Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

พ่อเมืองภูเก็ตลงสำรวจข้อเท็จจริงกรณีชุมชนเกรงผลกระทบขุดลอกร่องน้ำมารีน่าอ่าวกุ้ง ทำทุ่งปะการังเสียหาย เผยโครงการยังไม่มีการยื่นขออนุญาตกับจังหวัด

จากกรณีมีการเผยแพร่ภาพทุ่งปะการังเขากวาง บริเวณเกาะเฮ บ้านอ่าวกุ้ง หมู่ที่ 9  ต.ป่าคลอก  อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ผ่านทางโซเซียลต่างๆ และมีการเรียกร้องให้มาร่วมกันปกป้องทุ่งปะการังดังกล่าว ซึ่งถือเป็นทุ่งปะการังขนาดใหญ่ที่มีความสมบูรณ์เป็นอย่างมาก โดยมีการระบุว่าจะมีภาคเอกชนมาลงทุนสร้างมารีน่าจอดเรือในพื้นที่ห่างจากบริเวณทุ่งปะการังดังกล่าวประมาณ 2 กิโลเมตรเศษ แม้ว่าจะเป็นการก่อสร้างในพื้นที่ซึ่งมีเอกสารสิทธิ แต่เนื่องจากต้องมีการขุดลอกร่องน้ำ เพื่อให้สามารถนำเรือเข้าไปจอดในพื้นที่มารีน่าได้  ซึ่งการดำเนินการในส่วนนี้จะก่อให้เกิดฝุ่นตะกอนและกระทบกับแนวปะการัง รวมถึงทรัพยากรและสัตว์น้ำอื่นๆ จึงได้มีการเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบ รวมทั้งเชิญชวนให้ผู้มีใจอนุรักษ์ได้เข้าไปดูพื้นที่ทุ่งปะการังดังกล่าวเพื่อยืนยันว่า ทุ่งปะการังดังกล่าวมีอยู่จริง ไม่ใช่ภาพจากที่อื่น

เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 16 พ.ค.61 นายนรภัทร ปลอดทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยนายวัชรินทร์ ถิ่นถลาง ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 9, นายสาคร ปู่ดำ นักวิชาการขนส่งชำนาญการ สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาภูเก็ต,นายณัฐกฤษณ์ พลเพชร นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดภูเก็ต, นายมนัส เกิดทรัพย์ รองนายกเทศมนตรีตำบลป่าคลอก, ผู้แทนศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอันดามัน และผู้เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีปัญหาร้องเรียนดังกล่าว บริเวณพื้นที่เกาะเฮ อ่าวกุ้ง โดยมีนายประดิษฐ พวงเกษ ประธานชมรมอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านอ่าวกุ้ง พร้อมด้วยสมาชิกฯ ร่วมกันให้ข้อมูลสภาพพื้นที่และนำสำรวจแนวปะการัง รวมถึงชี้แจงถึงผลกระทบหากมีการก่อสร้างมารีน่า โอกาสนี้ยังได้มีการไปตรวจสอบบริเวณพื้นที่ซึ่งคาดว่าจะเป็นจุดที่จะมีการขุดลอกร่องน้ำสำหรับให้เรือเข้า-ออกด้วย

นายนรภัทร ปลอดทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต

นายนรภัทร ปลอดทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวหลังการลงสำรวจพื้นที่พร้อมพูดคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกลุ่มอนุรักษ์ฯ ว่า จากกรณีที่มีการเผยแพร่ภาพทางโซเซียล เกี่ยวกับกรณีที่มีบริษัทเอกชนรายหนึ่งจะทำการขอสร้างท่าเทียบเรือหรือมารีน่าในพื้นที่ โดยอ้างว่ามีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เป็น นส.3ก ซึ่งหากมีการอนุญาตก่อสร้างโครงการดังกล่าวจะส่งกระทบกับแนวปะการังในบริการดังกล่าว ประกอบกับพื้นที่ดังกล่าวก็ไม่ใช่ท่าเทียบเรือที่มีอยู่เดิม

