SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – หลังจากที่ทีมข่าวเวิร์คพอยท์ได้นำเสนอ เส้นทางการยักยอกเงินกองทุนเสมาพัฒนาคุณภาพชีวิตไป วันนี้ทีมข่าวลงพื้นที่ภาคเหนือในหลายจังหวัด เพื่อตามหาข้อเท็จจริงเรื่องการขอทุน พบว่า มีนักเรียนที่ได้รับทุนหลายคน พยายามติดตามการโอนเงินหลังเงินกองทุนไม่ได้เข้าตามกำหนด ทำให้ครอบครัวของเด็กที่รับทุนซึ่งทั้งหมดเป็นเด็กยากจน ต้องกู้หนี้นอกระบบ

หนังสือทวงถามจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง จังหวัดลำปาง ส่งถึงปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการกองทุนเสมาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ทวงถามเงินกองทุนฯ ประจำภาคการเรียน 2560 หลังวิทยาลัยเปิดภคารการศึกษาแล้ว แต่วิทยาลัยยังไม่ได้รับทุนเพื่อนำไปจัดสรรให้กับนักศึกษา 30 คน มูลค่ารวมกว่า 2 ล้านบาท

นางจรวยพร ทะแกล้วพันธุ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยบรมราชชนนี นครลำปาง เปิดเผยข้อมูลว่า ทางวิทยาลัยได้รับโควตาเด็กนักเรียนที่ได้รับทุนกองทุนเสมาฯ จากสถาบันพระบรมราชชนก โดยเด็กยากจนที่จะเข้ามาเรียนพยาบาลได้ จะต้องผ่านการสอบคัดเลือก แต่ละปี ทางสถาบันพระบรมราชชนกจะกำหนดโควต้าเด็กที่จะได้รับทุนไม่เท่ากัน และกระจายเด็กเรียนตามวิทยาลัยทั่วประเทศได้สิทธิ์เท่าๆกัน

สำหรับนักศึกษาพยาบาลในกองทุนเสมาฯ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือนักศึกษาที่สอบขอรับทุนกองทุนเสมาฯโดยตรง และ นักเรียนในโครงการผลิตพยาบาลเพื่อพัฒนาสุขภาพประชาชนในจังหวัดชายแดนตามรอยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปัจจุบัน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับเป็นองค์ประธานมูลนิธิฯ เพื่อให้โอกาสบุตรของข้าราชการตำรวจตระเวนชายแดนหรือศิษย์เก่าโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ได้รับโอกาสทางการศึกษา ปีละ 30 ทุน

สำหรับจำนวนนักศึกษาที่ได้รับทุนกองทุนเสมาฯ ของวิทยาลัยฯ นครลำปาง ย้อนหลังตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปี 2560 รวม 217 คน ซึ่งจะได้รับทุนปีละ 30,000 บาท ต่อมาปี 2553 ปรับขึ้นปีละ 40,000 บาทต่อปี โดยวิทยาลัยฯ นครลำปาง เริ่มประสบปัญหาเงินกองทุนไม่เข้าในปี 2557 ทำให้นักศึกษาไม่ได้รับการจัดสรรเงิน รวมไปถึงนักศึกษาในโครงการของสมเด็จย่าด้วย ต่อมาทางวิทยาลัยได้ทำหนังสือทวงถามไปยังคณะกรรมการกองทุนฯ ซึ่งได้ติดต่อกับ นางรจนา สินที เลขาคณะอนุกรรมการพิจารณากองทุนฯ ซึ่งงตอบกลับว่า อยู่ในระหว่างการดำเนินการ และบางครั้งก็ระบุว่ามีการส่งรายชื่อล่าช้า ต่อมาในปี 2559 คณะกรรมการกองทุนฯ ส่งเงินกองทุนมาในรอบปีการศึกษา 2558 แต่ไม่ได้ส่งเงินของปีการศึกษา 2559 หลังจากนั้นไม่มีการส่งเงินมาอีกเลย ส่งผลให้นักศึกษา ตั้งแต่ปี 2557 ถึงปัจจุบันไม่ส่งเงินมาอีกเลย ส่งผลให้ นักศึกษากว่า 30 คน ประสบปัญหาสภาพคล่องในการชำระค่าเทอม และการดำรงชีพเกิดติดขัด

https://youtu.be/e_W8B8QEptI

นอกจากวิทยาลัยที่ได้ส่งหนังสือทวงถามเงินกองทุนเสมาฯ ที่ไม่เข้าประจำปีการศึกษา 2557 นักศึกษาในรุ่นปี 2556 ได้มีการติดตามทวงถามผ่านทางโทรศัพท์ไปตามหมายเลข 089965xxxx ปลายสายคือ นางรจนา สินที โดยได้รับการชึ้แจงถึงความล่าช้าของการโอนเงินกองทุนแตกต่างกัน

