SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – ที่ประชุมสนช.เห็นชอบร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ส.ส. ตัดสิทธิทางการเมืองคนไม่ไปเลือกตั้ง, ห้ามจัดมหรสพ ยกเว้นผู้สมัครร้องเพลง เล่นดนตรีได้เอง, แก้ไขเวลาเลือกตั้งเป็น 8 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น

ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีมติเห็นชอบร่าง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พ.ศ. …. ด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย 211 เสียง ไม่เห็นด้วย ไม่มี งดออกเสียง 7 เสียง

สำหรับประเด็นที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ และที่ประชุม สนช.เห็นชอบ มีดังนี้

  • ตัดสิทธิบุคคลที่ไม่ได้ไปเลือกตั้ง โดยมาตรา 35 บัญญัติให้ผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และไม่ได้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง จะถูกจำกัดสิทธิ การยื่นคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส. การสมัคร ส.ส.หรือ สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือ ผู้บริหารท้องถิ่น การสมัครเป็นกำนันและผู้ใหญ่ การดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองและข้าราชการเมืองฝ่ายรัฐสภา การดำรงตำแหน่ง การดำรงตำแหน่ง รองผู้บริหารท้องถิ่น
  • มาตรา 48 การสมัครรับเลือกตั้งให้ผู้สมัครได้รับหมายเลขประจำตัวผู้สมัครเรียงตามลำดับ โดยไม่ได้กำหนดให้หมายเลขผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของพรรคการเมืองใด เป็นหมายเลขเดียวกันทั้งประเทศ
  • การกำหนดค่าใช้จ่ายในการหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมือง มาตรา 62 วรรคสอง กำหนดให้ค่าใช้จ่ายของพรรคการเมือง ต้องเป็นการหาเสียงของพรรคการเมืองตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนด โดยจะกำหนดให้จำนวนสมาชิกของพรรคการเมือง ที่ส่งสมัครรับเลือกตั้งเป็นรายบุคคลมาเป็นฐานในการคำนวณไม่ได้
  • การโฆษณาหาเสียงของพรรคการเมือง มาตรา 73 บัญญัติให้ ห้ามไม่ให้หาเสียงเลือกตั้งด้วยการจัดให้มีมหรสพ หรือการรื่นเริงต่างๆ แต่ผู้สมัครยังสามารถใความรู้ความสามารถทางศิลปะของตนหาเสียงให้แก่ตนเองโดยไม่ใช้อุปกรณ์ในการแสดงมหรสพ
  • แก้ไขเวลาออกเสียงลงคะแนน เป็น 08.00-17.00 น. ซึ่งร่างเดิมเขียนให้เวลาเริ่ม คือ 07.00 น. เหตุผลสำคัญเพื่อไม่เป็นภาระของกรรมการเลือกตั้งประจำหน่วย
  • มาตรา 138 ว่าด้วยอำนาจ กกต. ที่ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาสั่งเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งคนทุจริต ซึ่งปรับเพิ่มข้อความให้อำนาจ กกต. ยื่นคำร้องเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเข้าไปด้วย
  • นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการอำนวยความสะดวก ให้คนพิการ หรือ ทุพพลภาพ มาตรา 92 กำหนดให้บุคคลอื่น หรือกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งเป็นผู้กระทำการแทน โดยความยินยอม และเป็นไปตามเจตนาของคนพิการ หรือทุพพลภาพ ทั้งให้ถือเป็นการออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ

ขณะที่ผลการลงมติ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย สมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว. ที่ประชุม สนช. เห็นชอบ 202 เสียง ไม่เห็นชอบ 1 เสียง งดออกเสียง 13 เสียง

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตา สนช. ถกร่างกฎหมายลูก ส.ส.-ส.ว. ผ่านฉลุย หรือคว่ำยกแผง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า