SHARE

คัดลอกแล้ว

จากกรณีการเสียชีวิตของพิธีกร “เซนติเมตร” กับอุบัติเหตุรถพุ่งชนที่จังหวัดเชียงใหม่ เกิดการถกเถียงมากมายว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด ซึ่งขณะนี้ก็ยังอยู่ในกระบวนการทางกฎหมายอยู่

แต่อีกจุดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้ใช้รถใช้ถนน คือเรื่องของการออกแบบและมาตรฐานของเส้นทาง ที่เอื้อต่อการขับขี่ของทุกคนหรือไม่

มาตรฐานในการออกแบบถนนของประเทศไทย มีอ้างอิงบางส่วน หรือส่วนใหญ่ มาจากต่างประเทศ เช่นจาก American Association of State Highway and Transportation Officials – AASHTO หรือ ระบบทางหลวงของสหรัฐฯ  และแน่นอนว่า ทางเลี้ยวเพื่อใช้ในการกลับรถนั้น คงจะมีรัศมีที่เหมาะสมกว่านี้ ถ้าจากมุมมองของผู้เขียนถามว่าที่เห็นอยู่นั้นดูถูกต้องตามมาตรฐาน และ ความปลอดภัยไหม  บอกได้เต็มปากเลยว่า “ไม่รู้สึกเช่นนั้น”

ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่จะทำให้ท้องถนนในประเทศปลอดภัยขึ้นคือการมี Road Safety Audit ซึ่งก็น่าตั้งคำถามว่ามีอยู่กี่คนในประเทศ และ ถนนกี่เส้นในประเทศที่มีการตรวจตราโดยผู้มีหน้าที่ดังกล่าวนี้

ตำแหน่งของจุดกลับรถ

การออดิทคือวิธีการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน ซึ่งนำมาใช้เพื่อลดจำนวนการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน และดำเนินการได้ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ 

ตำแหน่งของจุดยูเทิร์นรถนั้น อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมหรือไม่ ตามหลักเกณฑ์ของการออกแบบแล้ว ถ้าเป็นที่สหรัฐฯ จะมีระบุอยู่ว่า ทางแยก ทางเลี้ยว จะต้องอยู่ห่างกันเท่าไร และถนนเหล่านั้น ควรมีความเร็วจำกัดเท่าไร (Speed Limit) และการตัดถนนมาก่อนเมืองเสมอ

กลับกันในประเทศไทยเมืองถูกสร้างมาก่อนถนน ทำให้การออกแบบถนนที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์เป็นไปได้ยาก 

การระบุตำแหน่งของจุดกลับรถนั้น จึงมักเป็นไปตามบริบทของชุมชน พูดแบบให้เห็นภาพคือยึดตามหลักการใช้งาน เอาให้ง่ายเข้าว่า มากกว่าหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม

เมื่อที่กลับรถอยู่ไกลเกินไป ก็เกิดการย้อนศร กลับกันบางเส้นทางจุดกลับรถก็มีถี่ไปจนน่าหงุดหงิดและทำให้ความเร็วของรถที่ขับขี่ช้าลงไปด้วย ซึ่งก็เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงเช่นกัน นี่ก็คงจะเป็นอีกมุมมองที่ว่า ถ้านักออกแบบออกแบบมาถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่สนับสนุนความปลอดภัย แต่ผู้ใช้ถนนอาจจะสะดวกน้อยกว่า ซึ่งต้องดูว่าจะเกิดแรงต่อต้านหรือไม่

รัศมีทางโค้งเพื่อการกลับรถ

โดยปกติแล้วทางกลับรถหรือทางเลี้ยว ไม่ควรจะเป็นแบบตั้งฉาก รัศมีเพื่อการเลี้ยวให้ช่องเลนส์เลี้ยวเหลือที่ไว้ให้ช่วงรถที่ เลี้ยวแล้วตูดเด้ง หลบให้พ้น ขั้นต่ำควรอยู่ที่ 3-3.5 เมตร ถ้าเป็นตัวเลขกลมๆ ที่ใช้กัน

