SHARE

คัดลอกแล้ว

นายวิชิต ชาตไพสิฐ ผู้ว่าสระแก้วสั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งแก้ปัญหาภัยแล้งตาพระยา หลังพื้นที่ดังกล่าวประกาศภัยแล้ง นาไร่ของประชาชนนับพันไร่ขาดแคลนน้ำ

จากกรณีที่ชาวบ้าน อ.ตาพระยา มีความกังวลว่าหากอีก 1 สัปดาห์ไม่มีฝนตก พื้นที่การเกษตรอาจเสียหายทั้งอำเภอ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่เงาฝน ล่าสุดกระทบแล้วเกือบครึ่ง หรือ 50,000 ไร่ อ่างเก็บน้ำหลักน้ำก็ลดต่ำ วอนถึงหน่วยงานในจังหวัดสระแก้วหลังประกาศภัยแล้ง ขณะที่หน่วยฝนหลวงยังเดินหน้าทำฝนหลวงมาตั้งแต่ 1 มิ.ย.แล้ว

วันนี้ (3 ส.ค.62) นายวิชิต ชาตไพสิฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจาก นายอารยันต์ ท่าใหญ่นายอำเภอตาพระยา ว่าพื้นที่ตาพระยาได้รับผลกระทบจากฝนทิ้งช่วงเช่นเดียวกัน อ่างเก็บน้ำห้วยยางและอ่างห้วยตะเคียนมีปริมาณน้ำลดลง เหลือเพียง 7-8% ขณะนี้ได้ประกาศให้อำเภอตาพระยาเป็นพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้ง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร เบื้องต้นทราบว่ามีพื้นที่เริ่มเสียหายแล้วประมาณ 50,000-60,000 ไร่ หรือเกือบครึ่งของพื้นที่เพาะปลูกรวมทั้งหมดของอำเภอตาพระยา ขาดฝนอีก 15 วัน พื้นที่การเกษตรอาจเสียหายทั้งอำเภอ เนื่องจากปริมาณน้ำที่มีอยู่ในอ่างเก็บน้ำนั้นต้องรักษาไว้เพื่อการอุปโภคบริโภค

นายวิชิต ชาตไพสิฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว

โดยขณะนี้มี 1 หมู่บ้าน ประสบปัญหาน้ำไม่เพียงพอ และได้นำรถน้ำไปช่วยเติมระบบประปาหมู่บ้าน อย่างไรก็ดี ทางอำเภอได้ประชุมคณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพื่อวางแนวทางการช่วยเหลือให้ครอบคลุมทั้งพื้นที่ จากการติดตามข้อมูลปริมาณน้ำของโครงการชลประทานสระแก้ว พบว่าฤดูฝนปีนี้ ทุกพื้นที่ของจังหวัดสระแก้วมีฝนตกกระจาย ยกเว้นอำเภอตาพระยา ซึ่งเป็นอำเภอทางตอนเหนือของจังหวัดสระแก้ว อยู่ทางใต้ติดกับ อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์ เป็นพื้นที่เงาฝน มีภูเขากั้น ทำให้ฝนไม่ตกเหมือนที่อื่น ส่งผลให้พื้นที่ทางการเกษตรทำนาข้าวได้รับผลกระทบ ข้าวยืนต้นตาย ซึ่งอ่างเก็บน้ำหลักทั้งสองแห่งถือว่าปีนี้มีน้ำน้อยกว่าปีที่ผ่านมาในช่วงเดียวกัน  โดยอ่างเก็บน้ำห้วยยางมีน้ำเพียง 4.5 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปีที่แล้วกว่า 10 ล้าน ลบ.ม.) อ่างเก็บน้ำห้วยตะเคียนมีน้ำเพียง 0.915 ล้าน ลบ.ม. (ปีที่แล้ว 2.196 ล้าน ลบ.ม.)

ด้านนายสุรพันธ์ สุวรรณไพบูลย์ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดสระแก้ว กล่าวว่า หน่วยฝนหลวงฯ เร่งทำฝนเทียมตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนเป็นต้นมา เพื่อเติมน้ำให้อ่างเก็บน้ำห้วยยางและอ่างเก็บน้ำห้วยตะเคียนในการช่วยพื้นที่เกษตรของอำเภอตาพระยา จำนวน 160,000 ไร่เป็นหลัก จากการบินทำฝนเทียมสามารถช่วยพื้นที่ปลูกข้าวได้ระดับหนึ่ง และเริ่มมีฝนตกลงมาบ้าง แต่ปริมาณน้ำในปัจจุบันยังน้อยอยู่ ทั้งนี้ฝนที่ตกในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นฝนจากมรสุมต่างๆ เข้ามาทางสระแก้วและบุรีรัมย์ จึงจะตกพื้นที่ตาพระยา หากมีการทำฝนเทียมส่วนมากลมจะพัดเมฆฝนไปตกที่อื่น

 

 

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า