SHARE

คัดลอกแล้ว

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 7 มีนาคม ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร  ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จัดเวทีสาธารณะหัวข้อ “เปิดแนวคิดพรรคการเมืองกับนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน” เชิญตัวแทนพรรคการเมืองนำเสนอนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณวิทิต มันตาภรณ์ ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กล่าวเปิดงาน

ศาสตราจารย์กิตติคุณวิทิต มันตาภรณ์ กล่าวว่าสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยตกอยู่ในสภาวะน่าเป็นห่วงหลายเรื่อง เช่น เรื่องการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย การควบคุมตัวบุคคลโดยพละการ การคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออก การริดรอนสิทธิในการชุมนุมอย่างสงบ การคุ้มครองและปกป้องสิทธิมนุษยชน คุ้มครองผู้ขอลี้ภัยและคนงานที่ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การส่งเสริมสิทธิความเป็นส่วนตัวในการใช้งานคอมพิวเตอร์ การให้การเยียวยาเมื่อเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน และยกเลิกโทษประหารชีวิต อย่างไรก็มี ยังมีเรื่องที่รัฐบาลไทยทำได้ดีและสามารถพัฒนาขึ้นได้อีก ตั้งแต่เรื่องสิทธิเรื่องเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรม ซึ่งรัฐบาลต่าง ๆ มีความพยายามในการขจัดความยากจนได้ดีพอสมควร แต่ความเหลื่อมล้ำยังกว้างขึ้นและความห่างยังเป็นประเด็นอยู่ เรื่องนโยบายทางด้านสาธารณสุขอย่าง 30 บาทรักษาทุกโรคที่ต้องคงอยู่และส่งเสริม เรื่องความเอื้อเฟื้อต่อผู้เป็น HIV เรื่องขยายการศึกษาอย่างทั่วถึง ซึ่งทำได้ดีในเด็กไทย แต่ควรขยายให้เป็นสิทธิของเด็กทุกคนที่อาศัยในประเทศไทย เรื่องเพศและเพศสภาพ ประเทศไทยมีพรบ.เท่าเทียมทางเพศที่คลุมถึงการแสดงออกของกลุ่มหลากหลายทางเพศ ปัจจุบันหน่วยราชการมีการแต่งกายที่หลากหลายและยังมีพลวัตไปสู่พ.ร.บ.คู่ชีวิตซึ่งเป็นนิมิตที่ดี และการปราบการค้ามนุษย์ที่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทำได้ดี โดยเป็นครั้งแรกที่ดำเนินคดีกับนายพลได้

สำหรับเวทีเปิดนโยบาย ตัวแทนพรรคต่าง ๆ ได้แก่ วัฒนา เมืองสุข ตัวแทนพรรคเพื่อไทย อลงกรณ์ พลบุตร ตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์ พาลินี งามพริ้ง ตัวแทนพรรคมหาชน เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร ตัวแทนพรรคสามัญชน พรรณิการ์ วานิช ตัวแทนพรรคอนาคตใหม่ ณัฏฐา โกมลวาทิน ผู้ดำเนินรายการที่นี่ไทยพีบีเอส ดำเนินรายการ ทั้งนี้ แอมเนสตีประเทศไทยกล่าวว่ามีการเชิญพรรคพลังประชารัฐไปแล้ว แต่ไม่ได้รับการตอบรับ

ในที่นี้ ทีมข่าวเวิร์คพอยท์รวบรวมนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของพรรคต่าง ๆ มาให้ดูกัน

https://www.facebook.com/WorkpointNews/videos/773080473061560/

คำถามที่ 1: นโยบายสิทธิมนุษยชนที่โดดเด่นของพรรคและนโยบายอันดับแรก ๆ ที่จะดำเนินการหากได้เป็นนโยบาย

พรรคเพื่อไทย

  1. ยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่ออกมาโดยขัดหลักนิติธรรม ให้สอดคล้องบริบทสิทธิมนุษยชนโลก
  2. การออกกฎหมายใหม่ต้องเป็นไปตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ
  3. ปฏิรูปองค์กรที่มีส่วนในการละเมิดสิทธิมากที่สุด เช่นองค์กรในกระบวนการยุติธรรมและกองทัพ รวมถึงการยกเลิกการเกณฑ์ทหารด้วยที่ไม่สอดคล้องกับบริบทภัยคุกคามรูปแบบใหม่

