SHARE

คัดลอกแล้ว

ทำไมมีป่าสมบูรณ์ แต่น้ำถึงท่วมเหมือนเดิม?

ถ้ายังจำกันได้เมื่อช่วงท้ายปีที่ผ่านมา คลิปดินถล่มและน้ำไหลหลากที่หมู่บ้านห้วยหินลาดใน อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย กลายเป็นกระแส มีผู้ชมวีดิโอมากกว่า 2 ล้านครั้ง 

จากเหตุการณ์นี้ ทำให้มีการคาดการณ์ไปสารพัด ถึงต้นเหตุที่ทำให้เกิดดินถล่มอย่างหนัก ในจังหวัดเชียงราย ทั้งมีการณ์วิเคราห์ว่าเป็นเพราะชาวบ้านบนพื้นที่สูงทำไร่เลื่อนลอย มีการตัดไม้ทำลายป่า และเป็นเพราะภูเขาหัวโล้นไร้ต้นไม้จากการที่ชาวเขาปลูกข้าวโพด

บ้านห้วยหินลาดในมีประชากรทั้งหมด 23 ครัวเรือน 520 คน ด้วยจำนวนชาวบ้านเท่านี้แต่กลับดูแลป่าในจำนวน 12,000 ไร่ และหากย้อนไปดูภาพถ่ายทางอากาศก็จะเห็นว่า บ้านห้วยหินลาด กลับเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งยังเคยเป็นพื้นที่ต้นแบบของการประกาศ ให้เป็นพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ที่แรก ในมติ ครม. และยังเป็นหนึ่งในพื้นที่วิจัยไร่หมุนเวียน จนทำให้ไร่หมุนเวียนได้รับการยอมรับทางวิชาการครั้งแรก จนได้ขึ้นเป็นมรดกวัฒนธรรมของชาติ

“คนเฒ่าคนแก่ก็ไม่เคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้มาก่อน” นิราพร จะพอ เยาวชนบ้านห้วยหินลาดใน จ.เชียงราย กล่าวขึ้นบทเวทีสาธารณะว่าด้วยการศึกษาปัจจัยการถล่มของดินในป่าอนุรักษ์ของชุมชนบนพื้นที่สูง กรณีศึกษาบ้านห้วยหินลาดใน อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย เพื่อสื่อสารว่าทำไมป่าสมบูรณ์ น้ำถึงท่วม เพื่อทำความเข้าใจกับสังคมถึงสาเหตุของดินถล่ม น้ำท่วมหมู่บ้านมันใช่หรือเปล่าที่เขาบอกว่า เป็นเพราะพี่น้องบ้านห้วยหินลาดในตัดไม้ทำลายป่า ทำไร่หมุนเวียน ปลูกข้าวโพด ในวันที่ 19 กุมภาพันธุ์ที่ผ่านมา

ภาพจาก : ชุมชนห้วยหินลาดใน

“กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ก็อาจทำให้ประชาชนภายนอกมองว่า พี่น้องปกาเกอะญอที่อยู่ตรงนี้ ทำไร่เลื่อนลอย และเป็นสาเหตุทำให้ดินถล่ม”

“ไม่ใช่ไร่เลื่อนลอย เป็นไรหมุนเวียน เรารับไม่ได้ เพราะการทำไร่หมุนเวียนทำให้ระบบนิเวศของป่าได้รับการฟื้นฟูกลับมา เป็นวิถีของพี่น้องปกาเกอะญอที่ทำให้คนอยู่กับป่าได้อย่างสงบสุข” ปลัด ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ดินถล่มเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2567 ที่กลายเป็นกระแส 

ไม่ว่าจะเป็นการเข้าใจผิดและประหลาดใจจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าทำไมถึงเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมและดินถล่มที่บ้านห้วยหินลาดในได้ยังไง ทั้งๆ ที่ป่าอุดมสมบูรณ์และพี่น้องที่นี่ดูแลป่าเป็นอย่างดี จึงนำมาสู่งานวิจัยของคณะวิจัย อาจารย์ ร่วมกับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ทำงานกับพื้นที่นี่มาต่อเนื่อง

“ตามหลักวิชาการที่เราศึกษากันมา คือ ตรงไหนมีป่าสมบูรณ์ ตรงนั้นจะไม่เกิดดินถล่ม ไม่เกิดการพังของหน้าดิน ดินจะอุ้มน้ำดี จะค่อยๆ ปล่อยน้ำออกมา แต่เรายังไม่ได้เชื่อมโยงกับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา”

