Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

หลังจากได้นำเสนอการพบช้างที่มีลักษณะตามตำราคชลักษณ์ คือ “พลายเอกชัย” ในรายงานพิเศษที่ชื่อว่า พลายเอกชัย เข้าข่ายช้างสำคัญ ตรงตามตำราคชลักษณ์ ใน รัชกาลที่ 10 (ตอนที่ 1) ในรายงานพิเศษชิ้นนี้ เราจะมาติดตามเรื่องราวความเป็นมาของ “พลายเอกชัย” ซึ่งอดีตเป็นช้างลากซุง ติดตามรายงานจากคุณพรทิพย์ โม่งใหญ่

ปัจจุบัน “พลายเอกชัย” ช้างหนุ่มอายุ 33 ปี ส่วนสูง 2.50 เมตร น้ำหนักตัวกว่า 3 ตัน งายาวกว่า 100เซนติเมตร อยู่ในความดูแลของศูนย์อนุรักษ์ช้าง บริษัทช้างทองคำ (ประเทศไทย) จ.มหาสารคาม

ทุกๆ เช้า “พลายเอกชัย” จะต้องเดินออกกำลังกายเพื่อระบบย่อยอาหารก่อนแสดงตัวต่อนักท่องเที่ยว ที่เข้ามาเยี่ยมชมภายในศูนย์อนุรักษ์ช้าง แห่งนี้

“พลายเอกชัย” อยู่ในความดูแลของศูนย์อนุรักษ์มากว่า 8 ปี โดยได้รับความช่วยเหลือจากหลวงปู่ครูบาธรรมมุนี ฐิตธัมโม ผู้ก่อตั้งศูนย์อนุรักษ์ช้างทองคำ

https://www.youtube.com/watch?v=xqIQJjCAyJ4&feature=youtu.be&fbclid=IwAR2xNM5EOKfhY4LVNGXz3rdhc9VQlGNAQQSLHNsk21OfRt6BhmYfEi-n6w8

ย้อนไปเมื่อปี 2553 ขณะ “พลายเอกชัย” เป็นช้างหนุ่ม อายุ 24 ปี เป็นช้างแรงงานชักลากซุงในป่า จ.กระบี่ และให้บริการนักท่องเที่ยว แต่ด้วยไม่มีควาญคนไหนสามารถบังคับ “พลายเอกชัย” ให้ทำงานหนักได้ จึงถูกเจ้าของเก่าประกาศขายต่อในราคา 2 ล้านบาท ครั้งนั้นทางศูนย์อนุรักษ์ช้างทองคำ ต้องใช้วิธีหยิบยืมเงิน และจำนองที่ดินเพื่อนำเงินไปซื้อ “พลายเอกชัย”

ลักษณะภายนอกของ “พลายเอกชัย” ในขณะนั้นเหมือนช้างทั่วไป แต่เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ลักษณะตามคชลักษณะช้างสำคัญ เริ่มปรากฏขึ้น

ไม่เพียงพลายเอกชัยที่ถูกช่วยเหลือมา ที่ศูนย์อนุรักษ์ได้ซื้อช้างพลายที่ผ่านการถูกใช้แรงงงานลากซุงอย่างหนักอีก  9 เชือก ส่วนใหญ่มีสภาพร่างกายร่วงโรย แก่ชรา อายุมากสุดถึง 90 ปี และอายุน้อยสุด คือ 3 ปี เช่น พลายสงกรานต์ ซื้อต่อจากกลุ่มแสดงละครสัตว์แห่งหนึ่ง

นายธนบดี พรหมสุข ประธานกรรมการให้เหตุผลถึงการซื้อช้างแรงงานว่า วัตถุประสงค์ของศูนย์อนุรักษ์คือการช่วยเหลือช้างไทย ที่ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 2,000 เชือก และช้างเกือบทั้งหมดยังคงถูกใช้งานลากซุงอย่างหนักในป่าทั้งในภาคเหนือ ภาคใต้ และประเทศเพื่อนบ้าน มีประมาณ 200 เชือกที่นำมาให้บริการนักท่องเที่ยว โดยศูนย์ได้ออกแบบการท่องเที่ยวผสมผสานการทำธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ รายได้หลักจากกาแฟขี้ช้าง เป็นการสร้างรายได้จากช้างเพื่อช่วยช้าง

ส่วนกาแฟขี้ช้างทองคำ ที่จำหน่ายในขณะนี้ “พลายเอกชัย” ได้ร่วมผลิตด้วย ปัจจุบัน “พลายเอกชัย” เป็นดาวเด่นของศูนย์อนุรักษ์ช้างทองคำ แต่ละวันจะมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมและถ่ายรูปด้วยจำนวนมาก ซึ่งพลายเอกชัยได้สร้างความประทับใจด้วยท่วงท่าสง่างาม และเป็นมิตรกับทุกคนที่ได้มาชื่นชมอย่างใกล้ชิด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พลายเอกชัย เข้าข่ายช้างสำคัญ ตรงตามตำราคชลักษณ์ ใน รัชกาลที่ 10 (ตอนที่ 1)

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า