Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

[et_pb_section fb_built=”1″ custom_padding=”0px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.47″][et_pb_row custom_padding=”0px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″ custom_padding=”4px|0px|27px|0px”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_video src=”https://youtu.be/_a-nsW92O4E” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_video][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”41px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

คุณเป็นคนหนึ่งหรือเปล่าที่มี “ความฝัน” และอยากทำให้มันเป็น “ความจริง” ในสักวัน

คุณพยายามอย่างยิ่ง แต่…มันก็ไม่ง่ายเลยใช่ไหม ?

คนปกติธรรมดาว่ายากแล้ว แต่สำหรับผู้พิการทางสายตา ยิ่งยากกว่าหลายเท่านัก

“น้องนุ่น” กนกวรรณ วันจันทร์ และ “น้องโอ๊ต” อิทธิพล พิมทอง คือสองผู้พิการทางสายตาที่พิสูจน์ให้เห็นว่า แม้อยู่ในโลกมืดที่รายล้อมด้วยอุปสรรค แต่พวกเขามีความฝันที่ชัดเจน และใช้พรแห่งความเพียรติดปีกให้ฝันโบยบินสู่ความจริง

หากยังจำกันได้ ช่วงที่ละครบุพเพสันนิวาสดังเป็นพลุแตก เพลง “จันทร์” ที่น้องทั้งสองนำมาทำใหม่ ได้รับกระแสตอบรับจากผู้ฟังอย่างน่าชื่นใจ โดยน้องโอ๊ตได้นำบทเพลงดังกล่าวมาเรียบเรียงดนตรีใหม่ และเล่นเปียโนขับกล่อมทำนองพลิ้วไหวละมุน เคล้าเสียงขับร้องจากน้องนุ่นที่นุ่มหวานจับหัวใจ พาให้เพลงดังกล่าวซึ่งเผยแพร่ผ่าน Youtube มียอดผู้เข้าชมใกล้แตะ 5 ล้านครั้งแล้ว

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”17px|0px|27px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_video src=”https://youtu.be/pZOLgxPKYEI” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_video][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”15px|0px|6px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

แน่นอนว่า “ฝันอย่างเดียวไม่พอ” พวกเขาลงมือทำมันอย่างจริงจัง สิ่งที่น่าสนใจคือเรื่องราวระหว่างทางของทั้งสอง ในเมื่อพวกเขามองไม่เห็น แล้วเขาเรียนรู้กันอย่างไร ฝ่าอุปสรรคมากล้นประดามีกันขนาดไหน…

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/10/1538744645_39184_.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ custom_padding=”35px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row custom_padding=”0px|0px|27px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

แม้ “ตา” มองไม่เห็น แต่ “ความฝัน” ชัดเจน

กว่าจะเดินมาถึงวันนี้ ทั้ง “น้องโอ๊ต” และ “น้องนุ่น” ผ่านช่วงเวลาแห่งการต่อสู้มามากมาย พวกเขารู้เพียงว่าชอบดนตรี ชอบเสียงเพลงมาตั้งแต่เด็ก ประสบการณ์ในแต่ละวันที่ผันผ่านสอนให้เรียนรู้ว่า ต้องใช้ความพยายามอย่างมหาศาล เพื่อไขว่คว้าหา “โอกาส” ด้วยตัวเอง

สำหรับ “น้องโอ๊ต” ชายหนุ่มผู้มีพลังแห่งการมองโลกในแง่บวก ได้เล่าความหลังเมื่อ 29 ปีก่อนให้ฟังว่า เขาเป็นคนกรุงเทพฯ คุณพ่อขับรถแท็กซี่ คุณแม่เป็นแม่ค้า และมีพี่ชาย 1 คน ซึ่งทุกคนมีดวงตาเป็นปกติ ตอนเกิดมาเขายังพอมองเห็น แต่เลือนราง กระทั่งบอดสนิทจากต้อหิน เมื่ออายุย่างเข้า 4 – 5 ขวบ เขาเข้าเรียนที่โรงเรียนสอนคนตาบอด ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำ ได้รับการสอนทักษะในการดูแลตัวเอง มีพี่เลี้ยงคอยแนะนำ แต่พอขึ้น ป.1 ต้องฝึกดูแลตัวเองทุกอย่าง ทุกเรื่องของชีวิต ทั้งรีดผ้า ซักผ้า ฯลฯ

นั่นหมายถึง เขาต้องพยายามใช้ชีวิตด้วยตัวเองให้ได้

 

“น้องโอ๊ต” บอกว่า เขาใช้ชีวิตได้เหมือนเด็กปกติทั่วไป เพราะพอมีความทรงจำเมื่อครั้งที่ยังมองเห็นได้อยู่บ้าง จำเสียง จำสีต่างๆ ได้ ประกอบกับเป็นคนช่างสังเกต และชอบฟังเพลงตั้งแต่เด็ก