ดร.จตุพร เทียรมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้นำการวิจัยในครั้งนี้กล่าวบนเวที และพาย้อนกลับไปมองสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น

“ปีที่แล้ว เรารู้ว่าเป็นลานีญา ก็คือ ภาวะที่ฝนตกมากกว่าปกติ เพราะอุณหภูมิทะเลเย็น แต่ถ้าย้อนกลับไปที่ต้นปีของปี 67 ต้นฤดูฝน ที่จังหวัดตราด เพียงแค่ 7 วัน ฝนตกหนัก 80 เปอร์เซ็นต์ของฝนตกทั้งปี จนน้ำท่วม นี่คือความแปรปรวนของการตกของฝน ก่อนหน้านั้นปี 2 ปี อีสานก็เจอ ภายใน 24 ชั่วโมง ก็เจอ 400 มิลลิลิตรมาแล้ว หรือเท่าๆ กับความสูงของน้ำ 40 เซนติเมตรแค่ 24 ชั่วโมง พอปลายปีก็มีพายุเข้ามา”

ซึ่งในบริเวณภาคเหนือของไทย โดยเฉพาะจังหวัดเชียงราย ก็มีร่องรอยผิดปกติของสภาพอากาศ โดย ดร.จตุพร อธิบายว่า ในช่วงที่เกิดเหตุ ในขณะนั้นการพยากรณ์อากาศ เผยว่า จะมีพายุพัดเข้ามายังภาคเหนือ โดยคาดการณ์ว่าพายุลูกนี้ จะทะลุภาคเหนือของประเทศไทย ไปที่ประเทศเมียนมา แต่ปรากฎว่าพฤติกรรมของพายุลูกนี้ กลับหยุดและตกแช่ ก่อนที่จะสลายตัวไป เป็นสาเหตุที่ทำให้ฝนตกต่อเนื่อง (Rain Bomb)

ภาวะ Rain Bomb หรือ ระเบิดฝน คือ ฝนตกหนักในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งของ extreamly weather หรือ สภาพภูมิอากาศสุดขั้ว

ช่วงที่เกิดเหตุการณ์ ฝนตกหนักติดต่อกันเป็นสัปดาห์ ฝนตกนานๆ แปลกๆ ไม่มีสัญญาณเตือน เป็นแบบนี้ทุกเช้า ซึ่งวันที่เกิดเหตุช่วงตี 2-3 ฝนตกหนักจนไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย แล้วเช้ามาก็เกิดเหตุการณ์ดินถล่ม แล้วตามมาด้วยน้ำไหลเข้าหมู่บ้าน เราก็เลยเตือนให้ชาวบ้านให้ออกจากหมู่บ้าน และเริ่มเช็คหลายพื้นที่ทั้งโรงเรียน หลังจากนั้นชั่วโมงเดียวทุกอย่างก็หนักหน่วงนิราพร เยาวชนบ้านห้วยหินลาดใน กล่าว

เวทีสาธารณะว่าด้วยการศึกษาปัจจัยการถล่มของดินในป่าอนุรักษ์ของชุมชนบนพื้นที่สูง กรณีศึกษาบ้านห้วยหินลาดใน อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย

จากจุดนี้ ทำให้ทีมเริ่มหาปัจจัย เพื่อศึกษาต่อจากภาพถ่ายทางอากาศ และคิดค้นวิธีการวิจัย เพื่อหาคำตอบ ว่าทำไมพื้นที่ป่าสมบูรณ์ถึงเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ได้

โดยทีมวิจัยได้เก็บข้อมูลในพื้นที่ความชันเท่ากัน ความสูงเดียวกัน หุบเดียวกัน โครงสร้างดินคล้ายกัน ระหว่างจุดที่ดินถล่มกับจุดที่ไม่ถล่ม พบว่า บริเวณที่ถล่มมีความลึกของหน้าดินที่ลึกประมาณ 1.03 เมตร ส่วนตรงที่ไม่ถล่มมีความลึกที่ 70 เซนติเมตร เพื่อนำมาคำนวณโครงสร้างดิน และหาขีดจำกัดของน้ำหนักดินและน้ำที่ซึมลงไปขณะฝนตก