“จากข้อมูลที่ได้รับรายงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่าขณะนี้ผู้ประกอบการยังไม่ได้ยื่นคำขออนุญาตในการสร้างท่าเรือต่อกรมเจ้าหน้าหรือทางจังหวัดภูเก็ตแต่อย่างใด  มีเพียงการยื่นเรื่องต่อสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่อขออนุญาตจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยทราบจากทางชุมชนว่า มีการดำเนินการไปแล้ว 2 ครั้ง และตามหลักการแล้วกรณีที่เอกชนจะมีการดำเนินการใดๆ ในลักษณะเช่นนี้จะต้องมีการแจ้งให้นายอำเภอท้องที่ทราบ เพื่อที่จะมีการร่วมรับฟังข้อมูล รวมทั้งจะได้มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบข้อเท็จจริงด้วย” นายนรภัทร ปลอดทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต

นายนรภัทร กล่าวว่าจากสภาพพื้นที่พบว่า มีความเกี่ยวเนื่องกับป่าชายเลนและทะเล ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) จึงต้องแจ้งให่รับทราบด้วย และมีข้อมูลว่าจะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นอีกครั้ง ซึ่งจะเป็นช่องทางหนึ่งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าไปรับฟังและโต้แย้งข้อมูลต่าง ๆ ในส่วนของการจัดรับฟังความคิดเห็นเมื่อแล้วเสร็จ ทาง สผ.ก็จะต้องส่งเรื่องมายังจังหวัด ซึ่งมีคณะอนุกรรมการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัดภูเก็ต เป็นผู้พิจารณาว่าเห็นชอบด้วยหรือไม่อย่างไร  ซึ่งเรื่องนี้ยังมีอีกหลายขั้นตอน ในการให้ข้อมูลหรือข้อเสนอแนะต่างๆ โดยจะมีการรายงานข้อเท็จจริงไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในส่วนกลางด้วย เช่น กรมเจ้าท่า กรม ทช. มหาดไทย เป็นต้น

ในกรณีของแนวปะการังนั้น นายนรภัทร กล่าวว่า ทราบเรื่องจากชาวบ้านว่าแนวพื้นที่การขุดร่องน้ำที่มีการนำเสนอในคราวที่มีการเปิดประชาพิจารณ์นั้น ยังไม่ชัดเจนว่าจะผ่านจุดใดบ้าง เพราะในการสร้างมารีน่าจะต้องนำเรือเข้าไปจอด ทราบว่าพื้นที่ก่อสร้างมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เป็น นส.3 ก แต่การจะนำเรือเข้าไปจอดก็จะต้องมีร่องน้ำ ส่วนจะมีผลกระทบหรือไม่อย่างไร เป็นเรื่องที่ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องพิจารณา ส่วนนโยบายของทางจังหวัดที่ยุทธศาสตร์ให้ภูเก็ตเป็นมารีไทม์ฮับ หรือการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางทะเล แต่ในการลงทุนนั้นก็ต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย

นายประดิษฐ พวงเกษ ประธานชมรมอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านอ่าวกุ้ง

ขณะที่นายประดิษฐ พวงเกษ ประธานชมรมอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านอ่าวกุ้ง กล่าวว่า ในส่วนของทางชมรมฯ ได้ร่วมกันอนุรักษ์พื้นที่ดังกล่าวมาเป็นเวลาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่การร่วมกันต่อต้านการทำประมงโดยใช้อวนรุนอวนลาก ซึ่งเป็นเครื่องมือประมงที่ทำลายล้างทรัพยากรและสัตว์น้ำในทะเลเป็นอย่างมาก จากนั้นก็ร่วมกันดูแลรักษาป่าชายเลนซึ่งเคยถูกบุกรุกทำลายจากการทำบ่อเลี้ยงกุ้งมาโดยตลอด จนทำให้ปัจจุบันทรัพยากรทางทะเลบริเวณดังกล่าวมีความสมบูรณ์ค่อนข้างมาก ดังนั้นจึงไม่เห็นด้วยที่จะมีการขุดลอกร่องน้ำเพื่อนำเรือขนาดใหญ่เข้ามาจอด เพราะจะส่งผลกระทบต่อแนวปะการังและทรัพยากรทางทะเลอื่นๆ ซึ่งคนในชุมชนได้ร่วมกันดูแลและอนุรักษ์จนกลับมามีสภาพสมบูรณ์ และยังถือเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ รวมทั้งยังเป็นแหล่งทำประมงพื้นบ้านด้วย

