SHARE

คัดลอกแล้ว

ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ผนึกกำลัง ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช วิจัยสารอินทรีย์ปนเปื้อนเป็นพิษน้ำใต้ดิน คว้าเหรียญทองและรางวัลพิเศษ

ดร.พีรพงษ์ พรวงศ์ทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนา (หัวหน้าโครงการวิจัย) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปณกมล ทองหล่อ ภาควิชาฟิสิกส์อุตสาหกรรมและอุปกรณ์การแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) และ ดร.พันธุ์ศักดิ์ เกิดทองมี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ได้รับทุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ คว้ารางวัลเหรียญทอง (Gold Medal) และรางวัลพิเศษจาก Indian Innovators Association ผลงาน “ระบบพลาสมาดิสชาร์จเพื่อการบำบัดสารอินทรีย์ปนเปื้อนที่เป็นพิษในน้ำใต้ดิน” จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในงาน The 10th  International Exhibition of Inventions (IEI) และ The 3rd  World Invention and Innovation Forum ณ เมือง Foshan ประเทศจีน เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2561 ที่ผ่านมา

ปัจจุบัน การปนเปื้อนของมลพิษต่างๆ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมและกิจกรรมของมนุษย์ เป็นแหล่งมลพิษที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของสารเคมีต่างๆ หากน้ำเสียเหล่านี้ถูกปล่อยลงสู่ธรรมชาติ จะก่อให้เกิดการปนเปื้อนของสารเคมีในแหล่งน้ำดื่ม โดยในปัจจุบันพบว่า แหล่งน้ำของชุมชนในพื้นที่รอบโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งปนเปื้อนสารเคมีที่เป็นพิษ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากการอุปโภคบริโภคน้ำ ซึ่งแหล่งน้ำหลายๆ แห่งได้ถูกปิด ทำให้ใช้ประโยชน์ไม่ได้

ระบบบำบัดสารอินทรีย์ที่เป็นพิษน้ำใต้ดิน โดยไม่ต้องเติมสารเคมีเหมือนกระบวนการออกซิเดชันขั้นสูง ที่ใช้ในการกำจัดสารอินทรีย์ที่เป็นพิษ ชุดต้นแบบเป็นระบบกำเนิดพลาสมา เมื่อมีพลาสมาเกิดขึ้น พลาสมาจะสร้างองค์ประกอบทางเคมีฟิสิกส์ต่างๆ เช่น โอโซน ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และแสงอัลตราไวโอเล็ตจากไอน้ำ   องค์ประกอบนี้จะเอื้อให้เกิดการสร้างสารอนุมูลอิสระไฮดรอกซิล ที่มีประสิทธิภาพในการบำบัดสารปนเปื้อนอินทรีย์ที่เป็นพิษในน้ำ เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในกระบวนการออกซิเดชันขั้นสูง

จากการทดสอบการบำบัดสารอินทรีย์ก่อมะเร็งที่ย่อยสลายได้ยากในสิ่งแวดล้อม 2 ชนิด ได้แก่ ไตรคลอโร เอทิลีน และ 1, 4 – ไดออกเซน ซึ่งเป็นตัวทำละลายที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท และเป็นสารเคมีปนเปื้อนที่มักพบในแหล่งน้ำดื่มใต้ดิน พบว่าต้นแบบระบบบำบัดสารอินทรีย์ปนเปื้อนในน้ำ โดยใช้พลาสมามีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดไตรคลอโรเอทิลีนและ 1, 4 – ไดออกเซน โดยใช้ระยะเวลาในการบำบัดสั้น

นอกจากนี้ ยังสามารถบำบัดสารเคมีอินทรีย์ที่ปนเปื้อนและลดความเป็นพิษของน้ำ จากแหล่งปนเปื้อนในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง ได้อีกด้วย ต้นแบบระบบบำบัดสารอินทรีย์ปนเปื้อนโดยใช้พลาสมา อาจจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการบำบัดน้ำเสีย เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากสารเคมีที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำจากโรงงานอุตสาหกรรมอีกด้วย

นับเป็นอีกหนึ่งผลงานที่ช่วยบำบัดน้ำเสีย และรักษาสิ่งแวดล้อมของประเทศอย่างยั่งยืน โดยใช้องค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ผลงานวิจัยพัฒนานวัตกรรม สร้างความภาคภูมิใจให้กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) และประเทศไทย เป็นที่ประจักษ์ชัดแก่สาธารณชนทั้งในเวทีระดับชาติและนานาชาติ

 

ติดตามข่าวอื่นได้ที่
เว็บไซต์: workpointnews.com
เฟซบุ๊ก: ข่าวเวิร์คพอยท์ ตลาดข่าว
ยูทูบ: workpoint news
ทวิตเตอร์: workpoint news
อินสตาแกรม: workpointnews

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า