“ผมชอบฟังเพลง คุณพ่อก็จะซื้อเทปเพลงมาให้ เวลาฟัง ผมก็จะจินตนาการตาม วิเคราะห์ว่าทำไมเพลงนี้เขาถึงร้องแบบนี้ ทำไมเพลงนั้นมันถึงเพราะแบบนั้น ตอนที่ยังพอมองเห็น ผมจะดูปกเทปเป็นอย่างแรก จะดูว่าผลงานที่ดีเป็นยังไง เก็บทุกอย่างไว้เป็นความทรงจำว่า เราอยากเป็นอย่างเขา เราอยากอยู่ในสถานภาพที่เป็นที่ยอมรับของสังคม”

คนสำคัญอีกคนที่มีส่วนผลักดันให้น้องโอ๊ตได้เล่นดนตรีตามความชอบก็คือ “พี่ชาย” ที่ชอบเล่นกีตาร์ จึงเก็บเงินซื้อกีตาร์มา 1 ตัว และชวนน้องโอ๊ตมาตั้งวงดนตรีเล่นกัน ด้วยวัยเด็กที่ยังไม่มีเงินซื้อเครื่องดนตรีได้เหมือนพี่ น้องโอ๊ตจึงหาอะไรต่างๆ ในบ้านมาเคาะแทนจังหวะ เพื่อเป็นการจำลองว่าเป็นเหมือนนักดนตรี

“ต่อให้ผมมองเห็นน้อยลง ผมก็ฝึกอย่างนี้เรื่อยมา เหมือนเป็นการฝึกทักษะความจำและความแม่นยำด้วย ในวัยเด็กผมจะเป็นคนที่ไม่ว่าเปิดเพลงอะไรมาก็ตาม ผมจะลองหัดเล่นตามหมด ต่อให้เป็นเพลงประกอบโฆษณาก็เล่นตาม ผมทำอย่างนี้เป็นปีๆ มันก็เลยเหมือนกับว่า วิวัฒนาการความจำในด้านดนตรีของเราดีขึ้น”

“น้องโอ๊ต” เริ่มสนใจเรื่องดนตรีมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ในขณะเดียวกันเขาก็เป็นเด็กขี้อาย กระทั่งเรียนถึงชั้น ป.6 จึงมีโอกาสเข้าห้องดนตรีของโรงเรียน และเครื่องดนตรีชิ้นแรกที่เขาเลือกก็คือ “กลองชุด” ด้วยเหตุผลว่า กลองชุดเหมือนเป็นประธานของวง เป็นศาสตร์ดนตรีหลักที่วงดนตรีต้องมี หากต้องการฝึก อยู่ที่ไหนเขาก็เล่นมันได้ โดยใช้จินตนาการหรือหาอะไรมาทดแทน

นอกจากนี้ เขายังได้ฝึกกลองชุดกับพี่ชาย ประกอบกับมีลุงเป็นมือกีตาร์อีกคน จึงมีโอกาสได้ลองฝึกซ้อมกันในหมู่เครือญาติ และรู้สึกว่า เขาสามารถตั้งวงดนตรีขึ้นมาเองได้ แล้วจึงไปเล่นให้เพื่อนฟัง พอขึ้น ม.1 น้องโอ๊ตมีคอมพิวเตอร์ส่วนตัว เขาจึงสานฝันเรื่องดนตรี โดยการค้นคว้าหาความรู้และโปรแกรมต่างๆ ด้านคอมพิวเตอร์ดนตรีด้วยตัวเอง ซึ่งโปรแกรมส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ

แต่คนอย่างน้องโอ๊ตไม่เคยยอมแพ้ เขาเรียนรู้ภาษาอังกฤษไปพร้อมๆ กับการค้นคว้าด้านดนตรีที่เขาชอบ…ด้วยตัวเอง น้องโอ๊ตหาซอฟต์แวร์และโปรแกรมเกี่ยวกับการทำเพลง ฝึกใช้คอมพิวเตอร์ในการบันทึกเสียง ประยุกต์ ดัดแปลง และหาโปรแกรมในคอมฯ ซึ่งเป็นเปียโน โดยเล่นผ่านแป้นพิมพ์คีย์บอร์ด เริ่มต้นจากศูนย์ จนกระทั่งเล่นได้

ใช้เวลาฝึกประมาณ 16 ชั่วโมงต่อวัน !!!

