Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)

ประเด็นคือ- ปภ.รายงาน เผย ตั้งแต่วันที่ 13 -17 เม.ย. มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากวาตภัย 24 จังหวัด เร่งสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วน พร้อมจัดชุดเคลื่อนที่เร็วพร้อมเผชิญเหตุตลอด 24 ชั่วโมง

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 13 – 17 เมษายน 2561 มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากวาตภัย 24 จังหวัด 65 อำเภอ 110 ตำบล 251 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 1,503 หลัง ผู้เสียชีวิต 2 ราย แยกเป็น

ภาคเหนือ 8 จังหวัด

ได้แก่ กำแพงเพชร เกิดวาตภัยในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองกำแพงเพชร อำเภอบึงสามัคคี อำเภอขาณุวรลักษณ์บุรี อำเภอปางศิลาทอง และอำเภอไทรงามรวม 11 ตำบล 43 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 352 หลัง

เพชรบูรณ์ เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอวิเชียรบุรี รวม 4 ตำบล 11 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 33 หลัง

เชียงใหม่ เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอ แม่ริม รวม 3 ตำบล 3 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 7 หลัง

แพร่ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสอง และอำเภอร้องกวาง รวม 3 ตำบล 4 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 10 หลัง

นครสวรรค์ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ 3 ตำบล 8 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอไพศาลี และอำเภอหนองบัว บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 35 หลัง

ลำปาง เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภองาว รวม 3 ตำบล 10 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 15 หลัง

พิจิตร เกิดวาตภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอดงเจริญ และอำเภอบึงนาราง รวม 3 ตำบล 8 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 60 หลัง

และน่าน เกิดวาตภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเวียงสา และอำเภอนาหมื่นรวม 4 ตำบล 4 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 14 หลัง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 15 จังหวัด

ได้แก่ เลย เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอเมืองเลย รวม 5 ตำบล 23 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 117 หลัง

นครราชสีมา เกิดวาตภัยในพื้นที่ 15 อำเภอ ได้แก่ อำเภอจักราช อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอโนนสูง อำเภอประทาย อำเภอห้วยแถลง อำเภอเมืองยาง อำเภอสูงเนิน อำเภอปักธงชัย อำเภอหนองบุญมาก อำเภอสีคิ้ว อำเภอชุมพวง อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอพิมาย อำเภอปากช่อง รวม 23 ตำบล 34 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 117 หลัง

ร้อยเอ็ด เกิดวาตภัยในพื้นที่ 4 อำเภอ 9 ตำบล 23 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภออาจสามารถ อำเภอเมืองสรวง อำเภอธวัชบุรี อำเภอจตุรพักตรพิมาน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 116 หลัง

ขอนแก่น เกิดวาตภัยในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ้านไผ่ อำเภอภูผาม่าน อำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอแวงน้อย และอำเภอเขาสวนกลาง รวม 8 ตำบล 24 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 137 หลัง

มหาสารคาม เกิดวาตภัยในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอพยัฆภูมิพิสัย อำเภอวาปีปทุม อำเภอแกดำ และอำเภอบรบือ รวม 8 ตำบล 17 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 98 หลัง

กาฬสินธุ์ เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอกมลาไสย รวม 2 ตำบล 3 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนเสียหาย 81 หลัง หนองคาย เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอเฝ้าไร่ รวม 1 ตำบล 3 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 41 หลัง

สกลนคร เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอสว่างดินแดง รวม 2 ตำบล 3 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 68 หลัง

อุบลราชธานี เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอน้ำขุ่น ตำบลขี้เหล็ก 3 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 27 หลัง สุรินทร์ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่อำเภอจอมพระ และอำเภอปราสาท รวม 4 ตำบล 8 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 69 หลัง

ชัยภูมิ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอจัตุรัส และอำเภอบ้านเขว้า รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 14 หลัง

บุรีรัมย์ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอห้วยราช อำเภอสตึก อำเภอนางรอง และอำเภอคูเมือง รวม 5 ตำบล 9 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 13 หลัง

อุดรธานี เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอหนองหาน ตำบลหนองไผ่ รวม 1 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 5 หลัง

หนองบัวลำภู เกิดวาตภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีบุญเรือง อำเภอโนนสัง และอำเภอเมืองหนองบัวลำภู รวม 3 ตำบล 3 หมู่บ้าน บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 5 หลัง

ศรีสะเกษ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกันทรลักษณ์ และอำเภอวังหิน รวม 2 ตำบล 4 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 41 หลัง

ภาคกลาง 1 จังหวัด

ได้แก่ สระบุรี เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอวังม่วง ตำบลวังม่วง รวม 1 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 14 หลัง

อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบสภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ในช่วงวันที่ 17 – 18 เมษายน 2561 จะเกิดพายุฤดูร้อนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ในลักษณะพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ ปภ.จึงได้ประสานจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัย รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัย เตรียมพร้อมรับมือพายุฤดูร้อน โดยจัดเจ้าหน้าที่และมิสเตอร์เตือนภัยติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมจัดชุดเคลื่อนที่เร็ว เครื่องมืออุปกรณ์ประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันทีที่เกิดภัย

อีกทั้งแจ้งเตือนประชาชนเตรียมพร้อมรับมือและระมัดระวังอันตรายจากสถานการณ์ภัย โดยติดตามพยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยอย่างใกล้ชิด พร้อมปฏิบัติตามคำเตือนอย่างเคร่งครัด ส่วนเกษตรกรให้จัดทำที่ค้ำยันต้นไม้หรือที่กำบัง เพื่อป้องกันพืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากพายุฤดูร้อน สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก เพจ ปภ.กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า