SHARE

คัดลอกแล้ว

โรดิโก ดูแตร์เตประกาศถอนฟิลิปปินส์จากสนธิสัญญาศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ไอซีซี และให้ “มีผลทันที” หลังถูกตรวจสอบการทำสงครามยาเสพติดของเขา ชี้เป็นการละเมิดการบริหารประเทศและกระบวนการยุติธรรม

หลังจากเมื่อเดือน ก.พ. 2561 ศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี) เริ่มดำเนินการสอบสวนการดำเนินการ สงครามยาเสพติด ของนายโรดิโก ดูแตร์เต ปธน.ฟิลิปปินส์ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ระดับสูง ที่ถูกกล่าวหาว่าการสังหารประชาชนกว่า 4,000 คน หรืออาจเรียกได้ว่าการก่ออาชญากรรมมนุษย์นั้น

ทำให้ทางการฟิลิปปินส์ออกมากแถลงการณ์วันนี้ (14 มี.ค. 2561) ว่า ปธน.ดูแตร์เต ประกาศถอนตัวออกจากการไอซีซี เนื่องจากฟิลิปปินส์ถูกเล่นงานจากองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) และถูกไอซีซีละเมิดการบริหารประเทศและกระบวนการยุติธรรม

แฮร์รี โร้ด โฆษก ปธน. ยืนยันว่ามีการส่งเอกสารถึงผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับการถอนตัวของฟิลิปปินส์จากไอซีซี ซึ่งถูกเขียนไว้ในหน้า 15 ลงวันที่ 13 มี.ค. ระบุว่าให้ “มีผลทันที” และแม้ว่า ปธน.ดูแตร์เต ไม่ได้ลงลายเซ็น แต่ที่ปรึกษาด้านกฎหมายก็ยืนยันว่าเป็นความจริง

ปธน.ดูแตร์เตที่ประณามการกระทำของไอซีซีว่า เป็นการกระทำที่ไร้มูลความจริง ไร้ประโยชน์ เป็นการละเมิดการบริหารประเทศ ซึ่งฟิลิปปินส์ถูกโจมตีอย่างรุนแรงอย่างไม่เคยมีมาก่อน

ส่วนการปราบปรามยาเสพติดของเขานั้น ไม่ใช่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือการก่อสงครามอาชญากรรม การเสียชีวิตเกิดขึ้นจากการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างถูกต้อง โดยไม่มีเจตนาฆ่า ซึ่งแย้งกับสิ่งที่เขาเคยพูดว่า “ยินดีสังหาร” ผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด

รัฐบาลฟิลิปปินส์ยืนกรานว่า กระบวนการทางศาลและกฎหมายของฟิลิปปินส์มีความเป็นอิสระและมีประสิทธิภาพ

ด้าน นางฟาโต เบนโซตา อัยการสูงสุดของไอซีซี เผยว่า ไอซีซีกำลังตรวจสอบเอกสาร “การสังหารนอกเหนือกฎหมาย” ของสงครามยาเสพติด ย้ำว่าไม่ใช่สอบสวน แต่เป็นการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น เพื่อดูว่ามีน้ำหนักมากน้อยเพียงใด ในการที่จะดำเนินการสอบสวนต่อไป

สำหรับศาญอาญาระหว่างประเทศ หรือไอซีซี ปัจจุบันมีสมาชิกรัฐภาคี 123 รัฐ รวมถึงฟิลิปปินส์  มีหน้าที่พิจารณาคดีอาชญากรรมที่รุนแรงกว่าคดีทั่วไป ทั้งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมที่กระทบต่อมนุษยชาติ การก่อสงคราม เป็นต้น ซึ่งจะมีอำนาจแทรกแซงเฉพาะรัฐที่เป็นสมาชิกเท่านั้น ขณะที่ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ ยังไม่ให้สัตยาบันของสนธิสัญญา จีนและอินเดียก็ยังไม่เคยลงนามเช่นกัน

 

ที่มา BBC, Reuters

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า