SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – พ่อแม่หลายคนในอินโดนีเซียจับลูกแต่งงานตั้งแต่ยังเด็ก ปากบอกเป็นประเพณีแต่จริง ๆ อยากได้เงินใส่ซองช่วยงานคืน

 แม้กฎหมายอินโดนีเซียกำหนดให้คนที่จะแต่งงานจดทะเบียนสมรสได้ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไปหรือ 16 ปีขึ้นไปหากพ่อแม่ยินยอม แต่การให้เด็กแต่งงานกันก็ยังคงพบเห็นได้ทั่วไปในหลายพื้นที่ เช่นที่ซุเมเนปในจังหวัดชวาตะวันออก มีการจัดพิธีแต่งงานหมู่ของเด็ก 6 คน อายุมากสุด 14 ปี น้อยที่สุด 4 ขวบ

แม่ของเจ้าสาวคนหนึ่งในงานนี้บอกว่า “ถ้ามีใครมาขอลูกเรา เราก็ต้องตอบตกลงเพราะมันเป็นประเพณี” นอกจากจะมองว่าเป็นประเพณีแล้ว ศาสนาก็มีส่วน “ศาสนาไม่มีกฎข้อห้ามเรื่องนี้ อีกทั้งภรรยาคนหนึ่งของนบีมูฮัมหมัดเองก็แต่งงานตอนเธออายุ 9 ปี การให้เด็กแต่งงานจึงกลายเป็นความชอบธรรม” Tatik Hidayati อาจารย์สถาบันวิทยาศาสตร์อิสลามกล่าว

รายงานของยูนิเซฟระบุว่าอัตราการแต่งงานของเด็กในอินโดนีเซียสูงมาก ผู้หญิง 1 ใน 4 แต่งงานตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ขณะที่ผลการสำรวจของมูลนิธิ Rumah Kita Bersama เมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้วพบว่าเกือบร้อยละ 70 ของคนในซุเมเนปแต่งงานก่อนอายุ 18

Lies Marcoes Natsir ผู้อำนวยการมูลนิธิพูดถึงเหตุผลการจับเด็กแต่งงานกันว่าส่วนหนึ่งเพราะพ่อแม่อยากได้เงินช่วยงานคืน “ถ้าบ้านไหนจัดงานแต่งงาน คนในชุมชนจะไปร่วมงานพร้อมซองเงินช่วยงาน หลายคนเลยอยากจัดงานแต่งเพราะอยากได้เงินช่วยงานที่ตัวเองเคยจ่ายไปคืน เป็นธรรมเนียมที่ทำกันมานานแล้วแล้วก็ยังคงทำกันอยู่”

หลังพิธีแต่งงาน เจ้าบ่าวเจ้าสาวตัวน้อยต่างแยกย้ายไปใช้ชีวิตตามปกติเหมือนเด็กทั่วไปกับครอบครัวตัวเอง เฉพาะช่วงวันหยุดหรือพิธีทางศาสนาเท่านั้นที่พ่อแม่จะต้องพา “สามี” ไปหา “ภรรยา” จนกระทั่งทั้งคู่โตขึ้นมีอายุที่เหมาะสมจึงอยู่กินกันฉันท์สามีภรรยา

แม้จะไม่มีตัวเลขข้อมูลชี้ชัดอย่างเป็นทางการแต่เชื่อกันว่าอัตราหย่าร้างที่สูงในอินโดนีเซียส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการแต่งงานตั้งแต่วัยเด็ก นอกจากนี้การแต่งงานของเด็กโดยเฉพาะเด็กหญิงยังเป็นที่มาของปัญหาสุขภาพ “เด็กที่แต่งงานตอนอายุไม่ถึง 15 แล้วตั้งครรภ์น่าห่วงทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทางร่างกายเพราะยังไม่พร้อมจะคลอดบุตร เสี่ยงที่จะแท้งได้ง่ายหรือเด็กที่คลอดออกมามักมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ส่วนทางจิตใจนั้น ด้วยความที่ยังเด็ก พวกเธอยังไม่มีวุฒิภาวะพอที่จะดูแลเด็กที่เกิดมาได้” Hajah Kusmawati เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในซุเมเนปกล่าว

 

 

ที่มา ChannelNewsAsia

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า