SHARE

คัดลอกแล้ว

กลุ่ม LGBTQ หรือ กลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งขัดกับบรรทัดฐานทางสังคมที่คนจะต้องรักเพศเดียวกัน โดยในปัจจุบันกลุ่ม LGBTQ ได้รับการยอมรับจากคนในสังคมโดยเฉพาะในทวีปอเมริกาและยุโรป โดยในบางประเทศก็มีการออกกฏหมายเพื่อรับรองการแต่งงานของเพศเดียวกันแล้ว แต่ในทวีปเอเชียนั้นกลุ่มบุคคลเหล่านี้อาจจะยังไม่เป็นที่ยอมรับนักในบางประเทศ

ทว่า การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 23 หรือพย็องชัง 2018 ก็ได้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับวงการกีฬาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องความเท่าเทียมและความหลากหลาย หลังจากแคนาดาได้เปิดบ้านพักนักกีฬาเป็น “Pride House” เพื่อให้ชาว LGBTQ ได้มาพบปะกัน ซึ่งนี่เป็นครั้งแรกในทวีปเอเชีย

ในการแข่งขันครั้งนี้ นักกีฬา LGBTQ ทั้ง 15 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากครั้งที่แล้วที่มีเพียง 7 คน ก็ได้สร้างประวัติศาสตร์โดยการคว้าเหรียญรางวัลในกีฬาประเภทต่าง ๆ “อีริค แร็ดฟอร์ด” จากประเทศแคนาดาเป็นนักกีฬาผู้เปิดเผยตัวเป็นชายรักชายคนแรก ที่คว้าเหรียญทองจากกีฬาฟิกเกอร์สเกตประเภทคู่ พร้อมกับเมแกน ดูฮาเมล นักกีฬาเพื่อนร่วมชาติ โดยอีริคได้พาคู่หมั้นหนุ่มของเขาไปร่วมเชียร์การแข่งขันในครั้งนี้ด้วย

อดัม ริปปอน ก็เป็นนักกีฬาคนแรกของสหรัฐฯ ที่เปิดเผยตัวว่าเป็นชายรักชาย ได้คว้าเหรียญทองแดงในกีฬาฟิกเกอร์สเกตประเภทเดี่ยว โดยที่ริปปอนเป็นหนึ่งในสองตัวแทนนักกีฬาชายรักชายของสหรัฐฯ คู่กับ กัส เคนเวิทตี้ นักกีฬาฟรีสไตล์สกีเพื่อนร่วมชาติในพิธีเปิดการแข่งขัน

อดัม ริปปอน เป็นที่พูดถึงอย่างมากในกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้ เพราะนอกจากจะเป็นนักกีฬาชายรักชายที่เปิดเผยตัวคนแรกที่คว้าเหรียญได้แล้วนั้น เขายังได้วิพากษ์วิจารณ์เรื่องที่ไมค์ เพนซ์ รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นผู้นำในขบวนนักกีฬาสหรัฐในพิธีเปิดการแข่งขัน ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่านายเพนซ์ เป็นบุคคลที่มีแนวคิดอนุรักษ์นิยมเกี่ยวกับกฎหมายการแต่งงานในเพศเดียวกัน

นอกจากนี้ ริปปอนก็ยืนยันที่จะไม่ไปเยือนทำเนียบขาวหากได้รับเชิญ โดยเขาให้สัมภาษณ์ว่า เขาไม่คิดว่าบางคนที่นั่นจะยินดีต้อนรับและรู้ว่าเขาจะรู้สึกว่าไม่เป็นที่ต้องการหากไปที่นั่น เนื่องจากเป็นที่รู้กันดีว่าโดนัลด์ ทรัมป์ มีความคิดเห็นอย่างไรต่อกลุ่ม LGBTQ

https://www.instagram.com/p/BfTTd_uhn_4/?taken-by=guskenworthy

ด้านกัส เคนเวิทตี้ไม่ได้รับรางวัลใดในครั้งนี้ เขาเคยได้รับเหรียญเงินจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2014 ที่เมืองโซชิ ประเทศรัสเซีย ซึ่งในครั้งนั้นเขายังไม่ได้เปิดตัวว่าเป็นชายรักชาย โดยในครั้งนี้เขาได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างประเทศว่า ถึงแม้ว่าผลงานการแข่งขันจะไม่เป็นที่น่าพอใจ แต่เขาก็ดีใจที่ในครั้งนี้เขาได้แข่งด้วยความเป็นตัวเอง โดยไม่ต้องกังวลว่าจะถูกสื่อถามว่าชอบผู้หญิงแบบไหน ซึ่งทำให้เขาต้องโกหกหรือหลีกเลี่ยงคำถามเหล่านี้ ครั้งนี้เขาจึงภูมิใจมากที่ได้เป็นตัวของตัวเองและได้เป็นตัวแทนเข้าร่วมพิธีเปิดการแข่งขัน