ปกติหลักการของระบบนิเวศคือ ในพื้นที่ 1 ตารางเมตร (กว้างและลึกของดิน) ฝนที่ตกลงมาจะค่อยๆ ระบายน้ำที่อุ้มไว้ออกหลังจากที่ฝนหยุด ผ่านชั้นหินด้านหลัง แล้วแทรกซึมไปกับแม่น้ำลำธาร ซึ่งก็จะมีช่องว่างเพื่อเอาน้ำเข้าไปเก็บไว้อีก แต่เมื่อเกิดภาวะที่ฝนตกต่อเนื่องไม่หยุด ทำให้เกิดภาวะระบายและเติมน้ำเข้าไปในดินไม่หยุด จนเกินศักยภาพการอุ้มน้ำของดิน ทำให้ฝนตกต่อเนื่องไม่หยุดหลายวันกลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ

โดยคณะวิจัยได้คำนวณการรับน้ำหนักของหน้าดินระหว่างจุดที่ถล่มและไม่ถล่ม พบว่า จุดที่ถล่มในพื้นที่ 1 ตารางเมตรสามารถรับน้ำหนักได้อยู่ที่ 1,700 กิโลกรัม

ซึ่งปัจจัยสำคัญก็คือ  เวลาที่ต้องสังเกตดินอุ้มน้ำเราจะพบว่าพื้นที่ 1 ตารางเมตร ลึกลงไปในดิน 1 เมตรใรบริเวณที่ถล่มจะสามารถรับน้ำหนักได้อยู่ที่ 1,700 กิโลกรัม ส่วนในจุดที่ไม่ถล่มซึ่งมีความลึก 70 เซนติเมตร ที่เคยเกริ่นไปก่อนหน้านี้ สมารถรับน้ำหนักได้ 1200 กิโลกรัม ซึ่งต่างกันถึง 500 กิโลกรัม ในพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร

ดร.จตุพร อธิบายเพิ่มว่า

“น้ำจะเต็มตั้งแต่ 600 มิลลิลิตรแรกแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นเหมือนให้เราถือกระเป๋าขนาด 100 กิโลกรัมตลอดเวลา แล้วไม่ให้วางสักที มันก็ไม่ไหว ดินมันก็ล้าไปหมด ในขณะเดียวกันชั้นล่างที่ลึกลงไปกว่า 1.03 เมตรก็เป็นหิน ซึ่งทุกๆ  1 ตารางเมตรก็จะรับน้ำหนัก 1.7 ตัน ซ้อนกันไปสูงขึ้นจนถึงยอดภูเขา ซึ่งยังไม่นับรวมน้ำหนักต้นไม้และน้ำหนักแรงกระแทกของฝนอีก”

ภาพการเก็บข้อมูลของทีมวิจัย จากเฟซบุ๊ก ดร.จตุพร เทียรมา https://www.facebook.com/share/p/1X8XY5eESW/

แต่นอกเหนือจากเทียบโครงสร้างดิน และคุณสมบัติในการอุ้มน้ำของดินในหน่วยตารางเมตรของ 2 พื้นที่ที่ถล่มกับไม่ถล่มแล้ว ทีมวิจัยยังได้สำรวจต้นไม้ ว่ามีส่วนที่ส่งผลทำให้เกิดดินถล่มหรือไม่ด้วย

 โดยได้ดูพันธุ์ไม้ในแปลงที่ถล่มกับไม่ถล่ม พบว่า 50 เปอร์เซ็นต์ในพื้นที่ที่ถล่มเป็นไม้ก่อ ที่มีระดับเรือนยอดความสูงเท่ากัน แต่เมื่อเทียบกับพื้นที่ที่ไม่ถล่ม พบว่า เป็นไม้เรือนยอด 3 – 4 ชั้น มีระดับไม้ที่แตกต่างกัน และมีไม้ก่ออยู่แค่ 20 เปอร์เซ็นต์ อีก 80 เปอร์เซ็นต์เป็นไม้อื่น

[ แล้วเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการถล่มของดินยังไง? ]

ในทางทฤษฎีเรือนยอดที่เป็นเรือนยอดเดียว เวลารับแรงปะทะของเม็ดฝนก็จะรับในระดับเท่าๆ กันทั้งแปลง ซึ่งเป็นเม็ดฝนที่หล่นลงมา 5-6 กิโลเมตร ทิ้งดิ่งลงมา แล้วถ้าตกหนักมากๆ ก็เหมือนกับเราเอาน้ำใส่ถังสาดลงมา แล้วก็กดลงไปในดินอีกทีหนึ่ง ในน้ำหนักเท่ากัน

