Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – ยิ่งดื่มเหล้า-เสพยา ความรุนแรงเพิ่มเท่าตัว แนะใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือช่วย ภาครัฐเพิ่มกลไกให้คำปรึกษา เน้นเข้าใจ-เป็นมิตร ด้านอดีตเหยื่อความรุนแรง วอนสังคมช่วยแจ้งเหตุร้าย อย่าเฉยมองเป็นเรื่อง “ผัวเมีย”

หลังเกิดกรณีนายชัยชนะ ศิริชาติ หรือ เอ็ม ชายหนุ่มไลฟ์เฟซบุ๊ก ทำร้ายร่างกายแฟนสาวจนบาดเจ็บสาหัส ภายในคอนโดมิเนียมแห่งหนึ่งย่านนวมินทร์ น.ส.จรีย์  ศรีสวัสดิ์ ฝ่ายส่งเสริมภาคีเครือข่าย มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า สถิติที่มูลนิธิฯ เก็บข้อมูลทางหน้าหนังสือพิมพ์ พบส่วนใหญ่สถานการณ์ความรุนแรงในคู่รักหรือแฟน มักจะเป็นฝ่ายชายที่กระทำกับฝ่ายหญิง โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 54.55 ในปี 2557 เป็น ร้อยละ 65.2 ในปี 2559

จรีย์ ศรีสวัสดิ์ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล

โดยมีชนวนเหตุมาจากความหึงหวง ซึ่งสะท้อนทัศนคติที่ถูกปลูกฝังว่า เมื่อหญิงและชายมีความสัมพันธ์กันแล้ว ทั้งในรูปแบบของสามี-ภรรยา หรือคู่รักแบบแฟน ฝ่ายชายมักคิดว่า ฝ่ายหญิงต้องเป็นสมบัติของฝ่ายชาย ถือเป็นการใช้อำนาจเหนือกว่า ผ่านการแสดงออก พฤติกรรมความเป็นเจ้าของ การครอบครอง การใช้กำลังบังคับข่มขู่ ทำร้ายร่างกาย จนถึงขั้นร้ายแรงที่สุด ก็คือ การฆ่า ซึ่งผู้กระทำ จะไม่มองคนรักว่าเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ยิ่งไปกว่านั้นหากมีปัจจัยกระตุ้น เช่น ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และใช้สารเสพติด จะทวีความรุนแรงเป็นเท่าทวี

“เมื่อใครที่ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ลักษณะนี้ สิ่งที่ต้องทำคือ จับสัญญาณว่าผู้ชาย หรือ คนรัก มีปัจจัยเสี่ยงทั้งดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และใช้ยาเสพติดอะไรหรือไม่ และเมื่อทะเลาะกัน มักจะใช้คำหยาบ ทำลายของใช้ในบ้าน เมื่อเริ่มมีพฤติกรรมลักษณะนี้ ต้องคิดไว้เสมอว่า ผู้ชายจะไต่ระดับความรุนแรงขึ้นแน่นอน ดังนั้นผู้หญิงต้องกล้าที่จะต่อรองเพื่อป้องกันการทำร้ายร่างกาย แต่จากสถิติที่ผ่านมา พบว่า ผู้หญิงส่วนใหญ่มักเลือกที่จะอดทน ถูกสอนให้ต้องอดทน ให้อภัย ให้โอกาส เพราะผู้กระทำเป็นสามี”

ทั้งนี้ ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ต้องมีกลไกเข้าให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาอย่างเข้าใจ ตรงจุด เป็นมิตร และผู้หญิงเองก็ต้องสร้างเงื่อนไขในการให้อภัย เพื่อให้ผู้กระทำได้รับบทเรียนและนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ ทั้งนี้ผู้ที่อยู่ในข่ายอันตรายหรือมีแนวโน้มที่เสี่ยงจะถูกกระทำ สามารถโทรขอคำปรึกษา ได้ที่มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล 02-5132889หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ของมูลนิธิ

ทิชา ณ นคร

นางทิชา ณ นคร ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและเยาวชน และผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก กล่าวว่า การทำร้ายร่างกายโดยอ้างความรัก มันเป็นสัญญาณอันตรายที่ผู้หญิงทุกคนพึงระวัง และต้องเตรียมทางหนีทางออกไว้ให้ดี อย่าคิดว่าความรักที่มอบให้เขาจะหยุดความรุนแรงนั้นได้ เพราะเราอาจบาดเจ็บ พิการหรืออาจตายไปก่อน และในฐานะเพื่อนร่วมสังคม โดยเฉพาะสังคมออนไลน์ หลักการสำคัญที่ต้องยึดถือร่วมกัน คือ ไม่สนับสนุนการใช้ความรุนแรงในชีวิตคู่ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเพราะความรัก ความหึงหวง หรือใดๆ ก็ตาม

น.ส.เอ (นามสมมติ) อายุ 33 ปี ที่เคยถูกกระทำความรุนแรงจากอดีตสามี กล่าวว่า เคยใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับอดีตสามีนานกว่า3 ปี ต้องทนกับพฤติกรรมทำร้ายร่างกายถูกทุบตี เป็นประจำ บางวันมีรอยฟกซ้ำไม่กล้าไปทำงาน ระยะหลังเขาเริ่มดื่มเหล้าหนักขึ้น จนถูกไล่ออกจากงาน และภาระทั้งหมดตกอยู่ที่ตนต้องหาเลี้ยง เมื่อดื่มหนักขึ้นก็มีปากเสียง ทะเลาะ ด่าท้อ ชอบหึงหวงคิดว่า ตนนอกใจ จึงทำร้ายร่างกายด้วยการบีบคอ ชกต่อย ใช้บุหรี่จี้แขน และถูกซ้อมจนสลบ รักษาตัวอยู่โรงพยาบาลนานถึง 20 วัน จากนั้นฝ่ายชายมาง้อ ด้วยรักจึงให้โอกาสเพราะคิดว่าคือพ่อของลูก

กระทั้งฝ่ายชายติดคุกข้อหายาเสพติด เมื่อพ้นโทษพฤติกรรมทำร้ายร่างกายก็เกิดขึ้นอีก คือใช้มีดฟันไปที่ศีรษะ แต่ตนใช้มือบังไว้ จนทำให้เส้นเอ็นขาด ต้องไปทำกายภาพบำบัดตลอด และตอนนี้เลิกกับอดีตสามีเด็ดขาด อยากฝากเป็นบทเรียนกับสังคมว่า การอดทนเพราะรัก มันไม่ช่วยแก้ปัญหา เมื่อโดนครั้งแรกก็ต้องมีครั้งต่อไปแน่นอน ตราบใดที่ผู้ชายยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และเมื่อเกิดความรุนแรงขึ้นสิ่งที่ควรทำ คือ ต้องหน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือทันที  หรือหากประเมินแล้วว่า เสี่ยงอันตรายก็ให้เตรียมหาหน่วยช่วยเหลือ เช่นมูลนิธิ  หรือ กลไกของกระทรวงพัฒนาสังคมฯ โทร 1300 ได้ เพื่อป้องกันหรือแก้ไขเมื่อสถานการณ์เลวร้ายเกิดขึ้น ส่วนคนพบเห็นเหตุการณ์ร้ายอย่าเฉย มองเป็นเรื่องผัวเมีย ต้องช่วยแจ้งเหตุ เพราะความรุนแรงไม่ใช่เรื่องส่วนตัวคุณสามารถช่วยได้

 

ขอบคุณภาพปก healthandtrend

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า