SHARE

คัดลอกแล้ว

ร่าง พ.ร.บ.ข้าว ไม่มีบทลงโทษชาวนากฏหมายยังอยู่ระหว่างพิจารณา ขณะที่นายกฯ เป็นห่วงการนำเสนอข่าวบิดเบือน เตือนขอให้ระวังเนรื่องการเสนอข่าว

วันที่ 18 ก.พ. 2562 พล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยวานนี้ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แสดงความเป็นห่วงเรื่องความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและการนำเสนอข่าวที่บิดเบือนเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ข้าว ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของ สนช. ทั้ง ๆ ที่กฎหมายฉบับนี้จะเป็นกลไกควบคุมการผลิตและจำหน่ายข้าวเปลือกอย่างเป็นธรรม

“พาดหัวข่าวทำนองว่า ชาวนาสะอื้น ชาวนาอ่วม หาก พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ โดยถ้าชาวนาคนใดมีเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ในครอบครองจะมีความผิด และยังเป็นกฎหมายที่เอื้อนายทุนด้วยนั้น ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ดังนั้นสื่อมวลชนควรระมัดระวังในเรื่องนี้”

นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลที่แชร์กันจากหลายเพจ เช่น เพจเฟซบุ๊กของนายสุเทพ คงมาก ที่ระบุถึงโทษของชาวนาที่ฝ่าฝืนกฎหมายจะต้องถูกจำคุก 5 ปี หรือถูกปรับ 500,000 บาทนั้น ก็ไม่ถูกต้อง จึงขอให้ประชาชนใช้วิจารณญาณในการเสพข่าว และผู้ที่โพสต์หรือส่งต่อข้อมูลที่บิดเบือน อาจเข้าข่ายกระทำผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ด้วย

นายกรัฐมนตรี เน้นย้ำว่า ชาวนาสามารถพัฒนาพันธุ์ข้าวไว้ใช้เองได้โดยไม่มีความผิด แต่หากจะนำไปขายก็ต้องไปขอขึ้นทะเบียนกับกรมการข้าว เหมือนกับสินค้าอาหารเครื่องดื่มที่ต้องไปขึ้นทะเบียนกับ อย. เพื่อรับรองคุณภาพ พ.ร.บ.ข้าว จะช่วยคุ้มครองชาวนาในระยะยาวไม่ให้ถูกโรงสีเอาเปรียบกดราคาโดยอ้างว่าข้าวเปลือกของชาวนาไม่มีคุณภาพ และยังทำให้พันธุ์ข้าวต่าง ๆ ได้รับการขึ้นทะเบียนรับรองมาตรฐาน ป้องกันการหลอกขายเมล็ดพันธุ์จากพ่อค้าที่ไร้ความรับผิดชอบ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้รวบรวมข้อท้วงติงและความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์เสนอไปยังคณะกรรมาธิการที่พิจารณาเรื่องนี้แล้ว”

ความจริงของร่างกฎหมายนี้ 

ด้านนายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ข้าว ไขข้อสงสัยกรณีกระแสวิจารณ์กฎหมายเอาผิดชาวนา ย้ำชัดเจน! ตัวบทกฎหมายร่าง พ.ร.บ.ข้าว ไม่มีมาตราใดระบุโทษชาวนาทั้งสิ้น มีเพียงควบคุมผู้ค้าไม่ให้จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ปลอมปนเท่านั้น ขอให้ชาวนาอย่าเพิ่งตื่นตระหนก ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการปรับกฎหมาย ยังไม่มีผลบังคับใช้แต่อย่างใด  ความจริงของร่างกฎหมายนี้ คือ

