Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สถานการณ์หมอกควันจากไฟป่าของภาคเหนือ วิกฤติหนักขึ้นอีก หลังข้อมูลจากดาวเทียมเช้านี้พบ 9 จังหวัดภาคเหนือเกิดไฟป่าอย่างหนัก จุดความร้อนเพิ่มเป็นกว่า 3000 จุดแล้ว ขณะที่นายกรัฐมนตรี เตรียมขึ้นเหนือเพื่อติดตามสถานการณ์หมอกควัน

วันที่ 1 เม.ย. 2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงค่ำวานนี้(31 มี.ค. 62) ที่จังหวัดเชียงใหม่จะมีสภาพอากาศที่ดีขึ้น จนบางพื้นที่มาอยู่ในระดับสีส้มเนื่องจากมีกระแสลมพัดผ่านพัดพาหมอกควันออกจากตัวเมืองเชียงใหม่ แต่ช่วงกลางดึกที่ผ่านมา(31 มี.ค. 62)  กลับมีกระแสลมพัดหมอกควันกลับมาสะสมในพื้นที่อีกครั้ง

ขณะเดียวกันเกิดไฟป่าในหลายพื้นที่โดยเฉพาะในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จนเจ้าหน้าที่ต้องระดมกำลังทั้ง ทหาร ชาวบ้าน และ เจ้าหน้าที่อุทยาน เข้าดับไฟป่าอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยสภาพอากาศที่ไม่เป็นใจ ทั้งความแห้งแล้งของอากาศที่ร้อน เชื้อเพลิงจากใบไม้กิ่งไม้แห้งที่สะสม รวมทั้งเรื่องของกระแสลมทำให้ยิ่งเกิดไฟป่าลุกลามอย่างรวดเร็ว

ล่าสุดจากข้อมูลของดาวเทียมจิสด้า (GISTDA) ตรวจพบจุดความร้อน  (Hotspot)  ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ ที่เพิ่มขึ้นจนน่าตกใจคือ มีมากถึง จำนวน 3,088 จุด ในวันที่ 1 เม.ย.62  โดยจังหวัดแม่ฮ่องสอนพบมากที่สุด จำนวน  981  จุด, รองลงมาเป็นจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน  615  จุด, จังหวัดเชียงราย จำนวน  370  จุด, จังหวัดลำปาง จำนวน  302  จุด, จังหวัดน่าน จำนวน  219  จุด, จังหวัดแพร่จำนวน  214  จุด, จังหวัดตาก จำนวน  211  จุด, จังหวัดพะเยาจำนวน  116  จุด และ จังหวัดลำพูน จำนวน  60  จุด ทั้งหมดนี้ยังไม่นับรวมในพื้นที่ของประเทศพม่าที่อยู่โดยรอบพื้นที่ภาคเหนือของไทยที่หนักกว่าบ้านเราหลายเท่าตัว เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้หมอกควันยังลอยวนเวียนอยู่ในพื้นที่

อย่างไรก็ตามจากการรายงานค่ามลพิษจากฝุ่นละอองPM 2.5 ก็มีหลายหน่วยงานที่มีข้อมูลแบบรายชั่วโมง หรือเรียลไทม์แตกต่างกัน อย่างเช่นเช้านี้ จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ เมื่อเวลา 8 นาฬิกาค่ามลพิษจากฝุ่นละออง PM2.5 จากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ต.ช้างเผือก อ.เมือง วัดได้ 128 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนในจุด ต.ศรีภูมิ อ.เมือง วัดได้ 85 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

จากข้อมูลจากเว็บไซต์ www.airvisual.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์วัดคุณภาพอากาศของทั่วโลก พบว่าจากการเปรียบเทียบดัชนีคุณภาพอากาศหรือค่า US AQI จากหัวเมืองใหญ่จากประเทศต่างๆ ทั่วโลกพบว่าค่ามลพิษในอากาศของจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อเวลา 9 นาฬิกา ค่ามลพิษในอากาศของจังหวัดเชียงใหม่พุ่งสูงเป็นอันดับ 1 ของโลกอยู่ในระดับผลกระทบหนักที่สุดกับร่างกายมนุษย์ ซึ่งดัชนีคุณภาพอาาศของจังหวัดเชียงใหม่ วัดได้ 293 US AQI ส่วนอันดับ 2 เป็นของเมือง Astana , Kazakhstan วัดได้ 176 US AQI

ทางด้านศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ เผยข่าวดีว่าพื้นที่ภาคเหนือ ในช่วงวันที่ 1-2 เมษายนตั้งแต่ช่วงค่ำเป็นต้นไป จะมีมวลอากาศเย็นจากจีนลงมาปะทะกับหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อน ซึ่งในช่วงดังกล่าวจะทำให้เกิดพายุฤดูร้อน ในลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และพายุลูกเห็บได้ในพื้นที่ซึ่งสภาพอากาศแปรปรวนนี้เองก็จะลุ้นว่าจะส่งผลให้สถานการณ์วิกฤติหมอกควันภาคเหนือจะได้บรรเทาลงได้ มากน้อยเพียงใด

ขณะเดียวกันในวันพรุ่งนี้(2 เม.ย. 62) เวลา 9.00 น. พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเดินทางมาที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อติดตามสถานการณ์หมอกควันและไฟป่าของจังหวัดเชียงใหม่ และภาคเหนือ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ และในช่วงบ่ายจะเดินทางกลับมาประชุมคณะรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า