SHARE

คัดลอกแล้ว

บริษัทญี่ปุ่นมีแผนใช้ “โดรน” บินรอบออฟฟิศ กดดันไล่พนักงานหวังทำโอทีให้รีบกลับบ้าน พร้อมเปิดเพลง “Auld Lang Syne” ว่าถึงเวลาเลิกงานแล้ว แก้ปัญหาทำงานจนเสียชีวิตของมนุษย์เงินเดือนชาวญี่ปุ่น ขณะที่นักวิชาการบางคนกล่าวว่าควรแก้ที่ต้นตอของปัญหามากกว่า

ในเดือนเมษายนปีหน้า บริษัทญี่ปุ่น “ไทเซ” (Taisei) บริษัทรักษาความปลอดภัยและทำความสะอาด มีแผนเตรียมทดลองให้บริการ “ที-เฟรด” (T-Frend) หรือ การบริการใช้ “โดรน” ที่ติดกล้องขนาดเล็กและบินรอบออฟฟิศ พร้อมกับบรรเลงเพลง “โอลด์ แลง ไซน์ – Auld Lang Syne” (ทำนองเพลงสามัคคีชุมนุม) ซึ่งใช้เป็นสัญญาณเวลาเลิกงานและถึงเวลาปิดทำการในญี่ปุ่น เพื่อกดดันพนักงานที่หวังจะทำงานล่วงเวลาหรือโอที ให้รีบกลับบ้าน

โนริฮิโระ คาโตะ ผู้อำนวยการบริษัทไทเซ กล่าวว่า เมื่อโดรนบินมาพร้อมเสียงเพลง “โอลด์ แลง ไซน์” และเสียงบินของมัน จะไปรบกวนพนักงานจนไม่สามารถทำงานได้ และจะคิดว่าได้ทำงานล่วงเวลามานานแล้ว

กล้องเล็กๆ ที่ติดไปกับโดรนจะเก็บภาพในเอสดีการ์ด และสามารถดูแบบเรียลไทม์จากสถานที่ห่างไกลได้ แต่ยังคงไม่มีระบบนำทาง (GPS)

การบริการ “ที-เฟรด” นี้ เป็นความร่วมมือระหว่างบริษัท บลู อินโนเวชัน และ เอ็นทีที อีส พร้อมกับกำลังศึกษาความเป็นไปได้ให้โดรนมีเทคโนโลยีจดจำใบหน้า สามารถบอกกับพนักงานที่อยู่ในที่ทำงานหลังเวลาเลิกงาน หรือการตรวจสอบหากมีผู้บุกรุกเข้ามาในบริษัท หากแผนการใช้บริการนี้ในเดือนเมษายนปีหน้าประสบความสำเร็จ จะเตรียมนำออกวางจำหน่ายให้กับบริษัทอื่นๆ ใช้ คาดว่าจะมีค่าบริการต่อเดือนอยู่ที่ประมาณ 500,000 เยน หรือกว่า 143,440 บาท

ด้านสำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า เซจิโระ ทาเคชิตะ ศาสตราจารย์ด้านการจัดการและข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัยชิซูโอกะ กล่าวว่า การบริการโดรนนี้ อาจไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาพนักงานทำงานล่วงเวลามากเกินไป มันเป็นเรื่องที่ฝังลึกอยู่ในวัฒนธรรมการทำงาน จึงต้องแก้ปัญหาไปที่ต้นกำเนิดของปัญหาเสียดีกว่า

ขณะที่ สกอต นอร์ธ ศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยโอซากา กล่าวว่า หากโดรนสามารถรบกวนพนักงานจนพวกเขาออกจากออฟฟิศไปแล้ว แต่ก็ยังคงนำงานกลับไปทำที่บ้านอยู่ดีหากงานยังไม่เสร็จ

ศาสตราจารย์สกอตแนะนำว่า หากต้องการแก้ปัญหาการทำงานมากเกินไป จำเป็นต้องลดภาระงาน ลดบรรยากาศการแข่งขันการทำงาน หรือการจ้างพนักงานเพิ่ม

เป็นที่ทราบกันดีว่า “วัฒนธรรมของมนุษย์เงินเดือน” ของชาวญี่ปุ่นที่จะทุ่มเทและใช้เวลาทำงานาอย่างหนัก ทำให้ส่งผลต่อสุขภาพ ทุกๆ ปีจะมีพนักงานชาวญี่ปุ่นเสียชีวิตหลายสิบคน จากอาการหัวใจวายหรือการฆ่าตัวตาย จนมีชื่อเรียกโรคผู้ที่เสียชีวิตจากการทำงานเกินกว่า 80 ชั่วโมงตามที่รัฐบาลกำหนดว่า โรคคะโรชิ (เสียชีวิตจากการทำงานหนักเกินไป)

ตัวอย่างก่อนหน้านี้ เมื่อ มิวะ สะโดะ อายุ 31 ปี เป็นผู้สื่อข่าวสายการเมืองประจำเอ็นเอชเคสำนักงานใหญ่ กรุงโตเกียว เสียชีวิตด้วยหัวใจวายเนื่องจากทำงานล่วงเวลามากว่า 159 ชั่วโมงภายใน 1 เดือน และมีเวลาพักเพียง 2 วันเท่านั้น

และในกรณีคนงานชาวญี่ปุ่น วัย 23 ปี ที่ทำงานก่อสร้างสนามกีฬาโอลิมปิกโตเกียว 2020 ที่เสียชีวิตเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา กระทรวงแรงงานญี่ปุ่นได้ตัดสินแล้วว่าเป็นการฆ่าตัวตายจากอาการทางจิตเวช เป็นผลมาจากการที่เขาทำงานล่วงเวลากว่า 190 ชั่วโมงใน 1 เดือน ซึ่งถือว่าการเสียชีวิตจากการทำงาน โดยรัฐบาลญี่ปุ่นกำลังพยายามเปลี่ยนวัฒนธรรมนี้ให้หมดไปจากสังคม

 

แหล่งที่มา Japantimes, BBC, The Guardian, ANNnews, Impress Watch

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า