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”0px|0px|27px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/10/1538746824_49690_3.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”11px|0px|27px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

“ถ้าวันไหนเป็นวันหยุดแล้วผมเคลียร์การบ้านเสร็จ ผมจะอยู่กับโปรแกรมนี้เป็นอย่างแรก ศึกษาตั้งแต่วิธีการเล่น เพราะการเล่นมันไม่เหมือนกับเปียโนจริง มันเป็นเปียโนจำลอง ผมก็ใช้วิธีประยุกต์เอา ใช้การเปิดเพลงจากซีดีแล้วเล่นตาม ไม่ว่าเพลงสากล ลูกทุ่ง หมอลำ หรืออะไร ผมฟังหมด ใช้วิธีจำเอาว่า กดกี่ครั้ง ขึ้นกี่ครั้ง ลองจากโปรแกรมที่ 1 แล้วโปรแกรมที่ 2, 3, 4 ก็ตามมา ฝึกมาเรื่อยๆ จนเล่นได้”

น้องโอ๊ตฝึกทุกวันจนอายุได้ 16 ปี ก็เริ่มโปรดิวซ์งานเอง ชวนทั้งเพื่อนในโรงเรียนและญาติมาบันทึกเสียง

“ตอนนั้นผมเริ่มรู้จักการ arrange เพลง คือการเรียบเรียง เริ่มโปรดิวซ์งานเอง ถึงแม้ว่างานชิ้นที่ 1 อาจจะยังไม่ดี แต่ก็ทำออกมาเรื่อยๆ ทำแล้วก็สะสมไว้ ดูพัฒนาการว่าเราได้ไปถึงไหนแล้ว ระหว่างนั้นผมก็อัปเกรดตัวเอง หาโปรแกรมใหม่ๆ หาเสียงใหม่ๆ มาให้ตัวเองฟังเรื่อยๆ จนจบ ม.6”

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/10/1538747387_35286_2.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ custom_padding=”14px|0px|14px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row custom_padding=”27px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

เช่นเดียวกันกับ “น้องนุ่น” กนกวรรณ วันจันทร์ สาวน้อยวัย 26 ปี ชาวลำปาง ที่สุ้มเสียงของเธอช่างหวานบาดใจคนฟังเหลือเกิน ซึ่งเธอเองก็เป็นอีกคนที่มีความฝันชัดเจนตั้งแต่เด็ก น้องนุ่นเล่าให้ฟังว่า เธอมีพี่น้อง 3 คน เป็นพี่สาวฝาแฝด แล้วก็น้องสาว ส่วนตัวเธอเป็นลูกคนกลาง สาเหตุที่มองไม่เห็น เพราะแม่ของเธอป่วยตอนท้อง เธอจึงคลอดก่อนกำหนด และอยู่ในตู้อบเป็นเวลานาน

“ตั้งแต่จำความได้ หนูก็มองไม่เห็นแล้ว”

“น้องนุ่น” ชอบฟังเพลงมาตั้งแต่เด็ก เธอบอกว่าคุณพ่อคุณแม่ชอบเปิดเพลงให้ฟัง ทั้งเพลงลูกทุ่งและเพลงสตริงเก่าๆ ตามแนวที่พ่อแม่ชอบ และเริ่มรู้ตัวว่าชอบร้องเพลงตอนอายุ 5 ขวบ เพราะแม่เปิดเพลงให้ฟังแล้วเธอร้องตามได้โดยไม่เพี้ยน

“ตอนเด็กๆ หนูเป็นคนขี้อาย ไม่กล้าร้องให้ใครได้ยิน หนูไปอยู่โรงเรียนประจำตั้งแต่อายุ 4 ขวบ ที่โรงเรียนสอนคนตาบอดลำปาง พออยู่โรงเรียนประจำ โอกาสที่จะใกล้ชิดพ่อแม่ก็น้อยลง แต่ทางโรงเรียนก็มีกิจกรรมเกี่ยวกับเพลงมากขึ้น เช่น ในโรงเรียนมีวงดนตรีพื้นเมือง เราก็อาศัยร้องกับเพื่อนๆ ก่อน เพราะไม่กล้าร้องเพลงคนเดียว เวลามีการแสดงที่เกี่ยวกับเพลง เราก็สังเกตว่า ทำไมคนอื่นเขากล้าจังเลย ทำไมเราไม่กล้าสักที ก็เริ่มฝึกจากการร้องประสานเสียงที่โรงเรียน และมาฝึกจริงจังประมาณ 8 – 9 ขวบ โดยฟังจากรายการที่มีประกวดร้องเพลงตามทีวี”

หลังจากนั้น “น้องนุ่น” ก็ฝึกร้องเพลงเรื่อยมา และเริ่มไปประกวดตามเวทีต่างๆ ทุกคนที่บ้านรู้ว่านี่คือสิ่งที่เธอชอบ “น้องนุ่น” เป็นแก้วตาดวงใจของพ่อแม่ และเป็นที่รักของทุกคนในบ้าน ทุกคนจึงเป็นห่วงเธอมาก ไม่อยากให้ไปไหนไกล

