งานวิจัยที่เพิ่งตีพิมพ์ในวารสาร Science Advances ชี้ว่าผู้ใช้เฟซบุ๊กส่วนใหญ่ไม่ได้แชร์ข่าวปลอมใดๆระหว่างการเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาเมื่อปี 2016 ที่ผ่านมา แต่กลุ่มที่แชร์ข่าวปลอมมากที่สุดคือผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป โดยแชร์เป็นจำนวนมากกว่าวัยรุ่นถึง 7 เท่า
การวิจัยดังกล่าวพยายามควบคุมปัจจัยอื่น ๆ นอกจากอายุ ให้มีความคิดทางการเมือง การเลือกข้าง การศึกษาให้คละกันเพื่อให้ได้ผลวิจัยที่เที่ยงตรง แต่ก็ยังพบว่านอกจากกลุ่มสูงอายุแล้ว กลุ่มอนุรักษ์นิยม โดยเฉพาะกองเชียร์ทรัมป์ ก็เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มในการแชร์ข่าวปลอมมากที่สุดด้วย
นายแอนดริว เกส นายโจนาธาน เนเกิล และ นายโจซัว ทัคเกอร์ ผู้วิจัย ระบุว่า “ไม่พบว่าลักษณะของประชากรกลุ่มอื่น ๆ มีผลอย่างสม่ำเสมอต่อการแชร์ข่าวปลอม เรื่องอายุจึงนับว่ามีความสำคัญมาก”
การวิจัยนี้ไม่ได้ทำไปโดยถามว่าแชร์ไปมากเท่าไหร่ แต่ใช้แอปพลิเคชั่น YouGov ขออนุญาตผู้ใช้ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลการโพสต์และแชร์ในเฟซบุ๊กได้ หลังจากนั้นก็ใช้ฐานข้อมูลข่างปลอมจากงานศึกษาของสำนักข่าว Buzzfeed เพื่อระบุว่าเพจใดที่คนแชร์เป็นเพจที่ผลิตข่าวปลอมอย่างจงใจ
ผลการวิจัยพบว่าคน 90% ที่เล่นเฟซบุ๊กไม่ได้แชร์ข่าวปลอม มีเพียง 8.5% ที่นั้นที่แชร์อย่างสม่ำเสมอ ในกลุ่มคนแชร์ข่าวปลอมนี้นี้แบ่งเป็น ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีไปแล้ว 11.3% ของ 8.5% ขณะที่กลุ่มคนอายุ 18-19 ปีแชร์ข่าวปลอมแค่ 3% เท่านั้น
ผู้วิจัยให้เหตุผลว่าผู้สูงอายุเหล่านี้ไม่มีทักษะการรู้เท่าทันข่าวสารในยุคดิจิทัลมากพอที่จะรู้ว่าแหล่งใดเชื่อถือได้ และแนะนำให้มีการทำวิจัยเพิ่มเติมว่าอาจเกี่ยวข้องกับความสามารถในการจดจำลดลงเมื่ออายุสูงขึ้นด้วย
ปัจจุบันสถานศึกษาทั่วโลกพยายามสอนการรู้เท่าทันข่าวสารให้เด็ก ๆ ตั้งแต่อายุยังน้อย แต่จริงๆผู้สูงอายุก็ต้องการทักษะนี้เหมือนกัน