SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ- สนธิกำลังตรวจร้านทอง กลางเมืองสุราษฎร์ ตามการร้องเรียนเจ้าของเป็นต่างด้าวนำเงินออกนอกประเทศ ผลการตรวจสอบผู้ประกอบการเป็นคนไทย แต่จ้างแรงต่างด้าวทำงานในงานต้องห้าม จึงถูกเจ้าหน้าที่ดำเนินคดี 2 ข้อหา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวานนี้ (19 ม.ค. 60) พล.ต.ต.อภิชาติ บุญศรีโรจน์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี นำกำลังตำรวจสนธิกำลังทหารค่ายวิภาวดีรังสิต /ตม. นำหมายค้นจากศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าตรวจสอบร้าน 999 เลขที่ 293/35 -36 ตลาดเกษตร 1 ถ.ตลาดใหม่ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี หลังจากถูกร้องเรียนว่า ผู้ประกอบการเป็นชาวเมียนมา มีการจำหน่ายทองคำรูปพรรณและมีการขนเงินออกนอกประเทศ เข้าข่ายผิดกฎหมาย

จากการตรวจสอบพบว่า ร้านดังกล่าวเป็นอาคารพาณิชย์ 2 คูหา 2 ชั้น โดยคูหาแรกเปิดขายสินค้าทุกอย่าง ทั้งของกิน จำพวกเครื่องครัว หอม กระเทียมติดป้ายราคาเป็นภาษาเมียนมาร์/ ของใช้เบ็ดเตล็ด/ กระเป๋าเดินทาง, เป้ และคูหาที่ 2 ด้านหน้าร้านขายกระเป๋าเดินทาง และในร้านเปิดเป็นร้านทอง โดยมีลูกจ้างเป็นชาวเมียนมาร์ทั้งหมด

เมื่อตรวจสอบพบว่า ร้านจดทะเบียนในชื่อของ นายวิโรจน์ วิสิทธิ์ธัญญากุล อายุ 72 ปี ซึ่งเป็นคนไทยและรับเป็นเจ้าของให้การกับตำรวจว่า เป็นผู้จดทะเบียนเป็นเจ้าของกิจการ โดยมีภรรยาเป็นชาวเมียนมาร์ และมีลูกด้วยกัน ส่วนกิจการทั้งหมดลูกสาวเป็นผู้ดูแล และมีแรงงานต่างด้าวชาวเมียนมาร์ทั้งหมด 8 คน มีหนังสือเดินทางเข้าประเทศมาแสดงครบทุกคน ทางเจ้าหน้าที่จึงได้เชิญตัวทั้งหมดไปตรวจสอบหลักฐานเพิ่มเติมที่ สภ.เมืองสุราษฎร์ธานี ว่าเดินทางเข้ามาถูกต้องหรือไม่ และได้ขึ้นทะเบียนเข้ามาเพื่อประกอบอาชีพหรือไม่

สำหรับสินค้าที่วางขายนั้น ทางเจ้าหน้าที่ศุลกากรบ้านดอน จ.สุราษฎร์ธานี จะตรวจสอบอย่างละเอียดว่านำเข้าถูกต้องหรือไม่ เพราะมีสินค้านำเข้าจำนวนมากที่อยู่ในร้านและที่เก็บไว้ในโกดัง ห่างจากร้านประมาณ 50 เมตร

ด้าน พล.ต.ต.อภิชาติ บุญศรีโรจน์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า หลังจากที่มีการร้องเรียน ทาง พล.ต.ท.สรศักดิ์ เย็นเปรม ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 ได้สั่งการให้ตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี สนธิกำลังทหาร/ ตม./ จัดหางาน จ.สุราษฎร์ธานี/ ด่านศุลกากรเข้าตรวจสอบ โดยทางตำรวจขอหมายค้นจากศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าทำการตรวจสอบและมอบหมายให้ พ.ต.อ.วิชอบ เกิดเกลี้ยง รองผู้บังคับการฯ ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียน

ในเบื้องต้นพบว่า ผู้ประกอบการมีความผิด 2 ข้อหา คือ 1. รับคนต่างด้าวทำงานในงานต้องห้าม 2. รับคนงานผิดประเภทและรับคนงานไม่มีใบอนุญาต ส่วนการประกอบการนั้นได้มีการขออนุญาตประกอบกิจการถูกต้องตามกฎหมาย สำหรับแรงงานต่างด้าวจำนวน 8 คน สอบพบแรงงานต่างด้าวฝ่าฝืนทำงานต้องห้าม จำนวน 4 ราย และมีความผิด ทำงานผิดนายจ้าง 1 ราย ทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตจำนวน 2 ราย  ส่วนความผิดอื่นๆ ทางเจ้าหน้าที่กำลังเร่งตรวจสอบอย่างละเอียดเพื่อดำเนินการต่อไป