นางสาวชญาน์นันท์ สายเครือแปง นักศึกษาที่ได้รับทุนฯ รุ่นที่ 36 เล่าว่า ตนได้พยายามโทรศัพท์ติดตามทวงถามเงินกองทุนจาก นาง รจนา มาตลอด 1 ปี เพราะในช่วงปี 2558 ทุนได้รับความล่าช้าไป 1 ปี และปี 2559 ซึ่งเป็นการสุดท้ายของการศึกษาไม่ได้รับทุนแม้แต่บาทเดียว แต่นางรจนา อ้างว่า อยู่ระหว่างการดำเนินการ และบางครั้งอ้างว่า กำลังรับเสด็จ ทำให้ตน และบิดาซึ่งมีอาชีพซ่อมรถจักรยานยนต์ มีรายได้ต่อเดือนไม่ถึง 10,000 บาท ต้องนำรถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นทรัพย์สินเพียงชิ้นเดียวไปแลกเป็น สินเชื่อได้ 10,000 บาท โดยมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 20 รวมกับเงินกู้ ก.ย.ศ. อีกจำนวนหนึ่งไปสำรองจ่ายค่าเทอม ที่ผ่านมาตอนมีความหวังจะได้รับเงินกองทุนก้อนนั้นมาชำระหนี้ ซึ่งปัจจุบันยังผ่อนอัตราดอกเบี้ยไม่หมด

https://youtu.be/OjKfGkao3C0

ผลกระทบนี้เกิดขึ้นกับกลุ่มนักศึกษาที่ใช้ความพยายามจากความรู้ความสามารถในการสอบเข้าชิงทุนกองทุนเสมาฯ ด้วยความคาดหวังว่า เงินกองทุนฯ จะเปิดโอกาสทางการศึกษาให้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น นางสาว กัญญาวีร์ แซ่ม้า อายุ 22 ปี นักศึกษาพยาบาล ปี 3 เธอต้องฝ่าฟันอุปสรรคต่อความยากจนที่ทำให้ครอบครัวเธอไม่ส่งเธอเรียนต่อ แต่ด้วยความพยายามในการหาทุน กองทุนเสมาฯ นับว่าเป็นเป็นแสงสว่างที่ส่องเข้ามาท่ามความมืดมน แสงสว่างนั้นต้องดับลงเมื่อเรียนในชั้นปีที่ 2 เมื่อเงินกองทุนไม่เข้า ด้วยฐานะทางครอบครัวยากจน เป็นเพียงเกษตรกรที่มีรายได้เพียงแค่ประคองชีพในแต่ละวัน

หนทางที่จะทำให้กัญญาวีร์ได้เรียนต่อได้ คือต้องขอให้พ่อแม่ยืมเงินจ่ายค่าเทอม และนำเงิน กยศ.เดือนละ 2,000 บาท ที่เดิมเป็นค่าครองชีพและค่าใช้จ่าย และตนต้องหารายได้เสริมจากการรับจ้างทำงานบ้านในโครงการที่วิทยาลัยฯได้ทำไว้ให้สำหรับนักศึกษาที่ประสบปัญหาทางการเงิน ได้ทำงานสัปดาห์ละวัน ค่าแรงวันละ 300-500 บาท ซึ่งรายได้นั้นจะต้องทำมาใช้กินอยู่ ใช้ในการซื้ออุปกรณ์การเรียนแต่ละวัน ค่าใช้จ่ายอาหาร 3 มื้อต่อวัน 120 บาท ค่าเอกสารอุปกรณ์การเรียนเดือนละ 200 -500 บาท ค่าของใช้ส่วนตัวเดือนละ 500 บาท และค่าซักผ้า เดือนละ 400 บาท เฉลี่ยเดือนหนึ่งมีรายจ่าย 4,000 บาท