พรรคประชาธิปัตย์

  1. จัดตั้งกรรมการระดับชาติเพื่อจัดทำกรอบสิทธิมนุษยชนแห่งชาติโดยครอบคลุมสิทธิมนุษยชน 21 ประการเพื่อให้เกิดความชัดเจนและฟื้นฟูภาพลักษณ์ของรัฐบาลไทยในเวทีโลก
  2. ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม โดยจะมีการปฏิรูปตำรวจครั้งใหญ่ให้เหลือเพียงตำรวจส่วนกลาง นอกเหนือจากนั้นจะเป็นตำรวจที่อยู่ภายใต้จังหวัดทั้งสิ้นเพื่อสนับสนุนการตรวจสอบและความมีส่วนร่วมของประชาชน
  3. ปฏิรูปกฎหมาย

พรรคมหาชน

  1. สิทธิมนุษยชนคือความเท่าเทียม โดยพรรคมหาชนเน้นความเท่าเทียมทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และมนุษยธรรม
  2. ยกเลิกพระราชบัญญัติปราบปรามการค้าประเวณีซึ่งริดรอนสิทธิมนุษยชนของคนที่ทำงานในภาคบริการ
  3. ส่งเสริมความหลากหลายทางเพศ

พรรคสามัญชน

  1. สร้างกลไกการให้ความคุ้มครองนักปกป้องสิทธิ การป้องกันการซ้อมทรมาณและการคุ้มครองมิให้บุคคลสูญหาย
  2. ผลักดันเรื่องความเสมอภาคและความเท่าเทียมเป็นธรรมทางเพศเป็นวาระแห่งชาติ
  3. สนับสนุนให้ผู้หญิงมีสิทธิในเนื้อตัวร่างกายของตนเอง เช่น ในเรื่องการทำแท้ง
  4. ทบทวนกฎหมายที่จำกัดสิทธิและกีดกันไม่ให้แรงงานข้ามชาติ พนักงานบริการทางเพศ เข้าถึงระบบสวัสดิการ รวมถึงกฎหมายซึ่งกีดกันผู้ลี้ภัยไม่ให้เข้าถึงสิทธิในการทำงาน
  5. แก้ไขกฎหมายที่ควบคุมสิทธิเสรีภาพที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนทั้งหมด ยกเลิกคำสั่งคสช.ทั้ง 35 ฉบับ ยุติการดำเนินคดีกับนักปกป้องสิทธิ นักกิจกรรม นักศึกษา สื่อมวลชน ทนายความ หรือใครก็ตามที่พยายามพูดความจริงในสังคม ยกเลิกข้อกล่าวหาที่เกี่ยวข้องกับการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของนักกิจกรรมและคนไทยทุกคนซึ่งลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศตั้งแต่รัฐประหาร 2549 เป็นต้นมา

พรรคอนาคตใหม่

  1. ยกเลิกกฎหมายพิเศษที่ใช้ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นกฎอัยการศึกหรือว่าพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งประกาศใช้มา 14 ปีแต่ไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ ทั้งยังเป็นช่องให้เจ้าหน้าที่ละเมิดสิทธิของประชาชนในพื้นที่ โดยเสนอให้เปลี่ยนมาใช้กฎหมายปกติ
  2. ให้มี Transitional Justice หรือความยุติธรรมเปลี่ยนผ่าน โดยเยียวยาผู้ถูกรัฐบาลละเมิดสิทธิ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานว่าความยุติธรรมไม่มี ความสามัคคีไม่เกิด
  3. แก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 279 ซึ่งบัญญัติให้ประกาศคำสั่งต่าง ๆ ของคสช.ถูกต้องชอบธรรมโดยรัฐธรรมนูญ
  4. ยกเลิกประกาศคำสั่งคสช.หลายสิบฉบับที่ออกมาในรอบ 4 ปี 8 เดือนที่ผ่านมา โดยตั้งคณะกรรมการพิจารณาใหม่ทั้งหมด ประกาศคำสั่งใดที่มีผู้ได้ประโยชน์ไปแล้วโดยสุจริต ประชาชนได้ประโยชน์ก็ให้เปลี่ยนให้เป็นกฎกระทรวง พระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาตามแต่ศักดิ์ของกฎหมาย ยกเลิกกฎหมายที่ละเมิดประชาชนและเยียวยาผู้ได้รับความเสียหาย

