SHARE

คัดลอกแล้ว

ผ่านพ้นพระราชพิธีที่สำคัญที่สุดของชาวไทยไปแล้ว เป็นเวลากว่าหนึ่งปีที่ประเทศของเราเศร้าและหยุดนิ่ง  แต่จากนี้ไปประเทศต้องเดินหน้า และที่สำคัญหากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ตามคำมั่นสัญญาที่นายกรัฐมนตรีได้ให้ไว้ เราจะมีการเลือกตั้งทั่วไปเกิดขึ้นในเดือน พ.ย. 2561 หรืออีกหนึ่งปีหลังจากนี้ 

 

แต่จากนี้ไปอีกหนึ่งปี ปฏิทินการเมืองมีอะไรต้องจับตา และการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นแน่หรือไม่ มีจุดอะไรที่ต้องระวังหรือพลิกผัน เราลองมาดูกัน 

 

ก่อนอื่นต้องย้อนหลังว่าเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2560 ที่ผ่านมา พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองได้ประกาศใช้ และมีขั้นตอนที่พรรคการเมืองต้องปฏิบัติตามเป็นจำนวนมาก และมีห้วงเวลากำกับไว้อย่างชัดเจน เช่นการจัดทำบัญชีสมาชิกพรรค การเก็บเงินค่าสมาชิกพรรค การประชุมเลือกกรรมการบริหารพรรค ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตามก็อาจทำให้พรรคนั้นๆ สิ้นสภาพ อีกทั้งเพื่อเป็นการเตรียมการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นตามคำประกาศของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงมีเสียงเรียกร้องขอให้ คสช. ปลดล็อกคำสั่งห้ามทำกิจกรรมทางการเมือง   

 

ซึ่งก่อนหน้านี้ ก็มีเสียงตอบรับจาก คสช. ไม่ว่าจะเป็น พล.อ.ประยุทธ์ หรือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ว่าจะปลดล็อกการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองให้ แต่เป็นช่วงหลังจากพระราชพิธี ทำให้ต้องดูว่าจากนี้ คสช. จะปลดล็อกให้พรรคการเมืองสามารถดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้ทันทีเลย หรือจะต้องรอเวลาอะไรอีก 

 

อย่างไรก็ตามหาก  คสช. ยังล่าช้า เวลาที่ถูกกำหนดโดยกฎหมายจะทำให้พรรคการเมืองมีความยากลำบากมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองเก่า หรือพรรคการเมืองที่จะจดตั้งใหม่    

 

แต่ก็มีความเป็นไปได้สูงว่า  คสช. อาจจะเลือกปลดล็อกให้พรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมได้เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการธุรการทางพรรคเท่านั้น  แต่กิจกรรมที่เรียกว่า “การเมือง” อาจจะยังคงต้องห้ามต่อไป 

 

หากไม่มีอะไรผิดพลาด ช่วงพฤศจิกายนนี้ น่าจะมีคำสั่งดังกล่าวออกมา 

 

ขั้นตอนต่อไปคือ การดูว่า “โร้ดแม็พ” ของ คสช. จะเป็นไปตามเงื่อนเวลาที่กะกันไว้หรือไม่  ต้องทำความเข้าใจว่า สิ่งทีรัฐบาลพูดตลอดคือ การบอกว่าทุกอย่างขึ้นกับ “โร้ดแม็พ”  ซึ่งผูกติดอยู่กับเงื่อนไขการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง 

 

หากดูโรดแม็พของ คสช. จะแบ่งได้ว่าโรดแม็พจะแบ่งเป็นสองช่วงหลัก ช่วงแรกคือ การร่างรัฐธรรมนูญ และช่วงที่สอง ขั้นตอนการออกกฎหมายลูก  ซึ่งจะเห็นว่ากว่าจะผ่านช่วงแรก ก็ต้องมีการร่างรัฐธรรมนูญถึงสองครั้งด้วยกัน และใช้เวลาร่วม 3 ปี กว่าจะออกมาเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน  ซึ่งปัจจุบันเราผ่านช่วงนี้มาแล้ว 

 