ทั้งนี้ กระทรวงแรงงาน ได้สรุปการประชุมหารือทั้งภาครัฐและเอกชน เมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2560 ในวาระ “การจัดทำกฎหมายลำดับรองเกี่ยวกับการกำหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ”อาชีพที่ยังจำเป็นจะต้องสงวนเอาไว้ให้คนไทยทำเท่านั้นคือ 1.งานแกะสลักไม้ 2.งานขับขี่ยานยนต์หรืองานขับขี่ยานพาหนะที่ไม่ใช่เครื่องจักรหรือเครื่องกล ยกเว้นงานขับขี่เครื่องบินระหว่างประเทศ 3.งานขายทอดตลาด 4.งานควบคุมตรวจสอบหรือให้บริการทางบัญชี 5.งานตัดผมงานดัดผมหรืองานเสริมสวย แต่ยกเว้นให้แรงงานต่างด้าวสามารถเข้ามาเป็นลูกจ้างในร้านได้ 6.งานทอผ้าด้วยมือ 7. งานทอเสื่อหรืองานทำเครื่องไม้ด้วยกก หวาย ปอ ฟาง หรือเยื่อไม้ไผ่ 8.งานทำกระดาษสาด้วยมือ 9.งานทำเครื่องเขิน 10. งานทำเครื่องดนตรีไทย 11. งานทำเครื่องถม 12. งานทำเครื่องทอง เครื่องเงิน หรือเครื่องนาก 13. งานทำเครื่องลงหิน 14. งานทำตุ๊กตาไทย 15. งานทำบาตร 16. งานทำผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมด้วยมือ 17. งานทำพระพุทธรูป 18.งานทำร่มกระดาษหรือผ้า 19.งานนายหน้าหรืองานตัวแทนยกเว้นงานหน้าหรืองานตัวแทนในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ 20.งานในวิชาชีพวิศวกรรม สาขาวิศวกรรมโยธาที่เกี่ยวกับงานออกแบบและคำนวณจัดระบบวิจัยวางโครงการทดสอบควบคุมการก่อสร้างหรือให้คำแนะนำทั้งนี้ไม่รวมงานที่ต้องใช้ความชำนาญพิเศษ 21.งานในวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับงานออกแบบเขียนแบบประมาณราคาอำนวยการก่อสร้างหรือให้คำแนะนำ  22.งานมวนบุหรี่ด้วยมือ 23.งานมัคคุเทศก์หรืองานจัดนำเที่ยว 24.งานแรกขายสินค้า 25.งานเรียงตัวพิมพ์อักษรไทยด้วยมือ 26.งานสาวหรือบิดเกลียวไหมด้วยมือและ 27.งานให้บริการทางกฎหมาย หรืออรรถคดียกเว้นงานปฏิบัติหน้าที่อนุญาโตตุลาการ และงานว่าต่างแก้ต่างในชั้นอนุญาโตตุลาการ ในกรณีที่กฎหมายซึ่งบังคับใช้แก่ข้อพิพาทที่พิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการนั้นมิใช่กฎหมายไทยหรือเป็นกรณีที่ไม่ต้องขอบังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้นในราชอาณาจักรไทย และมี 2 อาชีพที่ยังไม่ชัดเจนคือ 1.งานทำมีด และ 2. งานเสมียนหรือเลขานุการ

สำหรับอาชีพที่มีการเสนอให้กำหนดให้เป็นอาชีพสงวนเพิ่มเติมสำหรับคนไทย 3 อาชีพ คือ 1.อาชีพพนักงานรักษาความปลอดภัย 2.อาชีพนวดแผนไทย โดยผู้แทนกรมสนับสนนุบริการสุขภาพระบุว่า เป็นเรื่องเอกลักษณ์ไทย วิถีชีวิตหากให้คนต่างด้าวมาทำจะทำให้อัตลักษณ์ และจริตของไทยที่อนุรักษ์ไว้เสียไป ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำต่อไป คือการประกาศขอบเขตว่าควรอยู่ตรงไหน และ 3. อาชีพเจ้าของกิจการ

ซึ่งตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 คนต่างด้าวจะทำงานในราชอาณาจักรไทยได้ ต้องได้รับอนุญาตให้ทำงานจากนายทะเบียน ต้องมีใบอนุญาตทำงาน และจะต้องทำงานตรงกับนายจ้าง ตรงตามสถานที่ที่ทำงาน ตรงตามประเภทงานที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน และไม่สามารถทำงานเร่ขายของ หากฝ่าฝืนจะได้รับโทษทั้งสองฝ่าย

โดยแรงงานต่างด้าวที่ทำงานผิดประเภทหรือลักษณะงานหรือสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท และนายจ้างมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนแรงงานต่างด้าวที่ทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000 – 100,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ และนายจ้างมีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน

ทั้งนี้กฎหมายควบคุมแรงงานต่างด้าว ห้ามแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว กัมพูชา ทำการค้าขายทุกประเภทหรือประกอบธุรกิจส่วนตัวอื่นๆ โดยเฉพาะการค้าขายตามตลาด/ตลาดนัด หรือเปิดเป็นร้านขายของชำ/รถเร่ขาย ฯลฯ หากฝ่าฝืนจะถูกจับ ปรับ ดำเนินคดีทันที

 

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า