SHARE

คัดลอกแล้ว

เลขาธิการ สทนช. เผยสถานการณ์อิทธิพลจากพายุโซนร้อน “เบบินคา” กำชับหน่วยงานเร่งระบายน้ำในเขื่อนหลักและแจ้งเตือนประชาชนเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

วันที่ 16 ส.ค. 61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสมเกียรติ ประจำวงศ์ เลขาธิการ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำล่าสุดว่า พายุโซนร้อน “เบบินคา” ได้เข้ามาใกล้ประเทศไทยตอนเหนือ ซึ่งเป็นไปตามคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา โดยพื้นที่ที่เฝ้าระวังและมีฝนตกหนักคือพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน และ แม่ฮ่องสอน โดยสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษคือ เหตุการณ์ดินโคลนถล่ม น้ำป่าไหลหลาก และยังคงมีบางพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ด้วย คือ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และกาญจนบุรี

สำหรับสถานการณ์น้ำที่เขื่อนแก่งกระจาน ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาน้ำในเขื่อนได้ลดลง แต่ล่าสุดพบว่ามีปริมาณน้ำไหลเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ขณะเดียวกันกรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ไว้ว่าจะมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจทำให้น้ำไหลเข้าเขื่อนแก่งกระจานมากขึ้นกว่าเดิม จึงต้องเร่งดำเนินการพร่องน้ำและระบายน้ำ พร้อมแจ้งเตือนประชาชนให้รับทราบล่วงหน้า 3 วัน สำหรับเขื่อนวชิราลงกร จ.กาญจนบุรี ปัจจุบันมีอัตราการระบายน้ำอยู่ที่ 43 ล้าน ลบ.ม./วินาที ซึ่งอาจจะต้องมีการระบายน้ำเพิ่ม โดยต้องดูความสามารถในการรับน้ำของลำน้ำแม่กลองกับลำน้ำแควน้อย ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจะต้องปรับแผนการบริหารจัดการน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำให้เพิ่มมากขึ้น

สำหรับสถานการณ์น้ำที่เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก หลังจากฝนตกหนักเมื่อ 2 วันที่ผ่านมา ได้ทำหน้าที่จัดการจราจรน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำในเขื่อน ปัจจุบันระดับอยู่ที่ร้อยละ 85 ของความจุเขื่อน ขณะที่ปริมาณน้ำในวังตะไคร้ ที่ไหลผ่านตัวเมืองนครนายก ยังมีระดับสูงในเกณฑ์ต้องควบคุมและจะต้องเร่งระบายน้ำเพิ่มมากขึ้น โดยการระบายน้ำในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 80-90 มิลลิเมตรต่อวินาที ในขณะที่เกณฑ์ความสามารถในการระบายน้ำ อยู่ที่ 180-200 มิลลิเมตรต่อวินาที ส่วนสถานการณ์น้ำที่แม่น้ำโขง จะมีปริมาณน้ำที่สูงขึ้นเนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านเริ่มระบายน้ำมาด้วย ประกอบกับฝนที่ตกในภาคอีสาน อาจจะทำให้การระบายน้ำลำบากเพิ่มขึ้น

ขณะเดียวกัน พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางตรวจเยี่ยมในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ จึงได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระบายน้ำพร้อมให้คำแนะนำกับเจ้าหน้าที่ให้ดูประสิทธิภาพการรองรับน้ำของลำน้ำด้วย อย่างไรก็ตาม ให้หน่วยงานและประชาชนเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า