ขณะที่ศักยภาพการหารายได้ทำได้เพียงเดือนละ 2,000 บาท และเงิน กยศ.ที่กู้มาเป็นค่าใช้จ่าย ต้องกักเงินไว้จ่ายค่าเทอม ด้วยความอัตคัต ขัดสน บางครั้ง เธอต้องหยิบยืมค่าข้าวจากเพื่อน และบางครั้งต้องอดข้าวในบางมื้อ แม้ความลำบากนี้จะบั่นทอนจิตใจให้รู้สึกท้อถอย แต่เธอไม่ท้อถอยในการเรียนต่อให้จบการศึกษา เพื่อออกมามีงานทำในพื้นที่ ตามความใฝ่ฝันอยากเป็นพยาบาล เพื่อกลับมาพัฒนาชุมชนบ้านเกิดตัวเองให้เป็นไปหลักสุขอนามัย และความฝันถึงการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปางแก ต.บ้านปางแก อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน เพื่อการรักษาพยาบาลที่ทั่วถึงคนในกลุ่มชาติพันธุ์ม้งได้ทั่วถึง มีระบบสวัสดิการการรักษาอย่างครอบคลุม

https://youtu.be/k9aX5YLjDJk

ทีมข่าวติดตามวิถีชีวิตนางสาวกัญญาวีร์ แซ่ม้า เดินทางจากวิทยาลัยพยาบาลฯ นครลำปาง จังหวัดลำปาง กลับบ้านเกิดของเธอ ที่หมู่บ้านปางแก ต.บ้านปางแก อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน ระยะทางกว่า 350 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 1 วัน โดยสารรถประจำทางระหว่างจังหวัด 3 ต่อ คือ จากจังหวัดลำปางมาต่อรถที่จังหวัดแพร่ แล้วต่อรถมาจังหวัดน่าน ค่าใช้จ่ายรวมกว่า 300 บาท แต่ 300 บาทนี้ เป็นจำนวนเงินค่อนข้างมาก สำหรับนักศึกษายากจนที่มีเวลาทำงานหารายได้เสริมเพียงสัปดาห์ละวัน เพราะต้องเรียนในเวลาและนอกเวลารวม 6 วัน การกลับบ้านครั้งหนึ่ง สามารถทำได้เพียงปีละ 2 ครั้ง สภาพความเป็นอยู่ที่แร้นแค้น ต้องช่วยพ่อแม่ทำงานยามกลับบ้าน และนี่คือสภาพบ้านของเธอ

เมื่อระบบการศึกษาคือประตูเปิดโอกาสในชีวิตของเด็กยากจน ไม่แปลกที่เด็กที่มีความตั้งใจเพียร จะไขว่คว้าหาโอกาสนั้น เพื่อความหวังจะได้ทำให้ครอบครัวของเขามีชีวิตที่ดีขึ้น หนีสภาพความยากจนที่ต้องเผชิญมาทั้งชีวิต แต่ความฝันนั้นกลับถูกผู้บริหารโลภมากที่นั่งทำงานห้องปรับอากาศ ขโมยความหวัง ขโมยโอกาส ไปจากเด็กยากจนนับพันคนที่อยู่กลางแสงแดด เม็ดฝนและสายลม ทำงานทุกอย่างเพื่อหาเงินมาเรียนต่อ จะเห็นได้ว่า ว่าแสงสว่างที่ปลายทางประตูโอกาสการศึกษาของพวกเขาจะหริบหรี่ เพราะถูกริดรอนสิทธิทางการศึกษาแต่ไม่อาจพรากความหวังของกลุ่มเด็กกลุ่มนี้ได้ ด้วยความพยายามและอดทน ต่อผลกระทบการทุจริตคอร์รัปชันของผู้ใหญ่ในวงบริหาร จะทำให้พวกเขาเรียนรู้การเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไป

พรชัย กองคำ ถ่ายภาพ
พรทิพย์ โม่งใหญ่ รายงาน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : เส้นทาง “ยักยอก” เงินกองทุนเสมาพัฒนาชีวิต

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า