SHARE

คัดลอกแล้ว

จากกรณีกรุงเทพมหานคร (กทม.) มีแนวคิดในการนำหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันบริหารโดยมูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรม แห่งกรุงเทพมหานคร กลับมาบริหารเอง โดยให้เหตุผลว่าเป็นการผิดระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร เนื่องจากการให้มูลนิธิฯ ซึ่งถือเป็นเอกชนเข้ามาบริหาร ด้านผู้ว่าฯกทม. เผยถ้าหากประชาชนไม่เห็นด้วย ก็จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว

วันที่ 15 พ.ค.61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยกรณีแนวทางการนำหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครมาบริหารจัดการว่า ได้ยกเลิกแนวคิดดังกล่าวทั้งหมดแล้ว เนื่องจากกระแสสังคมส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย ซึ่งตนยินดีน้อมรับความคิดเห็นของประชาชน

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ภาพจาก สำนักประชาสัมพันธ์ กทม.)

ทั้งนี้ แนวคิดดังกล่าวเกิดจากความต้องการในการพัฒนาพื้นที่ภายในหอศิลป์ฯให้มีความเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด เรื่องของการขาดทุนหรือกำไรไม่ใช่เรื่องของกรุงเทพมหานคร  แต่เป็นเรื่องที่ทางมูลนิธิฯจะต้องไปบริหารจัดการเอง ซึ่งในเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องการเมืองแต่อย่างใด

สำหรับการจัดสรรงบประมาณในปีต่อไปนั้น สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว จะเป็นผู้รับผิดชอบในการทำเรื่องขอจัดสรรงบประมาณ โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะนำเรื่องเสนอต่อสภากรุงเทพมหานครตามอำนาจหน้าที่ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบตามกระบวนการเหมือนปีที่ผ่านๆมา

นอกจากนี้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร บอกว่า เรื่องนี้มาจากแนวคิดที่อยากพัฒนาปรับปรุงให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์หอศิลป์ได้อย่างเต็มที่ เพราะพื้นที่ดังกล่าวมีเด็กและเยาวชน เข้าใช้บริการจำนวนมาก จึงอยากเพิ่มเติมโต๊ะ เก้าอี้ ส่วนใช้งานอื่นๆให้มากยิ่งขึ้น แต่เมื่อประชาชนหลายฝ่ายสะท้อนความเห็นไม่ต้องการให้ กทม. เข้ามาบริหารจัดการหอศิลป์ ก็เข้าใจ และพร้อมดำเนินการตามเสียงของประชาชน ซึ่งการยุติแนวคิดดังกล่าวก็ไม่เกี่ยวกับการเมือง หรือกลัวกระทบกับคะแนนเสียงและไม่ได้เกี่ยวกับข้อเรียกร้องกลุ่มศิลปินไปร้องเรียนนายกรัฐมนตรี

https://www.facebook.com/aswinkwanmuang/posts/379810319093797

ก่อนหน้านี้ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กชื่อ

“ผู้ว่าฯ อัศวิน” แสดงความคิดเห็นกรณี กทม.จะเข้าบริหารจัดการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร แทนมูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ซึ่งขณะนี้มีกระแสคัดค้านอย่างหนักว่า “กทม. ไม่เคยคิด และไม่มีทางที่จะทำลายสถานที่แสดงศิลปะและวัฒนธรรมของประเทศเรา เพียงแต่เราต้องการพัฒนาสถานที่แห่งนี้ให้ได้ใช้ประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันพื้นที่บางส่วนของหอศิลป์ฯ ยังไม่ได้มีการใช้ประโยชน์ เราต้องการนำพื้นที่เหล่านั้นมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์ หนึ่งในแนวทางที่อยากจะปรับปรุงก็คือ การนำพื้นที่เหล่านั้นมาปรับเป็นให้เป็นสถานที่ที่ทุกคนได้เข้ามาใช้ สร้างสรรค์งานศิลป์ ทำงาน พบปะ และ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือที่เรียกกันว่า co-working space ในส่วนนิทรรศการก็ยังจะต้องใช้เพื่อแสดงงานศิลปะและวัฒนธรรมอย่างเดิม ผมเชื่อมั่นว่า ศิลปะเป็นเรื่องของอิสระทางความคิดและจินตนาการ ศิลปะเป็นสิ่งจรรโลงใจหาใช่เพื่อวัตถุประสงค์ใด และ สถานที่แสดงศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าแห่งนี้จะต้องยังคงอยู่เพื่อประชาชนทุกคนครับ สุดท้ายนี้ ถ้าประชาชนไม่เห็นด้วย กทม.ก็จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับพัฒนาในพื้นดังกล่าวครับ” พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ระบุ

ด้านเครือข่ายศิลปินและภาคประชาสังคม ศิลปวัฒนธรรม นำโดย นายจุมพล อภิสุข รวมตัวกันบริเวณศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล 1111 เพื่อยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้ระงับในเรื่องยึดคืนหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เพื่อบริหารจัดการเอง โดยในเอกสารระบุว่า การที่พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อ้างเหตุผลการบริหารหอศิลป์ว่ามูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร บริหารงานขาดทุน ปีละกว่า 80 ล้านบาท บกพร่อง และเก้าอี้ไม่เพียงพอนั้น แต่เครือข่ายศิลปินเห็นว่า เป็นการกล่าวหาปราศจากข้อมูลความจริง หอศิลป์ให้บริการด้านการจัดการประชุมสัมมนาวิชาการ และงานศิลปะมากกว่า 100 ครั้งต่อปี มีผู้เข้าร่วมกว่าปีละ 10,000 คน และผู้เข้าชมปีที่ผ่านมาถึง 1.7 ล้านคน นอกจากนี้หอศิลป์ ยังสามารถหางบประมาณจัดกิจกรรมได้เองนอกเหนือจากเงินอุดหนุนจาก กทม.ปีละ 40 ล้านบาท

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า