1. พ.ร.บ. พันธุ์พืช 2518 มีบทบัญญัติไว้ว่า การจำหน่ายพันธุ์พืชจะจำหน่ายได้เฉพาะเมล็ดพันธุ์ที่มีการรับรองพันธุ์แล้ว โดยพืชต่างๆรวมทั้งข้าวรับรองเป็นพันธุ์รับรองโดยกรมวิชาการเกษตร (เมื่อมีการจัดตั้งกรมการข้าวขึ้นในภายหลังแยกออกจากกรมวิชาการเกษตร การรับรองข้าวเป็นพันธุ์รับรองดำเนินการโดยกรมการข้าว) และเป็นไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช 2542 ซึ่งใน พ.ร.บ.พันธุ์พืช มาตรา14 วรรค 3 มีการยกเว้นให้กับเกษตรกรสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์และเก็บไว้ใช้เองได้

2. ร่าง พ.ร.บ. ข้าว มาตรา 27/1 ได้มอบอำนาจให้กรมการข้าวทำหน้าที่รับรองพันธุ์ข้าว ส่วนเรื่องการจำหน่ายนั้นเป็นไปตาม พ.ร.บ. พันธุ์พืชเช่นเดิม และที่ (ร่าง)พ.ร.บ. ข้าว มาตรา 27/1 วรรค 3 ได้มีการเขียนข้อยกเว้นระบุให้ชัดเจนขึ้นจากที่ระบุไว้ใน พรบ. พันธุ์พืช 2518 คือ ทั้งนี้ มิให้ใช้บังคับแก่ชาวนาที่ปลูกข้าวและเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองหรือที่แลกเปลี่ยนกับชาวนาด้วยกัน  เป็นเพียงการถ่ายโอนอำนาจในการรับรองพันธุ์ข้าวจากกรมวิชาการเกษตรมาให้กรมการข้าว ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านข้าวดูแล เพื่อกำกับไม่ให้พันธุ์ข้าวไม่ได้คุณภาพจำหน่ายในเชิงพาณิชย์

3. การขึ้นทะเบียนชาวนาทุกคน ไม่มีการระบุไว้ใน พ.ร.บ.ข้าว ตามที่เป็นข่าว ซึ่งใน พ.ร.บ.ข้าว มาตรา 19 ได้กำหนดให้กรมการข้าวเชื่อมโยงข้อมูลเกษตกรกับฐานข้อมูลที่มีอยู่ของภาครัฐ

4. ร่าง พ.ร.บ.ข้าว มาตรา 20 ได้กำหนดให้โรงสีต้องส่งสำเนา “ใบรับซื้อ” ให้กับกรมการข้าว ซึ่งจะต้องมีกฏหมายลูกออกเกณฑ์การดำเนินการอีกครั้ง ประเด็นจึงออกมาว่าจะเป็นภาระของโรงสีในการดำเนินการดังกล่าว

5. ร่าง พ.ร.บ.ข้าว ไม่ได้เกี่ยวกับการค้าข้าว ซึ่งการค้าข้าวเป็นไปตาม พ.ร.บ. ค้าข้าว 2489 โดยกระทรวงพาณิชย์

6. ข้าวหอมจัสมิน 85 หรือข้าวหอมพวง ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวที่ไม่ได้รับรองโดยกรมวิชาการ แต่เกษตรกรภาคกลางนิยมปลูกกัน (ตามกระแสพันธุ์ใหม่) จึงเกิดการเกรงว่า ถ้ามีการไปตรวจสอบว่าแปลงนาที่ปลูกข้าวพันธุ์นี้ จะนำไปขายไม่ได้ ซึ่งก็ยังดำเนินการได้ถ้ากลไกลตลาดยังมีการรับซื้ออยู่ เพราะเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์นี้เกษตรแลกเปลี่ยนกันเองได้ แต่ถ้ามีการซื้อขายโดยการโฆษณาดำเนินการไม่ได้

7. ปริมาณการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวของไทยมีประมาณ 1 ล้านตัน กรมการข้าวและเครือข่าย ผลิตได้ 1 แสนตัน ภาคเอกชน 4 แสนตัน เกษตรกรแลกเปลี่ยนกันเอง 5 แสนตัน ซึ่งในส่วน 5 แสนตันที่เกษตกรแลกเปลี่ยนกันนี้ พ.ร.บ.พันธุ์พืช และ (ร่าง)พ.ร.บ. ข้าว ได้ยกเว้นการควบคุมส่วนนี้ไว้

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า