลไม่ว่าขั้วไหนจะจับมือสำเร็จ กลุ่มนี้จึงจะมีแนวทางหาเสียงแบบกลางๆ หลีกเลี่ยงความขัดแย้งกับทุกฝ่าย ชนิดที่เมื่อมีข่าวออกไปในทำนองโจมตีแกนนำขั้วหนึ่ง ยังต้องรีบออกมาแก้ข่าวว่าเป็นความเข้าใจผิด

บทสรุปแนวโน้มหลังการเลือกตั้งจะเหลือแค่ 2 ขั้ว

1. ขั้วเพื่อไทย ซึ่งจะต้องรวมเสียงเฉพาะ ส.ส.ให้ได้ 376 จาก 500 เสียง
2. ขั้วพลังประชารัฐ / ประชาธิปัตย์ ขึ้นอยู่กับว่าใครจะเป็นแกนนำ ซึ่งจะมีแต้มต่อจากเสียงของ ส.ว. 250 เสียง ในการร่วมโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี จึงต้องการเสียง ส.ส. เบื้องต้น 126 เสียง เพื่อตั้งรัฐบาล (และต่อรองเพิ่มให้รวมได้ 251 เสียงขึ้นไป เพื่อให้ทำงานได้อย่างราบรื่น)

ส่วนความเป็นจริงจะเป็นอย่างไร นับตั้งแต่ปิดหีบ 17.00 น. วันที่ 24 มี.ค.62 และเริ่มนับคะแนน ภาพจะปรากฏชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า