กรณีในข่าวนี้ต้องมาดูกันว่าที่มาที่ไปเป็นอย่างไร

เดิมทีถนนเลียบคลอง ไม่แน่ใจว่าเจ้าของเป็นท้องถิ่นหรือกรมชลฯ คลองต้องมีการใช้งานอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว การมีเส้นทางเล็กๆ คั่นกลางเพื่อให้ข้ามฝั่งคลองได้ และใช้เพื่อการบำรุงรักษาคลองเองก็เป็นเรื่องปกติ เวลาต่อมาด้วยความเจริญที่เข้ามา มีสัญจรของรถ จึงต้องมีถนนคั่นกลาง เพื่อตัดผ่าน  รวมทั้งเป็นการเชื่อมชุมชนทั้งสองฝั่ง ทำให้ถนนที่ใช้เป็นทางเลี้ยวในปัจจุบันนี้ มันอันตราย เพราะมันใช้เป็นเส้นทางตรง ข้ามไปอีกฝั่งเฉยๆ

เวลาผ่านมาผู้เป็นเจ้าของที่ดินซึ่งไม่ทราบแน่ใจว่าใครคงจะยกพื้นที่ส่วนนี้ให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาถนน ด้วยพื้นที่ที่มี (Geometry) และเขตคลอง ที่ห้ามสิ่งใดรุกล้ำ จึงทำให้ถนน เส้นนี้ไม่ได้ออกมาเป็นถนนที่ควรจะเป็น และยังถูกจัดเป็น ถนนเส้นทางหลวง ซึ่งมี Speed Limit ที่สูง รถขับเร็วได้ เพราะประเภทของถนนมันอำนวย ทั้งๆ ที่ถนนเส้นนี้ที่ผ่านเมืองควรมี Speed Limit ต่ำกว่า 60 หรือ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือยิ่งถ้าเป็นเมืองที่มีความหนาแน่นมาก ควรอยู่ที่ 30 ด้วยซ้ำ  ซึ่งต้องตรวจสอบกับ Speed limit manual อีกที ว่าในพื้นที่ดังกล่าว หากวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์แล้ว ความเร็วจำกัดที่เหมาะสมควรเป็นเท่าไร หรือ จะตรวจสอบกับมาตรฐานปัจจุบันที่ใช้กันอยู่ตามความเหมาะสมก็ได้ 

ผลคือทางตรงที่พาดฝั่งตรงข้าม ต้องมากลายเป็น ทางเลี้ยวไปด้วย ซึ่งถือว่าผิดหลักตั้งแต่แรก

ไม่มี Lane Pocket ที่ออกแบบไว้เพื่อรถรอเลี้ยว

เกิดคำถามว่าเส้นเขตปลอดภัยที่มีอยู่ อยู่ถูกที่แล้วหรือยัง ด้วยมุม 90 องศานั้น ถ้ารถห้ามเหยียบที่เขตปลอดภัย จะเหลือพื้นที่ให้เลี้ยวกี่เมตร แล้วถ้าจะมันเลี้ยวจริง ต้องทำความเร็วอยู่ที่เท่าไหร่ และชะลอตัวอยู่ตรงไหนเพื่อเลี้ยวได้อย่างปลอดภัย

ด้วยพื้นที่ทั้งหมดที่มี ถนนเลียบคลองนั้นควรมีทั้งหมดกี่เลนส์ ระยะปลอดภัย และเลนส์พักด้านข้างอีกฝั่งควรอยู่ตรงไหน และขนาดเท่าไรบ้าง

ยังไม่นับการออกแบบสำหรับคนเดินทางเท้า ว่าทางม้าลายที่วางอยู่ตรงนั้น มันปลอดภัยแล้วหรือไม่ ด้วยความเร็วของถนนทางหลวง กับ ตำแหน่งทางม้าลายความเหมาะสมอยู่ที่จุดใด

เดิมทีแล้ว ถ้าถนนถูกออกแบบ วางแผนการใช้งานมาถูกต้อง ตามมาตรฐานของความปลอดภัยทั้งหมดตั้งแต่แรก มันก็คงจะดี

แน่นอนจิตสำนึกในการขับรถเป็นสิ่งสำคัญเสมอ แต่ถ้าเรามีถนนที่ได้มาตรฐานบวกกับการบังคับใช้กฎหมายที่หนักแน่น คนที่เคารพกฎและมีพฤติกรรมการขับขี่ที่เหมาะสมควรจะเป็น ความปลอดภัยก็จะมีมากขึ้น

บทความโดย เกวลี จุติปัญญา Transportation and Traffic Engineer (วิศวกรคมนาคมและการจราจร)

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า