 

คำถามที่ 2 : ในประเทศไทยกลุ่มผู้ลี้ภัยและกลุ่มแรงงานข้ามชาติเป็นกลุ่มคนที่เปราะบาง  การถูกละเมิดสิทธิและการต้องการความคุ้มครอบเป็นพิเศษเพื่อให้พวกเขาสามารถใช้สิทธิมนุษยชนได้เท่าเทียมกับคนอื่นเป็นเรื่องสำคัญ แต่อุปสรรคคือการที่รัฐบาลไทยไม่รับรองสถานะผู้ลี้ภัยของพวกเขาภายใต้บริบาทความรับผิดชอบร่วมกันในระดับภูมิภาค พรรคมีวิธีจัดการแก้ไขปัยหาผู้ลี้ภัยที่ยั่งยืนและเป็นรูปธรรมอย่างไรบ้าง?

 

พรรคประชาธิปัตย์

  1. เร่งรัดการทำงานขอคณะกรรมการบริหารจัดการคนเข้าเมืองเผิดกฎหมายและผู้ลี้ภัย
  2. เร่งรัดขับเคลื่อนกระบวนการคัดกรองคนเข้าเมืองให้มีระบบการคัดกรองผู้อพยพทางเศรษฐกิจและผู้ลี้ภัยให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น
  3. กำหนดแนวปฏิบัติตามหลักการสิทธิมนุษยชนของเจ้าหน้าที่รัฐให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการใช้อำนาจมิชอบ
  4. พิจารณาร่วมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย พ.ศ. 2494 และการตรากฎหมายผู้ลี้ภัยให้ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น การเข้าถึงการศึกษา การทำงาน การรักษาพยายาม
  5. พิจารณาเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 97 ว่าด้วยการอพยพเพื่อการมีงานทำ และฉบับที่ 143 ว่าด้วยการอพยพในสภาพที่ถูกกดขี่และการส่งเสริมการมีโอกาสเท่าเทียมกันและการปฏิบัติต่อคนงาน
  6. สนับสนุนการดำเนินงานตามอนุสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศตามที่รัฐบาลได้ประกาศไว้

พรรคมหาชน

– ให้สัญชาติกับกลุ่มชนเผ่าและกลุ่มความหลากหลายทางชาติพันธุ์ที่อยู่ในประเทศโดยไม่มีเงื่อนไขสลับซับซ้อน

– ไม่ส่งผู้ลี้ภัยไปเผชิญชะตากรรมเมื่ออยู่ในอ้อมกอดของรัฐไทยแล้ว

พรรคสามัญชน

  • ผลักดันให้เกิดสำรวจและผ่อนผันสถานะของผู้อพยพและผู้ลี้ภัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อเปิดกระบวนการพิสูจน์ คัดกรองกำหนดสถานะทางกฎหมายให้เหมาะสมกับคนที่กลุ่มเพื่อให้สามารถเข้าถึงสิทธิสาธารณะและการดำเนินการขั้นพื้นฐานได้เช่นเดียวกับคนไทย
  • ผลักดันให้จัดตั้งคณะกรรมการจัดการคนเข้าเมืองเข้าแทนที่การจัดการของสภาความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อให้เกิดการรับรองสิทธิและผลักดันให้เกิดการจัดการในระยะยาวต่อไป
  • กำหนดแนวนโยบายของรัฐและกฎหมายที่ชัดเจนตามอนุสัญญาที่ได้ลงนามต่อสหประชาชาติ เพื่อป้องกันการผลักดันผู้ลี้ภัยกลับไปเผชิญอันตราย

พรรคอนาคตใหม่

  • ทำให้มีคำว่าผู้ลี้ภัยเกิดขึ้นในระบบกฎหมายไทย และสร้างความเข้าใจต่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
  • ผลักดันให้เกิดความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชนในระดับภูมิภาคในฐานะประธานอาเซียน รับผิดชอบหารือและแก้ปัญหาร่วมกันในหมู่ประเทศอาเซียน
  • ปรับปรุงการขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติให้มีประสิทธิภาพ รวมเร็ว สะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย เพื่อลดต้นทุนนายจ้างและปกป้องคุ้มครองสิทธิแรงงาน

