SHARE

คัดลอกแล้ว

เตรียมกู้ภัยเต็มรูปแบบ เติมออกซิเจนในถ้ำที่เด็กอยู่ ลดคนที่โถง 3 เร่งสำรวจโพรงถ้ำเพิ่ม และขุดโพรงที่อาจเชื่อมต่อกับเนินนมสาว

เมื่อเวลา 10.55 น. วันนี้ (7 ก.ค.61) ผู้สื่อข่าวรายงานว่านายณรงค์ศักดิ์  โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ในฐานะผู้บัญชาการศูนย์อำนวยการร่วมค้นหาผู้สูญหาย ในวนอุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย (ศอร.) แถลงความคืบหน้าการปฏิบัติการช่วยเหลือน้อง ๆ 13 ชีวิตทีมหมูป่าฯ ว่า หลังจากพบน้อง ๆ ภายในถ้ำของวันที่ 9 ของการปฏิบัติงาน ภารกิจหลักมีอยู่ 3 ขั้นตอน คือ การค้นหา-กู้ภัย-ส่งกลับ ซึ่งการกู้ภัยเป็นขั้นตอนที่ยากที่สุด เพราะสถานการณ์ที่พบวันนี้ไม่ธรรมดา แม้แต่ทั่วทั้งโลกก็บอกว่าไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ปัจจุบันสถานการณ์ต่างจากเมื่อ 8 วันก่อน ทั่วโลกจึงเข้ามาศึกษาสถานการณ์เพื่อปรับใช้ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์คล้ายกัน หรือทดลองอุปกรณ์ทันสมัยและงานวิจัยของแต่ละประเทศ

โดยความยากอยู่ที่ผู้ที่อยู่นอกหน้างานจะไม่เข้าใจเด็ดขาดว่าหน้างานเป็นอย่างไร ส่วนที่สำคัญที่สุดคือทักษะของผู้ดำน้ำในถ้ำ

ส่วนการหาโพรงนั้น ยังคงต้องดำเนินการต่อไปหลังจากเจาะแล้ว 18 โพรง ลงลึกได้กว่า 400 เมตรแต่โพรงหนึ่งที่ไม่ใกล้ห้องที่น้องอยู่ ปัจจุบันยังหาเทคโนโลยีที่จะระบุจุดตรงที่ไม่ได้ ต่างกับกรณีชิลี จุดที่น้องอยู่ลึกประมาณ 600 เมตร

ขณะที่การเบี่ยงเส้นทางน้ำ พบว่าประสบความสำเร็จมากแม้ว่าวานนี้ฝนจะตกลง แต่ระดับน้ำน่าพอใจมาก ซึ่งต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การทำงานสำรวจร่วมกันร่ของกรมชลประทาน ทหาร และกรมทรัพยากรธรณี

ทั้งนี้ ทุกคนทราบว่าอากาศภายในถ้ำจะไม่เพียงพอ อากาศทั่วไปจะมีออกซิเจน 21% ไนโตรเจน 70% แต่เมื่อหายใจในที่ผิดคาร์บอนไดออกไซด์จะเข้ามาแทนที่ออกซิเจน ซึ่งหากออกซิเจนเหลือต่ำกว่า 12% และคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปในกระแสเลือดมากจะเกิดอันตรายได้

สิ่งที่ทำได้ตอนนี้คือเอาออกซิเจนเข้าไปมากที่สุด แต่ก็ทำให้ต้องถอนกำลังที่ไม่จำเป็นบางส่วนออกจากโถงสามเพื่อประหยัดอากาศ นอกจากนี้ต้องส่งคนเข้าไปหาน้องๆน้อยที่สุด นำถังออกซิเจนไปวางให้น้องมากที่สุด ซึ่งขณะนี้ระดับคาร์บอนไดออกไซต์ก็ยังควบคุมไม่ได้ ประกอบกับหากช่วงหน้าฝน น้ำหลากจริง ๆ เนินทรายจุดเนินนมสาว ที่น้องนั่งอาจเหลือพื้นที่ไม่ถึง 10 ตารางเมตร เจ้าหน้าที่จึงกำลังทำงานอย่างหนักเนื่องจากแผนต่าง ๆ ถูกลดเหลือทางเลือกน้อยลง

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ช่วง 3-4 วันนี้ เป็นสถานการณ์ที่ดีที่สุด อาจปฏิบัติการกู้ภัยได้ อีกทั้งได้ผู้เชี่ยวชาญชุดใหญ่มาในคืนนี้ หากน้ำน้อยที่สุดที่จะทำได้ ซึ่งต้องดูองค์ประกอบว่าสถานการณ์เหมาะที่สุดอยู่จุดไหนเนื่องจากฝนอาจตกเพิ่ม

“เรายังอยู่ในสภาวะสงคราม สู้กับน้ำ อากาศ และเวลา ถึงเราจะชนะสงครามเล็กๆมาแล้ว แต่เรายังไม่ชนะทั้งสามศึก” ผบ.ศอร.กล่าว

ขณะที่น้อง ๆ ทั้ง 13 คนขณะนี้ยังมีสุขภาพดีที่สุด ได้รับอาหาร หากความเสี่ยงใดๆเพิ่มขึ้นก็จำเป็นต้องตัดสินใจใช้แผนใดแผนหนึ่งโดยคำนึงถึงความสมบูรณ์ที่สุดไม่ได้ ได้เพียงใช้คำว่าพยายามทดสอบซ้ำๆ จนเชื่อว่าเป็นทางที่ดีที่สุดของสถานการณ์และข้อจำกัด ต้องมีจุดโฟกัสเป็นศูนย์ โดยเฉพาะหลังการสูญเสีย จ.อ.สมาน กุนัน อดีตหน่วยซีล ที่บีบคั้นให้ต้องตัดสินใจ

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า