กระทั่งวันหนึ่งเมื่อ “น้องนุ่น” ได้รู้จักกับ “น้องโอ๊ต” อย่างจริงจัง แล้วเส้นทางชีวิตของเธอก็เปลี่ยนไป…

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”14px|0px|27px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/10/1538749681_86156_9.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”19px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

เหมือนทุกอย่างกำลังไปได้สวย เมื่อ “น้องโอ๊ต” เรียนจบชั้น ม.6 เขาก็มุ่งไปเรียนต่อปี 1 ที่ ม.ราชภัฏเชียงใหม่ เพื่อเรียนด้านดนตรีที่เขารัก เนื่องจากมีรุ่นพี่แนะนำ น้องโอ๊ตพกหัวใจที่แสนกล้าหาญไปเผชิญโลกกว้างที่ไกลบ้าน และต้องเรียนร่วมกับคนปกติ เขาบอกว่านี่คืออุปสรรคใหญ่ เพราะมันหมายถึง ทุกอย่างต้องเริ่มใหม่หมด

“เพื่อนผมก็ไม่ค่อยมี แผนผังที่เชียงใหม่มีอะไรตรงไหนผมก็ไม่ค่อยรู้ ต้องดูแลตัวเองทุกอย่าง อยู่หอพัก วันแรกคิดว่าไม่น่ามาเลย แต่พอเข้าเดือนที่ 2-3 ก็คิดว่า เออ ก็อยู่ได้นี่นา เป็นปีน่ะครับกว่าที่ผมพอจะตั้งต้นเองได้”

สิ่งที่เจอก็เรียกได้ว่าเป็นอุปสรรคใหญ่แล้ว ทว่าน้องโอ๊ตกลับได้พบอุปสรรคที่ใหญ่กว่านั้น เหมือนฝันสลาย เมื่อสถาบันดังกล่าวไม่มีเครื่องมือที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้พิการทางสายตาเลย

“ผมอยากเรียนดนตรี แต่อาจารย์ผู้สอนไม่เข้าใจ ไม่มีอุปกรณ์รองรับผู้พิการทางสายตาสักอย่าง ผมต้องเรียนทุกอย่างด้วยตัวของผมเอง ตอนนั้นท้อมาก”

เมื่อฝันสะดุด แต่จุดหมายยังอยู่ น้องโอ๊ตจึงให้เวลาตัวเองทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น และปรึกษาพ่อแม่กับเพื่อนๆ ซึ่งเป็นกำลังใจชั้นดีของเขา

แต่…เขาจะทำอย่างไรต่อไปดี เมื่อสถาบันการศึกษาแห่งนี้ ให้สิ่งที่เขาหวังไว้ไม่ได้

“ผมไม่ชอบการซ้ำชั้น มีความรู้สึกว่าเราต้องเดินต่อไปสิ ตอนที่มีปัญหา นอกจากกำลังใจจากพ่อแม่และเพื่อนๆ แล้ว ดนตรีคือสิ่งที่ทำให้ผมมีความสุขมากที่สุด ผมอาจจะไม่ใช่เด็กที่เรียนดีที่สุด แต่ถ้าผมชอบเรื่องไหน ผมก็จะอยู่กับเรื่องนั้นได้ทั้งวัน เหมือนกับที่ผมอยู่กับดนตรีได้ทั้งวัน ตอนนั้นผมก็เลยเปลี่ยนมาเรียนคณะมนุษยศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษแทน เพราะผมได้ภาษาตอนที่ผมค้นคว้าเรื่องดนตรี มันเหมือนกับว่า ผมเลือกอย่างหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้เสียอีกอย่างหนึ่งไป คนตาบอดสามารถเรียนภาษาอังกฤษได้แน่นอน แล้วมันก็นำไปใช้ได้เกือบทุกวงการด้วย”

น้องโอ๊ตบอกว่า ตอนที่เปลี่ยนคณะเรียน เขาเฟลมาก ที่บ้านก็หมั่นมาหา 2-3 เดือนครั้ง แต่ละครั้ง เขาก็ได้ระบาย ที่บ้านก็คอยให้กำลังใจ ช่วงเวลานั้นเอง เขามีเงินเก็บอยู่จำนวนหนึ่ง และที่บ้านช่วยสมทบอีกจำนวนหนึ่ง แล้วเขาก็ได้ “เปียโนไฟฟ้า” ตัวแรกของชีวิต มาเป็นสิ่งปลอบใจให้เขาก้าวผ่านความทุกข์ครั้งนี้