https://www.instagram.com/p/BfCmUvfDVS0/?taken-by=bellebrockhoff

การยอมรับนักกีฬากลุ่มเพศทางเลือกในกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งนี้ สร้างความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวเมื่อปี 2014 ที่เมืองโซชิ เนื่องจากเมืองโซชิมีกฎหมายต่อต้านการรักร่วมเพศ เบลล์ บร็อกฮอฟ นักกีฬาสโนว์บอร์ดสาวจากประเทศออสเตรเลีย ก็เป็นอีกหนึ่งคนที่เปิดเผยตัวว่าเป็นหญิงรักหญิงในปี 2013 ก่อนการแข่งขันที่เมืองโซชิ ซึ่งเธอก็ได้ให้สัมภาษณ์ในขณะนั้นว่า เธอภูมิใจในสิ่งที่เธอเป็นและทุกสิ่งที่เธอทำเพื่อไปแข่งโอลิมปิก ดังนั้นเธอไม่จำเป็นต้องสนใจกฎหมายข้อนี้

ขณะที่ ไอรีน วูสท์ นักกีฬาสปีดสเกตจากประเทศเนเธอแลนด์ ผู้เปิดตัวว่าเป็นไบเซ็กชวล เป็นนักกีฬาเพศทางเลือกที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่ง ตั้งแต่เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งแรกที่เมืองตูริน ประเทศอิตาลี ในปี 2006 โดยเธอได้รับเหรียญทองเหรียญที่ 5 ในการงานโอลิมปิกครั้งนี้ อยากไรก็ตามในฐานะนักกีฬา LGBTQ เธอก็ได้รับผลกระทบจากการเปิดเผยตัวเป็นไบเซ็กชวลเช่นกัน ไอรีนได้เผยว่า “คุณจะถูกรู้จักในนามไอรีนนักสปีดสเกต หรือไอรีนคนที่มีแฟนเป็นผู้หญิงกันล่ะ” นั่นคือสิ่งที่เธอต้องเผชิญ

เช่นเดียวกับ อีริค แร็ดฟอร์ด นักกีฬาเหรียญทองชาวแคนาดา ก็ได้กล่าวถึงชีวิตของเขาไว้เช่นกันว่า เขาคือผู้ชายคนเดียวที่เล่นฟิกเกอร์สเกต ในเมืองแห่งกีฬาฮอกกี้ ซึ่งทำให้เขาโดนคนอื่นแกล้งอยู่บ้าง แต่เขาก็หวังว่าความสำเร็จในโอลิมปิกครั้งนี้ จะช่วยให้นักกีฬา LGBTQ ในยุคต่อไปได้รับการยอมรับมากยิ่งขึ้น

ไม่ได้มีเพียงนักกีฬา LGBTQ เท่านั้น ที่แสดงถึงความเท่าเทียมและความหลากหลาย ลิซซี่ ยาร์โนลด์ นักกีฬาบอบสเลดสเคเลทันจากสหราชอาณาจักร ก็ให้การสนับสนุนกลุ่ม LGBTQ โดยการเปลี่ยนเชือกรองเท้าเป็นสีรุ้งซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่ม LGBTQ เข้าร่วมพิธีเปิดการแข่งขันในครั้งนี้ โดยเธอให้สัมภาษณ์ว่า การเปลี่ยนเชือกรองเท้าอาจเป็นเพียงเรื่องเล็ก ๆ แต่เป็นสัญลักษณ์ที่ทรงพลัง เป็นการเปิดวงการกีฬาให้กว้างขึ้น และแสดงให้ผู้คนเห็นว่าโอลิมปิกเปิดรับทุกคน

ปรากฏการณ์ความเปลี่ยนแปลงทั้งหมดที่เกิดขึ้นในการแข่งขันโอลิมปิกครั้งที่ 23 นี้ ถือเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ที่กลุ่มคนผู้มีความหลากหลายได้แสดงออกถึงความสามารถ และพวกเขาเหล่านี้ก็ได้พิสูจน์แล้วว่าความสามารถไม่ได้ขึ้นอยู่กับเพศที่สังคมกำหนด และพวกเขาก็มีความสุขที่ได้แสดงออกในสิ่งที่เป็น ซึ่งเป็นความสำเร็จยิ่งกว่าการได้เหรียญรางวัลเสียด้วยซ้ำ

 

ขอบคุณภาพจาก The Star ,Sky Sports ,@Canada

บทความโดย พิชญา ภิญโญจรัสแสง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า