SHARE

คัดลอกแล้ว

“ประจิน” ชง พ.ร.บ.ปลดล็อกกัญชา นำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เข้า ครม. 13 พ.ย. เตรียมให้องค์การเภสัชกรรมนำร่องเดินหน้าผลิต

เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 61 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ยุติธรรม กล่าวว่า ความก้าวหน้าเรื่องการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์นั้น รัฐบาลได้ส่งร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ …) พ.ศ. … เข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา

ซึ่ง สนช.ได้ตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างดังกล่าว โดยกรอบแรกใช้เวลาพิจารณา 90 วัน แต่เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีรายละเอียดมากและซับซ้อน รวมถึงจำเป็นต้องรับฟังความคิดเห็นรอบด้าน จึงมีการยืดเวลาอีก 90 วัน ซึ่งสนช.กำหนดไว้ว่าจะให้การพิจารณาร่างกฎหมายนี้เสร็จสิ้นในเดือน ก.พ. 62

โดยระหว่างนี้ คณะกรรมาธิการฯ และสมาชิก สนช.ส่วนหนึ่งเห็นว่า การนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์นั้น ควรแยกเป็นพ.ร.บ.เฉพาะเรื่องนี้ ซึ่ง สนช.ได้ยกร่างขึ้นมาแล้ว มีบทบัญญัติไม่กี่มาตรา โดยจะชี้แจงในที่ประชุม สนช.ในวันที่ 9 พ.ย.นี้

ครม.มีมติเห็นชอบให้ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รมว.สาธารณสุข เป็นผู้ไปรับเรื่อง โดยจะใช้เวลาพิจารณาภายใน 3 วัน แล้วจะเสนอขอความเห็นชอบจากที่ประชุม ครม.ในวันที่ 13 พ.ย.นี้ ถ้าครม.เห็นชอบ ก็จะส่งร่างนี้ไปเข้าสู่การพิจารณาของ สนช.ต่อไป

ซึ่งตรงนี้จะทำให้เกิดการปลดล็อกเรื่องการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ อีกทั้งขณะนี้ได้มีการตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างกระทรวงยุติธรรม กับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อรวบรวมและเรียบเรียงข้อมูลความเป็นมาของงานวิจัย ประโยชน์ที่ได้รับ และข้อเสนอในการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า ในอดีตมีภูมิปัญญาชาวบ้านในการนำกัญชามาใช้รักษาผู้ป่วย ต่อมามีการควบคุมพืชเสพติด โดยกำหนดให้กัญชาเป็นพืชเสพติด ประเภทที่ 5 ซึ่งห้ามนำกัญชามาผลิตหรือนำมาใช้ อย่างไรก็ตาม หลายประเทศมีการวิจัยเรื่องประโยชน์ของกัญชา อาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ประเทศในทวีปยุโรป ซึ่งเขาพบว่าน้ำมันสกัดสารจากกัญชาสามารถใช้ผสมกับสูตรต่างๆ แล้วนำไปรักษาโรคได้

โรคที่มีเกณฑ์ในการรักษาแล้วประสบความสำเร็จเกิน 70 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคหืดหอบ และโรคมะเร็ง ทั้งนี้ นักวิจัยของไทยหลายสถาบันได้ติดตาม ค้นคว้า และศึกษา ซึ่งคณะทำงานร่วมระหว่างกระทรวงยุติธรรมกับกระทรวงสาธารณสุข ได้รวบรวมผลการวิจัย และความเป็นไปได้ในการจะนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์

ขณะเดียวกัน เราต้องยึดถือข้อตกลงในฐานะที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ด้านยาเสพติด ซึ่งกำหนดว่าให้ประเทศสมาชิกต้องไม่ยินยอมให้นำยาเสพติดมาเป็นสิ่งถูกต้องตามกฎหมาย อีกทั้งให้นำพืชเสพติดมาใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์และประโยชน์ทางการแพทย์เท่านั้น

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า สำหรับกัญชาที่จะถูกนำมาใช้นั้น จะมีการนำพันธุ์กัญชามาปลูกในพื้นที่ควบคุมซึ่งมีอุณหภูมิ น้ำ แสง และน้ำที่เหมาะสม อีกทั้งกระบวนการการสกัดน้ำมันต้องทำในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ แล้วนำไปผสมเป็นสูตรในการรักษาโรค รวมถึงต้องมีแพทย์และผู้ป่วยที่สมัครใจเข้ารับการรักษาด้วยสารดังกล่าว ซึ่งตรงนี้ต้องได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

ทั้งนี้ การนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้ายาจากต่างประเทศ รวมถึงจะเปิดโอกาสให้นักวิจัยและผู้ประกอบการทำธุรกิจตรงนี้เป็นธุรกิจที่พึ่งพาตนเองในประเทศ อย่างไรก็ตาม เมื่อมีกฎหมายออกปลดล็อกเรื่องการใช้ประโยชน์จากกัญชาแล้ว จะมีการกำหนดผู้ทำหน้าที่ดูแลการผลิต และผู้ควบคุมการรักษาให้เป็นตามวัตถุประสงค์ของการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า จากนั้น กระทรวงสาธารณสุขสามารถใช้กฎหมายที่มีอยู่ในการเปลี่ยนกัญชาให้เป็นพืชเสพติด ประเภทที่ 2 เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้ทันที รวมถึงต้องปรับแก้กฎกระทรวงสาธารณสุขในเรื่องการได้มาซึ่งแหล่งของกัญชาเพื่อนำมาสู่กระบวนการสกัด

เมื่อแก้ไขกฎกระทรวงแล้ว จะทำให้องค์การเภสัชกรรมเป็นหน่วยนำร่องในการผลิตน้ำมันสารสกัดจากกัญชามาใช้ทางการแพทย์ ก่อนจะระดมหน่วยงานด้านการวิจัยและมหาวิทยาลัยต่างๆ มาเข้าสู่ระดมและร่วมมือกัน ผลิตแล้วขึ้นทะเบียนกับ อย. เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์สมัยใหม่

ส่วนแพทย์ทางเลือกและแพทย์แผนไทย จะต้องรอให้ออก พ.ร.บ.นี้ก่อน และต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนก่อนนำไปใช้ประโยชน์อย่างถูกกฎหมาย

“คงไม่สามารถนำกัญชาอัดแห้งที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมมาใช้ประโยชน์ในเรื่องนี้ได้ เพราะกระบวนการสกัดเป็นน้ำมันจะต้องใช้ต้นกัญชาสดที่มีอายุในระดับหนึ่ง แต่กัญชาที่จับกุมได้นั้นฝ่อไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถนำมาใช้สกัดน้ำมันได้” พล.อ.อ.ประจิน กล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า