ส่วนช่วงที่สองคือ การทำกฎหมายลูก  ตอนแรกที่มีการทำประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ มีการชี้แจงว่า ขั้นตอนการการทำกฎหมายลูกที่จำเป็นในการเลือกตั้ง 4 ฉบับจะกินเวลา 240 วันหรือ 8 เดือน จากนั้นนับต่อไปอีก 150 วันหรือ 5 เดือน ก็จะมีการเลือกตั้ง 

 

แต่ไปๆ มาๆ ก็ตีความกันว่าระยะเวลาในการทำกฎหมายจะยืดยาวกกว่านั้น เพราะ 240 วันที่ว่าจะเป็นเพียงเวลาในส่วนของกรรมการร่างรัฐธรรมนูญในการเขียนกฎหมาย ไม่รวมกระบวนการอื่น 

 

ซึ่งขณะนี้ชัดเจนแล้วว่า กรรมการ่างรัฐธรรมนูญจะใช้เวลาจนครบ 240 วัน จึงจะเสนอกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. ซึ่งเป็นกฎหมายลูกฉบับสุดท้ายต่อที่ประชุม สนช. ในช่วงประมาณวันที่ 30 พฤศจิกายน 2560 

 

ทีนี้การจะเลื่อนเลือกตั้งหรือไม่ จุดชี้เป็นชี้ตายจึงอยู่ที่กฎหมายลูกสองฉบับที่รออยู่ใน สนช. คือ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. และร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. หากทั้งสองฉบับผ่านเมื่อไหร่ก็เป็นอันประกาศใช้ 

 

แต่ถ้าไม่ผ่าน “โร้ดแม็พ” หรือถนนสู่การเลือกตั้งก็จะถูกต่อให้ยาวออกไปอีก แล้วเราจะรู้ได้เมื่อไหร่ว่ากฎหมายจะผ่านหรือไม่ผ่าน คำตอบคือไม่เกินเดือน กุมภาพันธ์ 2561 จะต้องมีความชัดเจนในเรื่องนี้   

 

ำถามคือทำไมต้องเป็น “กุมภาพันธ์” นั่นก็เป็นเพราะ หากนับรวมเวลาตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด การพิจารณาของ สนช. รวมถึงการตั้งกรรมาธิการร่วมและโหวตในขั้นตอนสุดท้าย สิริรวมจะอยู่ที่ 85 วัน นับจากวันที่เสนอร่างกฎหมายให้ สนช. 

  

จากนั้นในเดือน มีนาคม 2561 หากไม่มีการยื่นตีความร่างกฎหมายทั้งสองฉบับต่อศาลรัฐธรรมนูญ ก็เป็นอันสบายใจได้ว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นค่อนข้างแน่นอน แต่หากมีการเสนอยื่นตีความต้องมาลุ้นว่าศาลจะใช้เวลาพิจารณานานหรือไม่ หรือจะตีให้กฎหมายตกไป ซึ่งแปลว่า “โร้ดแม็พ” ก็จะสะดุดหยุดลง 

 

หากไม่มีอะไรผิดพลาด ที่เหลือก็เป็นเพียงการรอขั้นตอนทูลเกล้าฯ และประกาศใช้ 

 

ตามเงื่อนไขทั้งหมด หากจะมีการเลือกตั้งในเดือน “พฤศจิกายน  2561” จะต้องประกาศกำหนดวันเลือกตั้งอย่างเป็นทางในเดือน “มิถุนายน”  จากนั้นการเมืองก็จะเดินหน้าอย่างเต็มสูบเข้าสู่โหมดเลือกตั้งและประมาณต้นปี 2562 เราจะมีรัฐบาลใหม่จากการเลือกตั้ง เว้นแต่เกิด “อุบัติเหตุทางการเมือง” 

 

เอาเป็นว่า หากผ่าน “กุมภาพันธ์ 2561” เราก็พอจะเห็นปลายทางแล้วว่าอนาคตจะเป็นเช่นไร จะมีการเลือกตั้งหรือไม่   

 

แต่สิ่งหนึ่งที่พึงจำไว้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทั่วไปหรือเรื่องทางการเมืองนั่นคือ “ความแน่นอน คือความไม่แน่นอน” 

 

 

 

 

บทความโดย อสรพิษ 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า