“ทุ่งปะการังแห่งนี้ จะมีชนิดของปะการังค่อนข้างหลากหลายไม่ต่ำกว่า 30-40 ชนิด โดยเฉพาะปะการังเขากวางซึ่งสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน หากประมาณการด้วยสายตา คิดว่าน่าจะมีพื้นที่ประมาณ 400-500 ตารางเมตร และยังมีบางส่วนที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งเป็นแนวปะการังที่มีความสมบูรณ์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาจะพบเห็นปะการังที่โผล่พ้นผิวน้ำขึ้นมาประมาณ 30-40 เซ็นติเมตรเป็นจำนวนมาก ตามที่ปรากฏตามภาพที่มีการเผยแพร่ทางโซเซียล และยืนยันว่า เป็นปะการังของจริง” นายประดิษฐ พวงเกษ ประธานชมรมอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านอ่าวกุ้ง กล่าว

นายประดิษฐ กล่าวย้ำด้วยว่า ทางกลุ่มไม่ได้ต่อต้านการสร้างมารีน่า แต่เราเป็นห่วงการขุดร่องน้ำเพื่อนำเรือเข้าไปจอด ซึ่งทราบว่ามีความยาวถึง 40 เมตร และกินน้ำลึก ดังนั้นในการพัฒนาต้องมีขอบเขตจะมุ่งเน้นมารีน่าอย่างเดียวคงไม่ได้ แต่ต้องคำนึงถึงระบบทรัพยากรของชาติที่เหลืออยู่ และไม่สามารถประเมินราคาได้ แม้จะมีเงินกี่พันล้านก็ไม่สามารถสร้างขึ้นมาเองได้ จำเป็นจะต้องดูแลหรือไม่ และมีพื้นที่อื่นที่เหมาะสมกับการพัฒนาในลักษณะนี้หรือไม่ ซึ่งในส่วนของตัวมารีน่าสร้างในพื้นที่ของเอกชนไม่ได้มีการขัดขวาง  แต่พื้นที่ร่องน้ำที่ชาวบ้านดูแลรักษา และเป็นเป็นเส้นทางเข้าออกในการประกอบอาชีพวิถีชีวิตดั้งเดิม ไม่เฉพาะอ่าวกุ้งเท่านั้น แต่เป็นการใช้อ่าวร่วมกันทั้งของพังงาและภูเก็ต ตามวิถีชีวิตของชาวประมง หากปล่อยให้มีการก่อสร้างและมีการขุดร่องน้ำย่อมที่จะส่งผลกระทบกับแนวปะการังและการประกอบอาชีพของคนในชุมชนด้วย

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 1 พ.ค.61 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอันดามัน ได้เผยผลการสำรวจสถานภาพแนวปะการังบริเวณอ่าวกุ้ง จ.ภูเก็ต รวมทั้งเกาะในบริเวณใกล้เคียง โดยสำรวจทั้งหมด 7 สถานี เบื้องต้นพบว่าแนวปะการังในพื้นที่ส่วนใหญ่มีการฟื้นตัวได้ดี เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลเดิมที่กรมฯ มาสำรวจไว้เมื่อปี 2556 โดยพบว่าแนวปะการังฟื้นตัวจากสถานภาพเสียหายมากกลับอยู่ในสถานภาพสมบูรณ์ปานกลาง 4 สถานี ได้แก่ เกาะเฮ เกาะปายู เกาะรา และเกาะแพ ส่วนที่ยังมีสถานภาพเสียหายมี 2 สถานี ได้แก่ เกาะงำ และแหลมขาด มีสถานภาพเสียหายมาก 1 สถานี คือ ชายฝั่งอ่าวกุ้ง ซึ่งปะการังที่พบโดยทั่วไป ได้แก่ กลุ่มปะการังโขด (Porites spp.) ปะการังเขากวาง (Acropora spp.) ปะการังดอกไม้ทะเล (Goniopora sp.) ปะการังรังผึ้ง (Goniastrea sp.) ปะการังวงแหวน (Favia spp.) ปะการังช่องเหลี่ยม (Favites spp.) ปัจจัยที่มีผลต่อสภาพปะการังในบริเวณนี้คือตะกอนตามธรรมชาติ เนื่องจากบริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของอ่าวพังงา ล้อมรอบด้วยป่าชายเลน และลักษณะพื้นทะเลเป็นทรายปนโคลน ทำให้น้ำค่อนข้างขุ่น แนวปะการังมีการฟื้นตัวได้ค่อนข้างช้า และง่ายที่ตะกอนพื้นทะเลจะฟุ้งกระจายขึ้นมาทับถมบนปะการัง

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า