พรรคเพื่อไทย

  • ทำกฎหมายให้อยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียมทางสิทธิมนุษยชนของโลก

คำถามที่ 3 : หลักความเสมอภาคและหลักการไม่เลือกปฏิบัติถือเป็นหลักพื้นฐานของกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ พรรคของคุณวางแผนผลักดันความเสมอภาคให้เป็นกฎหมายอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะการผลักดันกฎหมายพ.ร.บ.คู่ชีวิต

พรรคมหาชน

  • ผลักดันกฎหมายรับรองสิทธิต่าง ๆ เช่น พ.ร.บ.คู่ชีวิตให้ได้สิทธิในการสมรสเท่ากับชายและหญิง
  • แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1448 โดยเปลี่ยนจากคำว่าหญิงและชาย เป็นบุคคล
  • ผลักดันการรับรองเพศในเอกสารราชการให้ตรงกับเพศสภาพและให้แก้คำนำหน้านามได้

พรรคสามัญชน

  • ผลักดันการจ่ายค่าแรงระหว่างเพศที่เท่ากัน
  • ให้มีสวัสดิการเปลี่ยนแปลงร่างกายสำหรับคนที่ต้องการข้ามเพศ เช่น ให้มีวันลาหยุดโดยได้รับค่าจ้างตามปกติ
  • ส่งเสริมการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1448 โดยเปลี่ยนจากคำว่าหญิงและชาย เป็นบุคคล
  • เพิ่มระยะเวลาแจ้งความในคดีล่วงละเมิดให้ยาวนานขึ้นถึง 3 ปี

พรรคอนาคตใหม่

  • ไม่สนับสนุนพ.ร.บ.คู่ชีวิต แต่สนับสนุนให้แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1448 โดยเปลี่ยนจากคำว่าหญิงและชาย เป็นบุคคล
  • สนับสนุนให้ผู้หญิงและเพศหลากหลายเข้าไปเป็นตัวแทนในสภาเพื่อ
  • ส่งเสริมการบังคับใช้พ.ร.บ.ความเท่าเทียมทางเพศให้เกิดขึ้นจริง

พรรคเพื่อไทย

  • พรรคเพื่อไทยจะใช้ Outside-in Approach หรือการเชิญผู้เกี่ยวข้องมาร่วมในกระบวนการออกกฎหมาย

พรรคประชาธิปัตย์

  • สับสนุนให้สภาผู้แทนราษฎรมีความหลากหลายทางเพศผ่านการจัดโครงสร้างส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรค
  • สนับสนุนการร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต พร้อมกับสนับสนุนเรื่องการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1448 ให้เปลี่ยนนิยามคู่สมรมเป็นการสมรสระหว่างบุคคล

คำถามที่ 4 : ตามมาตรฐานสากลแล้วเจ้าหน้าที่จะเข้าควบคุมการชุมนุมเมื่อมีการใช้ความรุนแรงเท่านั้น และยังต้องเป็นไปโดยไม่เกินกว่าเหตุ แต่ปจจุบันเจ้าหน้าที่ฟ้องคดีตามพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะต่อผู้ชุมนุมอย่างสงบเป็นจำนวนมาก พรรคของคุณมมีนโยบายทบทวนกฎหมายนี้อย่างไรเพื่อประกันว่าประชาชนจะไม่ถูกจำกัดเสรีภาพในการชุมนุม

พรรคสามัญชน

  • สนับสนุนให้ยกเลิกพ.ร.บ.การชุมนุมหากมีการละเมิดกฎหมายระหว่างการชุมนุมก็ให้ใช้กฎหมายที่มีอยู่แล้วจัดการ

