Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

หลังจากที่มีพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้ง ส.ส. และ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดวันเลือกตั้ง 24 มี.ค.62 และวันรับสมัครเลือกตั้ง ส.ส. 4-8 ก.พ. 62 หลายพรรคเริ่มมีความชัดเจนในการประกาศชื่อผู้ที่จะอยู่ในบัญชีรายชื่อนายกรัฐมนตรีของพรรคการเมือง

ย้อนกลับไปดู รัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 กำหนดที่มาของนายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง คือ ต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่รัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดที่มาของนายกรัฐมนตรีต่างออกไป โดยให้พรรคการเมืองส่งรายชื่อบุคคลที่จะเสนอให้เป็นนายกรัฐมนตรี ไม่เกินสามรายชื่อ โดยไม่ได้กำหนดคุณสมบัติว่าต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่

กำหนดให้ส่งบัญชีรายชื่อนายกรัฐมนตรี ในช่วงเวลาเดียวกับการรับสมัคร ผู้ลงสมัคร ส.ส.ทั้งแบบแบ่งเขต และแบบบัญชีรายชื่อ เท่ากับว่า เมื่อถึงวันลงคะแนนเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิ์จะรู้ว่า บัตรใบเดียวที่ตนลงคะแนนให้พรรคใดไป ย่อมหมายถึง เลือกทั้ง ส.ส. และ ชื่อนายกรัฐมนตรีที่พรรคนั้นเสนอด้วย

สนช.ลงมติ ผ่านร่างกฎหมาย ป.ป.ช. (25 ธ.ค. 60)

แต่ใครจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี จะต้องเข้าสู่กระบวนการลงคะแนนของ ส.ส. 500 คน รวมกับ วุฒิสภา (ส.ว.) ที่ คสช.แต่งตั้งอีก 250 คน ตามบทเฉพาะกาล โดยมีข้อกำหนดปลีกย่อย คือ จะต้องมาจากพรรคการเมืองที่มีเสียงในสภาผู้แทนราษฎร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 คือ มาจากบัญชีของพรรคที่มี ส.ส.อย่างน้อย 25 คน (เท่ากับต้องผ่านด่านได้รับความเห็นชอบจากประชาชนผ่านจำนวน ส.ส.ของพรรคก่อน) และการเสนอชื่อเข้าสู่การโหวต ต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของสภาผู้แทนราษฎร (50 คน) รับรอง

ส่วนผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีต้องได้รับคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของ ส.ส.และ ส.ว.รวมกัน คือ 376 เสียง จาก 750 เสียง ( ส.ส.500+ส.ว.250)

สำหรับรายชื่อผู้ที่จะอยู่ในบัญชีนายกรัฐมนตรีของพรรคการเมือง บางพรรคประกาศชัดเจนแล้ว บางพรรคแม้ยังเป็นเพียงรายงานข่าวแต่ก็เห็นทิศทางจากการให้สัมภาษณ์ของแกนนำคนสำคัญ

1.พรรคเพื่อไทย
เบื้องต้นเปิดเผยมาแล้ว 2 รายชื่อ คือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์การเลือกตั้งพรรคเพื่อไทย และ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีต รมว.คมนาคม โดยพรรคยืนยันจะส่งครบทั้ง 3 ชื่อ


2. พรรคพลังประชารัฐ
ยังไม่มีการระบุชื่ออย่างเป็นทางการ แต่รายงานข่าว ระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเป็นรายชื่ออันดับ 1 ของพรรค ส่วนอีก 2 คนคือ นายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรค อดีต รมว.อุตสาหกรรม และ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 29 ม.ค. นายสมคิด ให้สัมภาษณ์ว่า ไม่เกี่ยวกับพรรค ไม่เคยร่วมประชุมด้วย ตนเองเตรียมตัวเกษียณและวางแผนเที่ยว

 


3. พรรคประชาธิปัตย์
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ถูกวางไว้ชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพียงชื่อเดียว อย่างไรก็ตาม อาจมีการปรับแผนเสนอชื่อ นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีและประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ เข้ามาเพิ่ม

4. พรรคภูมิใจไทย
ประกาศทางการส่งชื่อ นายอุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคเข้าชิงนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียว

5. พรรคประชาชาติ
ที่ประชุมพรรคเมื่อ 29 ม.ค. มีมติเสนอชื่อบัญชีนายกรัฐมนตรี 3 คน คือ 1.นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรค 2. พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรค อดีต เลขาธิการ ศอ.บต.และ 3.ดร.ณหทัย ทิวไผ่งาม รองหัวหน้าพรรค  แกนนำพรรคตั้งเป้าได้ ส.ส.20 คน ถ้าจะให้ทั้ง 3 ชื่อมีลุ้นเข้าสู่การโหวตของสภาต้องขยับ ส.ส.ให้ได้ถึง 25 คน

6. พรรคเพื่อชาติ
เสนอชื่อ นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ หัวหน้าพรรคเพียงคนเดียว ยังต้องลุ้น ส.ส.ขั้นต่ำ 25 คน

พรรคไทยรักษาชาติ

7. พรรคไทยรักษาชาติ
คาดว่าจะเสนอชื่อ นายจาตุรนต์ ฉายแสง ประธานยุทธศาสตร์พรรค และ ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช หัวหน้าพรรค ยังต้องลุ้น ส.ส.ขั้นต่ำ 25 คน

8. พรรคอนาคตใหม่
เสนอชื่อ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรค ยังต้องลุ้น ส.ส.ขั้นต่ำ 25 คน

9.พรรคเสรีรวมไทย
เสนอชื่อ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส หัวหน้าพรรค ยังต้องลุ้น ส.ส.ขั้นต่ำ 25 คน

10 พรรครวมพลังประชาชาติไทย แกนนำคนสำคัญ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประกาศชัดเจนจะไม่เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีของพรรรค

 

ทั้งนี้วันสุดท้ายที่จะรู้ว่า พรรคไหนส่งชื่อใครลุ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คือ ภายในวันที่ 8 ก.พ. ซึ่งจะเป็นวันสุดท้ายของการรับสมัคร ส.ส. นั่นเอง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า