ส่วนในหน้าดินที่ไม่ถล่ม และมีเรือนยอดสูงหลายชั้น ดร.จตุพร กล่าวว่า นอกจากจะมีหลายชั้นแล้ว เรือนยอดที่อยู่สูงสุดก็แผ่ออก ทำให้สามารถลดแรงปะทะ ที่จะส่งน้ำหนักทั้งหมดลงมาที่หน้าดินพร้อมกัน เหมือนพื้นที่ที่มีไม้เรือนยอดเท่ากันทั้งหมด ซึ่งความแรงจะลดลงในแต่ละชั้นตามเรือนยอดที่เป็นชั้น ทำให้ฝนกระทบกับผืนดิน ด้วยแรงกระแทกที่เบากว่า ตามหลักการฟิสิกส์

ซึ่งในขณะเดียวกันความหลากหลายของชนิดพันธุ์พืชก็ดูเหมือนจะส่งผลต่อการเกิดภันพิบัติจากการพังทลายของหน้าดินและน้ำหลาก

“แปลงที่เป็นไม้ก่อ ไม้เนื้อแข็ง 51 เปอร์เซ็นต์ ระบบรากเท่ากัน การแผ่ของรากเหมือนกัน เพราะเป็นไม้ชนิดเดียวกัน แต่ในขณะเดียวกันไม้ชนิดที่ต่างกัน จะมีระบบรากที่ลึกกว่า ซึ่งไปเกาะล็อกกับหิน พันธุ์นี้เกาะตรงนี้ เดียวอีกพันธุ์หนึ่งรากก็ไปทางนั้น มันก็จะพันกันและสลับกันไป จึงเป็นตัวล็อกก้อนดิน และหน้าดินที่มีขนาด 1.2 ตัน และบวกกับน้ำหนักที่น้อยกว่าที่อีกด้วย ทำให้พื้นที่ตรงนั้นไม่กระทบกระเทือน หรือดินพากันสไลด์ไหลไป”

ภาพการเก็บข้อมูลของทีมวิจัย จากเฟซบุ๊ก ดร.จตุพร เทียรมา https://www.facebook.com/share/p/1X8XY5eESW/

[ เกี่ยวข้องกับการสัมปทานป่าไม้อย่างไร? ]

จึงเกิดเป็นการตั้งคำถามต่อว่า แล้วเหตุใดจุดที่ดินถล่มยอดไม้ถึงเท่ากันหมด ต้นที่สูงๆ หายไปไหน? ใครตัดเอาไปทำอะไร ทำให้คณะวิจัยได้ย้อนกลับไปดูไทม์ไลน์การใช้สอยที่ดินในแต่ละยุคก็พบว่า เกิดการสัมปทานไม้และเพิ่งปิดไปเมื่อ พ.ศ. 2532 

งานวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศที่สมบูรณ์นั้น มีผลต่อการแบกรับน้ำและการพังทลายของหน้าดิน

“ในอนาคตมันจะเกิดบ่อยขึ้น ถี่ขึ้น จากปรากฎการณ์ที่เรียกว่าโลกร้อน”

แล้วโลกร้อนทำไมเกี่ยวกับฝนที่จะตกเยอะขึ้น? เนื่องจากอุณหภูมิสูงขึ้น จะส่งผลต่อการระเหยของน้ำที่สูงขึ้น 7-10 เปอร์เซ็นต์ ก่อนที่ความชื้นและมวลน้ำที่ระเหยเล่านั้นจะถูกพัดไปรวมในบางจุด อย่างที่ห้วยหินลาดใน ทำให้  ดร.จตุพร สรุปเหตุการณ์ดินถล่มและน้ำหลากในพื้นที่นี้ว่า เกิดจากฝนตกหนักผิดปกติภายใต้เงื่อนไขของโลกร้อน

ซึ่งในเรื่องของโลกที่ร้อนขึ้นแล้วจะทำให้เกิดการระเหยของน้ำมากขึ้น ไม่ได้มีเพียงเวทีนี้ที่พูดถึงอุณหภูมิที่สูงขึ้นมีผลต่อความชื้น แต่ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้เชี่ยวชาญสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ ก็ได้ออกมาเผยผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวเช่นเดียวกันว่า อุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นทุก 1 องศาเซลเซียลจะส่งผลให้น้ำระเหยสู่ชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้น 7 เปอร์เซ็นต์

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า