พรรคอนาคตใหม่

  • สนับสนันการแก้ไขพ.ร.บ.ชุมนุมขัดต่อ เนื่องจากที่ผ่านมามีความชัดเจนว่าจงใจใช้กฎหมายนี้เพื่อสกัดเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบ
  • หยุดวัฒนธรรมพ้นผิดลอยนวลในกรณีที่เจ้าหน้าที่ปราบปรามผู้เข้าชุมนุมโดยมิชอบ
  • ให้สัตยาบรรณในธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศหรือ ICC เพื่อรับรองว่าหากกระบวนการยุติธรรมในประเทศไม่สามารถใช้การได้ ผู้ที่ก่ออาชญากรรมขั้นร้ายแรงจะถูกจัดการโดยกระบวนการยุติธรรมระหว่างประเทศผ่านศาลอาญาระหว่างประเทศ เพื่อการันตีว่าหากรัฐบาลละเมิดประชาชนเสียเองอำนาจยุติธรรมระหว่างประเทศจะช่วยปกป้องคุ้มครองเขาได้

พรรคเพื่อไทย

  • ต้องมีกระบวนการคืนอำนาจในการให้คุณให้โทษให้แก่ประชาชนเพื่อป้องกันการเกื้อกูลในกลุ่มอัยการและตำรวจ
  • ทำให้สังคมเข้าใจความจำเป็นของการเยียวยาผู้เสียหายจากการถูกเจ้าหน้าที่ละเมิด

พรรคประชาธิปัตย์

  • แก้ไขพ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ให้คุ้มครองสิทธิเสรีภาพโดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ และห้ามชุมนุมให้เป็นภัยต่อสาธารณะ ความมั่นคง ความสงบ หรือละเมิดสิทธิของผู้อื่น

พรรคมหาชน

  • สนับสนุนให้เสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบโดยมีการจำกัดเขตพื้นที่ให้ชัดเจนและไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น และต้องเป็นการชุมนุมที่หวังผลักดันประเด็นสาธารณะให้มีพื้นที่ ไม่ใช่การชุมนุมเพื่อล้มล้างรัฐบาลที่มีจากการเลือกตั้ง

ข้อที่ 5 : ในปัจจุบันมีกฎหมายมากมายที่จำกัดเสรีภาพในการแสดงออก ข้อหาหมิ่นประมาททางอาญา ข้อหายุยงปลุกปั่นภายใต้มาตรา 161 และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ฉบับแก้ไขภายใต้รัฐบาลปัจจุบัน พรรคของคุณมีนโยบายทบทวนกฎหมายเหล่านี้อย่างไรเพื่อประกันว่าประชาชนจะมีเสรีภาพในการแสดงออกโดยไม่ต้องกลัวการกลั่นแกล้งจากภาครัฐและภาคประชาชน

พรรคอนาคตใหม่

  • แก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ให้ครอบคลุมเพียงเรื่องทางเทคนิกที่จำเป็นในยุคดิจิทัล แต่ในส่วนของการปล่อยข่าวเท็จข่าวลวงให้ใช้กฎหมายที่มีอยู่แล้ว เช่น กฎหมายหมิ่นประมาทก็เพียงพอ
  • ความผิดฐานหมิ่นประมาทไม่ควรมีการลงโทษทางอาญา แต่ควรเป็นคดีแพ่งที่ชดใช้ได้ด้วยการปรับสินไหมเท่านั้น
  • พลเรือนต้องไม่ขึ้นศาลทหาร
  • แก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 161

พรรคเพื่อไทย

  • ทบทวนกระบวนการยุติธรรมให้ศาลและพนักงานยุติธรรมมีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ตนเอง

พรรคประชาธิปัตย์

  • แก้ไขกฎหมายที่ริดรอนสิทธิและเสรีภสพในการแสดงออกของประชาชน
  • กฎหมายชุดที่รองรับเรื่องไซเบอร์จะต้องได้รับการปรับปรุง โดยเฉพาะนิยามที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันไม่ให้เปิดช่องในการกลั่นแกล้ง เช่น นิยามของความมั่นคงจะต้องถูกจำกัดให้แคบที่สุด
  • ประชาธิปัตย์จะทำงานตรวจสอบถ่วงดุลร่วมกับองค์กรอิสระ เช่น ศาลปกครอง กรรมการสิทธิมนุษยชน แะผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยไม่แทรกแซง