“ผมใช้ตรงนี้แหละเป็นแรงผลักดันว่า ที่บ้านก็สนับสนุนเรานะ เราจะกลับไปแล้วเหรอ เราต้องหาทางออกทางอื่นให้ได้สิ ผมก็ใช้วิธีออกไปหาประสบการณ์ใหม่ๆ เล่นดนตรีกับเพื่อนบ้าง ไปมองดูชีวิตคนอื่นว่า เขาก็เรียนอย่างอื่น แต่เขาก็ทำสิ่งที่เขารักไปด้วย มันก็เหมือนเป็นแรงผลักดันตัวเอง ตอนนั้นผมไม่ได้ถึงขั้นคาดหวังว่าจะต้องประสบความสำเร็จ แต่ผมมีความรู้สึกว่า…  

“ถ้าผมรักในสิ่งไหนแล้ว ผมเชื่อว่าผมต้องศึกษาสิ่งนั้นได้ เพียงแค่มันจะได้รับโอกาสไหม แค่นั้นเอง”

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/10/1538748681_57410_7.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ custom_padding=”36px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row custom_padding=”0px|0px|27px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

ในที่สุด “น้องโอ๊ต” ก็ผ่านบททดสอบของชีวิตในช่วงนั้นมาได้ เขาตั้งใจเรียน ในขณะเดียวกันเขาก็ได้เล่นดนตรี ได้ฝึกทำในสิ่งที่เขารักไปด้วย โดยศึกษาหาความรู้เองผ่านทางอินเทอร์เน็ต และจากเพื่อนๆ เขาฝึก แล้วก็ฝึกอย่างไม่ย่อท้อ และเริ่มสนใจดนตรีประเภทอื่นเพิ่มขึ้น เริ่มฝึกทั้งกีตาร์และเบส กระทั่งสามารถเล่นแทนในวงดนตรีได้ หากขาดตำแหน่งใดไป เขาเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นเรื่อยๆ มีคอนเน็กชั่นต่างๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แล้วความสำเร็จก็เริ่มเปิดประตูต้อนรับคนมีมานะอย่างเขา เมื่อเขาได้ทำงานที่ใหญ่ขึ้น แม้จะยังเรียนอยู่ก็ตาม  

“มีคนติดต่อมาให้ผมทำทั้งเพลงประกอบโฆษณา เพลงประกอบสถานีวิทยุ เพลงหาเสียง ได้ร่วมงานกับหลายองค์กร ตอนนั้นทำให้ฟรีเยอะ คือ ถ้าเราอยากให้คนยอมรับ เราก็ต้องทำด้วยใจ เราช่วยเหลือคนอื่นด้วย ในขณะเดียวกันเราก็ฝึกดนตรีเองเพิ่มด้วย ผมเป็นคนชอบทำงานกลุ่ม ชอบทำงานกับคนมีฝีมือหลายๆ คน มันทำให้มีคอนเน็กชั่น มีความสุขที่ได้ร่วมทำงานกับเพื่อนๆ ตอนนั้นผมพอจะเก็บเงินได้บ้างเลยซื้อของจริงมาลองเล่น

“ด้วยความที่เราเล่นดนตรีประเภทอื่นได้เพิ่มเติม ก็ทำงานที่จริงจังได้ สามารถออกแบบเอง แล้วก็ใช้ดนตรีจริงเข้ามา มันก็จะเพิ่มความสมจริงในงานของเรา มันเลยทำให้ผมทำงานที่ใหญ่ขึ้น มีรายละเอียดของงานที่มากขึ้น บวกกับผมมีโอกาสได้ไปแสดงดนตรีตามที่ต่างๆ รวมทั้งการเปิดหมวกด้วย ไปทั้งกับเพื่อนๆ บ้าง ไปเองบ้าง ได้ฝึกการแสดงดนตรีในที่สาธารณะ ได้แสดงต่อหน้าคนเยอะๆ เป็นการลดความประหม่า”

เมื่อเรียนจบ แรกๆ “น้องโอ๊ต” ก็ทำงานประจำเป็นคอลเซนเตอร์ ซึ่งทำให้เขาแน่ใจว่า นี่ไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องการ เขาจึงลาออกมาเป็นฟรีแลนซ์ ทำงานเพลงที่เขารักอย่างจริงจัง ทั้งเป็นโปรดิวเซอร์เพลง ทำ backing track รับมิกซ์งาน อัดเสียง เรียกได้ว่าทุกอย่างที่เกี่ยวกับเพลง เขารับทำหมด

“ส่วนตัวผม ผมชอบทำงานที่ไหนก็ได้ เพราะผมคิดว่า ไอเดียมันเกิดขึ้นได้ทุกที่”

