SHARE

คัดลอกแล้ว

เมื่อปลายเดือน พ.ค. คณะกรรมการวัตถุอันตรายลงมติ “ไม่แบน” สารกำจัดศัตรูพืช 3 ชนิด ได้แก่ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต แม้ว่าจะขัดกับข้อเสนอของกระทรวงสาธารณสุข ที่เสนอให้ไทยไม่ต่อทะเบียนสารพิษเหล่านี้ เพราะมีอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

ล่าสุด  มูลนิธิชีววิถี (Biothai) และเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) ได้เปิดเผย “รายงานของคณะกรรมการวัตถุอันตราย” โดยตั้งข้อสังเกตถึงความโปร่งใส่ของคณะกรรมการชุดดังกล่าวว่าอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อน จึงไม่นำเสนอประเด็นอันตรายของสารทั้ง 3 อย่างรอบด้าน ทั้งที่มีงานวิจัยจำนวนมากที่แสดงถึงอันตรายของพาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต (http://thaipan.org/sites/default/files/file/pesticide_doc35.pdf)

ทีมข่าวเวิร์คพอยท์จึงขอเปิดงานวิจัยทั้งของไทยและต่างประเทศ เพื่อดูว่าสารกำจัดศัตรูพืชทั้ง 3 มีอันตรายต่อร่างกายมนุษย์มากน้อยแค่ไหน

พาราควอต เป็นสารกำจัดวัชพืชที่มีพิษเฉียบพลันสูง ตกค้างในสิ่งแวดล้อม และสามารถเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ได้โดยการกิน สัมผัส และหายใจ งานวิจัยของสถาบันจุฬาภรณ์ ระบุว่า พาราควอตทำให้สัตว์ทดลองมีการเคลื่อนไหวผิดปกติและเซลล์ประสาทตาย

ส่วนการศึกษาเชิงระบาดวิทยาในมนุษย์ของสหรัฐฯ ระบุ พาราควอตเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคพาร์กินสัน 67% สอดคล้องกับงานวิจัยในไต้หวันและอีกหลายประเทศ ทำให้ในปัจจุบันกว่า 53 ประเทศทั่วโลกแบนการใช้พาราควอตแล้ว

งานวิจัยของ ศ.ดร.พรพิมล กองทิพย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการตรวจวัดสารพาราควอตในซีรัมของแม่และสายสะดือของทารกในพื้นที่การเกษตร ที่มีการฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชบริเวณ จ.นครสวรรค์ อำนาจเจริญ และกาญจนบุรี

พบว่า มีพาราควอตตกค้างในซีรัมของแม่และสายสะดือของทารก 17-20% จากตัวอย่างที่สุ่มตรวจ และยังพบสารพาราควอตในอุจจาระของทารกแรกเกิดมากกว่า 50% ของกลุ่มตัวอย่าง จึงอาจบ่งชี้ได้ว่าสารพิษดังกล่าวสามารถถ่ายทอดจากแม่ไปสู่ลูก และส่งผลต่อพัฒนาของเด็ก

งานวิจัยผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้พาราควอตของเกษตรกรที่ ต.ปงสนุก อ.เวียงสา จ.น่าน พบว่ามีเกษตรกรกว่า 41.5% ที่มีอาการผิวหนังอักเสบ

นอกจากนั้น ยังมีรายงานว่าเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ ต.บรบือ อ.บรบือ จ.มหาสารคาม มีอาการชาตามนิ้วมือนิ้วเท้า และเกิดบาดแผลลุมลาม เพราะได้รับสารพิษที่แทรกซึมอยู่ในดินและแหล่งน้ำ ทำให้บางคนต้องตัดเนื้อส่วนที่เน่าทิ้ง

งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ ระบุว่า คลอร์ไพริฟอสสามารถตกค้างในร่างกายของแม่และมีโอกาสกระจายตัวไปสู่ทารกในครรภ์ ส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็ก

เด็กที่ได้รับสารพิษชนิดนี้จะมีความจำสั้น สมาธิต่ำ และเชื่องชา ซึ่งแม้แต่ในรายงานของคณะกรรมการวัตถุอันตรายเองก็ระบุว่า พบความสัมพันธ์ระหว่างคลอร์ไพริฟอสกับพัฒนาการของสมองเด็กเช่นกัน

การศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า คลอร์ไพริฟอสทำให้ต่อมไร้ท่อเกิดความผิดปกติ และส่งผลให้ฮอร์โมนเพศมีระดับลดลง ส่งผลเสียต่อต่อมน้ำนม และอาจมีผลต่อระบบสืบพันธุ์ เพราะรบกวนการสร้างฮอร์โมนเพศชาย

จากการศึกษาเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างสารกำจัดศัตรูพืชกับการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักในเกษตรกรกว่า 56,000 คน ที่ไม่เคยมีประวัติเป็นมะเร็ง ของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ พบว่าคลอร์ไพริฟอสกระตุ้นการเติบโตของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ และเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งทวารหนักถึง 2.7 เท่า

สถาบันวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศ (International Agency for Research on Cancer – IARC) ระบุว่าไกลโฟเซตเป็นสารก่อมะเร็ง ในขณะที่งานวิจัยของสถาบันจุฬาภรณ์ ซึ่งตีพิมพ์และเผยแพร่ทั่วโลก ระบุว่า ไกลโฟเซตส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม โดยไกลโฟเซตทำให้เซลล์มะเร็งที่ไวต่อฮอร์โมนเพศหญิงเพิ่มจำนวนขึ้น 5-13 เท่า

งานวิจัยของมหาวิทยาลัยนเรศวร พบว่ามีไกลโฟเซตตกค้างในสิ่งแวดล้อมและร่างกายของแม่ที่พักอาศัยบริเวณที่มีการฉีดพ่นสารไกลโฟเซต ส่งผลกระทบต่อการทำงานของต่อมไร้ท่อของทั้งแม่และทารก โดยพบสารพิษดังกล่าวตกค้างในซีรัมของแม่ 54% ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด และพบว่าตกค้างในสายสะดือของทารก 49% จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าสารพิษอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กในระยะยาว

ติดตามข่าวที่น่าสนใจได้ที่ workpointnews.com

Facebook / facebook.com/WorkpointNews/

Instagram / instagram.com/workpointnews/

Twitter / twitter.com/WorkpointShorts

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า