พรรคมหาชน

  • เสรีภาพในการแสดงความคิดต้องมีได้ในทุกระดับ โดยเฉพาะระดับวัฒนธรรมการพิจารณาของกปว.หรือกองเซ็นเซอร์เป็นการทำลายคุณค่าทางวัมนธรรมและตัดโอกาสทางเศรษฐกิจไม่ให้ได้รับโอกาสในเวทีนานาชาติ
  • แต่กฎหมายหมิ่นประมาทยังจำเป็นต้องมีเพื่อปกป้องผู้บริสุทธิ์

พรรคสามัญชน

  • ยุติการดำเนินคดีตามคำสั่งคสช.และคืนสิทธิที่ผู้ต้องขัง ผู้ต้องหาทุกคนสมควรได้รับ
  • ผลักดันและช่วยเหลือผู้ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีโดยเอกชนเนื่องจากการเรียกร้องสิทธิชุมช

 

ข้อที่ 6 : ตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนแล้วกรใช้กฎหมายควรคำนึงถึงความจำเป็นและความได้สัดส่วน

แต่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ความมั่นคงมักถูกนำมาใช้ละเมิดสิทธิมนุษยชน พรรคต่าง ๆ มีแนวทางแก้ไขอย่างไร

พรรคเพื่อไทย

  • เปลี่ยนแนวคิดเอาการเมืองนำการทหาร โดยจะแก้ไขปัญหาด้วยการเจรจา
  • ส่งเสริมการยอมรับความหลากหลายและแตกต่างทางวัฒนธรรม
  • ทำให้เรื่องปัญหา 3 จังหวัดเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อให้ทั้งประเทศมีโอกาสแก้ไขร่วมกัน

พรรคประชาธิปัตย์

  • ยกเลิกกฎหมายพิเศษ เช่น กฎอัยการศึก พระราชกำหนดฉุกเฉิน
  • ใช้แนวทางการเมืองนำการทหาร

พรรคมหาชน

  • ปรับมุมมองการมองปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยอมรับความหลากหลาย และมองคนให้เป็นคนเช่นเดียวกัน
  • พรรคมหาชนเชื่อว่าหากนำฟุตบอลไปจัดที่ปัตตานีก็จะไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น

พรรคสามัญชน

  • สนับสนุนให้ประชาชนกำหนดชีวิตของตนเอง
  • ทบทวนยกเลิกกฎหมายกฎอัยการศึกษา พรก.ฉุกเฉิน พระราชบัญญัติรักษาความมั่นคงภายในประเทศและเปลี่ยนมาใช้กฎหมายที่มีในประมวลกฎหมายอาญาตามปกติ
  • ผลักดันให้มีกระบวนการเยียวยาผู้เสียหาย

พรรคอนาคตใหม่

  • ยกเลิกกฎหมายพิเศษ เช่น กฎอัยการศึก ที่ทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติและยิ่งส่งเสริมความคับแค้นใจของคนในพื้นที่
  • พรก.ฉุกเฉินยังสามารถมีได้แต่ต้องเคร่งครัดยิ่งขึ้นในการออก เมื่อพ้นระยะเวลา 7 วันต้องส่งให้รัฐสภาพิจารณาว่ามีความจำเป็นหรือไม่ เมื่อพ้นระยะเวลา 30 วันคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีสิทธิฟ้องศาลปกครองให้เข้ามาดูว่ายังมีสถานการณ์ฉุกเฉินที่จำเป็นต่อการใช้กำหมายดังกล่าวหรือไม่ เนื่องจาก 30 วันสถานการณ์ฉุกเฉินควรจบได้แล้ว
  • มีความยุติธรรมระยะเปลี่ยนผ่านเพื่อทำให้ความจริงปรากฎว่าเมื่อพ้นช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งไป ใครเป็นผู้ถูกกระทำและได้รับความเสียหาย อันจะสร้างความปรองดองได้ในเวลาต่อมา
  • ผลักดันให้เกิดการเจรจาสันติภาพในระยะยาว โดยมีความจำเป็นว่าต้องเป็นรัฐบาลพลเรือน

 

นอกจากนี้แล้ว ยังมีคำถามเรื่องสิทธิในการคลี่คลายความจริงจากนางอังคณา นีละไพจิตร คำถามเรื่องสิทธนักโทษโดยนางพริ้ม บุญภัทรรักษา มารดาของนายจตุภัทร บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน และคำถามเรื่องพ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์จากศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ (iLaw) อีกด้วย

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า