…แล้ววันหนึ่ง โชคชะตาก็พาให้ “น้องโอ๊ต” กับ “น้องนุ่น” ได้มารู้จักกัน ทั้งสองบอกว่า ในวงการคนตาบอดจะรู้จักกันค่อนข้างง่าย เพราะมีกิจกรรมที่ให้คนตาบอดมาร่วมงานกันเป็นประจำทุกปี ทั้งน้องนุ่นและน้องโอ๊ต ต่างก็ได้ยินชื่อเสียงของกันและกันมาอยู่เรื่อยๆ น้องนุ่นรู้จักน้องโอ๊ตในฐานะคนทำเพลง ส่วนน้องโอ๊ตก็รู้จักน้อนนุ่นในฐานะนักร้อง

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”0px|0px|27px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/10/1538748503_97315_6.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”17px|0px|14px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

“น้องนุ่นเป็นรุ่นน้องกัน เขาประกวดมาหลายเวที ประกวดติดต่อกันหลายปี แล้วก็มีปีที่น้องเขาชนะด้วย พอดีผมได้ติดตามโครงการเขามาเรื่อยๆ ก็เลยมีโอกาสทำซาวนด์ ทำดนตรีให้น้องเขาไปแข่ง ด้วยความที่เราทำงานด้วยกัน ก็เลยทำให้เรารู้จักความเป็นตัวตน เลยมีโอกาสได้ออกแบบการแสดงของน้องนุ่นทุกด้าน คือเป็นโปรดิวเซอร์ให้เลย แล้วก็มีโอกาสทำดนตรีให้น้องเขาไปประกวด ก็ได้ที่ 1 เป็นงานประกวดดนตรีของมูลนิธิเพชรรัตน์ เป็นของคนตาบอดนี่แหละครับ เพลงที่ได้ชื่อเพลงนางฟ้าไทย ของ อ.ชินกร ไกรลาศ เป็นการประสานระหว่างเพลงลูกทุ่งกับเพลงไทยเดิม คือผมนำเพลงนี้มาเรียบเรียงดนตรีใหม่ เหมือนน้องเขาร้องอยู่ในวงดนตรีใหญ่ๆ วงนึงเลย…

ผมว่าการแสดง ถ้ามันจะดี มันต้องออกมาจากนักร้องมีความตั้งใจด้วย”

ทั้งสองได้ร่วมกันทำงานเรื่อยมา ผ่านประสบการณ์ต่างๆ ไปด้วยกัน ได้ไปแสดงตามที่สาธารณะต่างๆ ด้วยกัน ตั้งแต่การเปิดหมวกที่ถนนคนเดิน การรับงานที่มีคนจ้างมา ไปจนถึงการเดินสายประกวดตามเวทีต่างๆ แพ้บ้าง ชนะบ้าง กระทั่งวันหนึ่ง “น้องโอ๊ต” พบการประกาศรับสมัครของโครงการ S2S Fly Highซึ่งเป็นโครงการพัฒนาศักยภาพนักร้อง นักดนตรีตาบอดตามที่สาธารณะ มีการคัดเลือกผู้พิการทางสายตาเข้าร่วมโครงการในจำนวนจำกัด และทำให้น้องโอ๊ตรู้สึกว่า สิ่งนี้แหละที่จะทำให้เขาได้พัฒนาตัวเองมากกว่าการเป็นฟรีแลนซ์ เขาจึงชวน “น้องนุ่น” ไปประกวดด้วยกัน

แล้วพวกเขาก็ทำมันสำเร็จ ได้เป็น 1 ใน 5 ทีม ที่ผ่านการคัดเลือก

“ในการประกวดครั้งนั้น มีผมกับน้องนุ่นเป็นโชว์เดียวที่เล่นดนตรีสด นอกนั้นคนอื่นใช้เปิดเพลงร้องคาราโอเกะกันหมดเลย ผมรู้สึกว่าโครงการ s2s มันไม่ใช่แค่โครงการที่อบรมดนตรีให้คนตาบอด แต่เป็นเส้นทางใหม่ของคนตาบอด ที่ใครมีฝันเกี่ยวกับดนตรี ควรจะเข้าโครงการนี้ เพราะเขาจะยกระดับให้คนตาบอดที่มีความสามารถ ให้มีความสามารถมากขึ้นไปอีกในระดับที่สามารถประกอบอาชีพนี้ได้จริง”

เมื่อได้รับการคัดเลือก เขากับน้องนุ่นจึงต้องเดินทางขึ้นลงภาคเหนือและกรุงเทพฯ เดือนละ 4 ครั้ง เพื่อเข้าอบรมกับโครงการฯ และเมื่อต้องทำกิจกรรมของโครงการฯ มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งสองจึงตัดสินใจว่าจะจริงจังกับทางที่เลือกเดิน จะทำงานด้วยกันที่กรุงเทพฯ แต่ติดปัญหาที่ครอบครัวของ “น้องนุ่น” ที่เป็นห่วงน้องนุ่นมาก ไม่อยากปล่อยให้ไปไหนไกลเป็นเวลานาน

“หนูเลยให้พี่โอ๊ตเข้าไปช่วยคุยกับคุณแม่ให้ พี่โอ๊ตบอกคุณแม่ให้ว่า ถ้าในอนาคตหนูต้องอยู่เองโดยไม่มีพ่อกับแม่ แล้วหนูจะสามารถอยู่กับตัวเองได้อย่างไร ในกรุงเทพฯ มีคนที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ตั้งหลายคน แม่หนูก็เลยยอมให้มาใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ”

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/10/1538750297_33226_10.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ custom_padding=”39px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row custom_padding=”0px|0px|21px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

ก้าวข้ามขีดจำกัดไปกับ S2S Fly High: ติดปีกฝัน แล้วบินไปให้ถึง

สำหรับโครงการ S2S Fly High ย่อมาจากโครงการพัฒนาศักยภาพนักร้องนักดนตรีตาบอดในที่สาธารณะ หรือ From Street to Star จากถนนสู่ดวงดาว โดย ยุววัฒน์ พงษ์สิริ หรือ แป๊ก กรรมการมูลนิธิสถาบันดนตรีคนตาบอด และผู้ดูแลศิลปิน S2S บอกว่า โครงการนี้เป็นโครงการของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย และมูลนิธิสถาบันดนตรีคนตาบอด ซึ่งจัดโครงการนี้ขึ้นเป็นปีที่ 3 แล้ว เพื่อเฟ้นหานักร้องนักดนตรีที่เป็นคนตาบอดตามท้องถนน มาฝึกฝนให้ขึ้นไปสู่นักร้องมืออาชีพ

“ปกติอาชีพหลักของน้องๆ คือการเปิดหมวกอยู่ตามท้องถนนที่เราเห็นตามบีทีเอส ตามป้ายรถเมล์ แต่มันมีกฎหมายใหม่คือ ยกเลิกการขอทานเป็นการแสดงความสามารถแทน เพราะฉะนั้น น้องๆ จะต้องทำบัตรผู้แสดงความสามารถ เราก็เลยจัดโครงการนี้ขึ้นมา ร่วมกับ 3 ค่ายเพลงคือ แกรมมี่ อาร์เอส และทรู โดยจัดทั้งหมด 5 เวทีทั่วประเทศ คือทุกภาคของประเทศ ก็ได้มาประมาณ 1,700 – 1,800 คน ที่เข้ามาอบรม แล้วก็คัดเลือกเหลือนักร้องประมาณ 60 คน ที่เหลือจะเป็นนักดนตรี มูลนิธิก็ดูแลต่อ ไม่ทิ้งใคร ด้วยการสร้างผลงาน ฝึกเพิ่มเติม ทั้งการร้อง การเล่นแอ็กติ้งต่างๆ แล้วก็หางานให้น้องๆ ซึ่งใช้งบประมาณสูง และยังมีนักร้องนักดนตรีตาบอดที่ยังไม่ผ่านโครงการนี้อีกเยอะ”

“คุณแป๊ก” บอกว่า ตอนนี้ทางมูลนิธิฯ กำลังทำห้องอัดเป็นของตัวเอง ใช้ชื่อว่า S2S Fly High studio เป็นห้องบันทึกเสียงที่สามารถทำทุกกระบวนการในการทำเพลงโดยคนตาบอดทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการแต่งเพลง การทำดนตรีเอง เล่นดนตรีเอง มิกซ์เสียงเอง จนจบกระบวนการ ออกไปสู่ผู้ฟัง ซึ่งยังต้องการงบประมาณอยู่ และทุกคนสามารถช่วยเหลือได้

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”0px|0px|27px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/10/1538750526_41434_11.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”16px|0px|19px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

“อยากให้ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทุกคน มองน้องๆ ที่ความสามารถ มากกว่าความสงสาร เพราะถ้าให้ด้วยความสงสาร น้องก็จะอยู่ในจุดเดิมๆ ผมมองว่า คนตาบอดทำได้มากกว่าที่เห็น เขาเรียนหนังสือ ตั้งใจเรียนจบมา ก็มีความสามารถด้านอื่นๆ ด้วย มีคนจบทั้งปริญญาตรี ปริญญาโท ดอกเตอร์ ที่เป็นคนตาบอด ทั้งในและต่างประเทศ สอบชิงทุนบ้าง แต่กลับมาเนี่ย บางหน่วยงานไม่ได้เปิดโอกาสให้เขาได้ทำงาน หรือแสดงความสามารถที่เรียนมา เขาก็เลยกลับไปเป็นว่า เขาไม่มีอาชีพ กลับไปร้องเพลง กลับไปอะไรเหมือนเดิม คือย้อนกลับไปสู่จุดเดิม แต่ถ้ารัฐบาลมาช่วยเรื่องมีสถานที่ให้เขาแสดง มีที่ให้เขาใช้ความสามารถที่เรียนมา จะเป็นการส่งเสริมที่ยั่งยืน”

ทั้ง “น้องโอ๊ต” และ “น้องนุ่น” ก็มีความเห็นเช่นเดียวกันกับคุณแป๊ก โดยน้องโอ๊ตเสริมว่า คนตาบอดหรือคนพิการที่เรียนจบจากมหาวิทยาลัย ถ้าจะให้มีงานทำจริงทุกคน เขามองว่ายังเป็นเรื่องยากอยู่ เพราะคนที่จบปริญญาตรีก็ยังมาเปิดหมวกกันค่อนข้างเยอะ

“ผมอยากให้รัฐบาลส่งเสริมเรื่องอาชีพด้วย หรือมีหลักสูตรที่จะช่วยให้คนพิการสามารถค้นหาตัวเองเจอว่า ตัวเองชอบอะไร อยากทำอาชีพอะไร ห้ชัดเจน เพราะทุกวันนี้ถ้าหากว่าเขาไปไหนไม่ได้ เขาทำอาชีพอะไรไม่ได้ สุดท้ายก็ต้องมาทำอาชีพเล่นดนตรีเปิดหมวก มันเหมือนคนจบ ม.3 ม.6 ก็สามารถเปิดหมวกได้ คนจบปริญญาตรีก็มาทำอาชีพเดียวกัน มันจะกลายเป็นว่า การศึกษาไม่ได้ช่วยให้มีอาชีพที่ดีขึ้น”

เหมือนเป็นสิ่งที่อยู่ในใจของพวกเขาทุกคน เพราะ “น้องนุ่น” เอง ก็ย้ำเช่นกันว่า เธอเชื่อว่าคนพิการ ไม่ว่าจะทางตา หรือด้านอื่นๆ ก็อยากได้การยอมรับจากสังคม

อยากให้ทุกคนเปลี่ยนจากความสงสาร เป็นการมองกันที่ความสามารถค่ะ”

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”0px|0px|27px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/10/1538750754_11490_12.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”14px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

ความคาดหวังของพวกเขา เป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องช่วยกันทำความเข้าใจ และสนับสนุนพวกเขาที่ความสามารถ

วันนี้ ทั้ง “น้องโอ๊ต” และ “น้องนุ่น” ได้ติดปีกให้ความฝันโบยบินข้ามขีดจำกัดต่างๆ ในชีวิตมาได้แล้ว แต่พวกเขาก็ยังไม่หยุดบิน ด้วยเล็งเห็นว่า มนุษย์ต้องฝึกฝนและพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ สำหรับ “น้องโอ๊ต” เขาอยากเป็นโปรดิวเซอร์ที่เก่งขึ้นในทุกมิติ ส่วน “น้องนุ่น” ก็มีหมุดหมายการเป็นนักร้องที่มีศักยภาพมากขึ้น

“ทุกคนมีปัญหาที่แตกต่างกัน แต่จะทำยังไงให้เจอทางออก สำหรับผมมี 2 ทางเลือก คือ ปล่อยวางซะ หรือไม่ก็คิดบวกไว้ เจอปัญหาวันนี้ พรุ่งนี้ปัญหามันอาจจะไม่อยู่กับเราแล้วก็ได้” น้องโอ๊ตฝากกำลังใจทิ้งท้ายถึงทุกคน

 

แม้ต้องอยู่ในโลกมืด แต่เปลวไฟแห่งความฝันของพวกเขายังคงลุกโชนอยู่เสมอ

แล้วคุณล่ะ ตอนนี้ “ความฝัน” ของคุณ เดินทางถึงไหนแล้ว

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/10/1538751753_22987_13.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ custom_padding=”0px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row custom_padding=”41px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

หมายเหตุ:

  • สำหรับผู้สนใจที่อยากติดต่อให้น้องๆ ผู้พิการทางสายตาไปแสดงความสามารถทางด้านดนตรีและการขับร้อง ติดต่อได้ที่ มูลนิธิสถาบันดนตรีคนตาบอด, โครงการ S2S Fly High: facebook.com/S2SFlyHigh, สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย โทร. 0-2246-3835
  • ติดตามผลงานของพวกเขาได้ที่ Youtube S2S Fly High, FB: S2SFlyHigh

(ขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก S2SFlyHighItthipon Gmr ExecutiveProducerpixabay)

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า